ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางธีรารัตน์ โพธิราช
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด กองการศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านแมด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1 ) รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สภาพปัญหาในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นการสอน 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นตรวจสอบความเข้าใจในการอ่าน (Checking Reading : C) (2) ขั้นบูรณาการมโนมติ (Integration : I) (3) ขั้นการสอนและทดสอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Teaching and Testing : T) (4) ขั้นการทบทวนและ สะท้อนผล (Reviewing and Reflecting : R) (5) ขั้นประเมินผล (Assessment : A) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.22/81.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.48 , S.D = 0.55 )