การรายงานการประเมินโครงการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 โดยใช้แบบจําลองการประเมิน CPO (CPOs Evaluation Model) ของเยาวดี รางชัยกุล วิบูลยศรี (2556, หน้า 306) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปจจัยพื้นฐานดานสภาวะแวดลอม (Context Evaluation) กระบวนการปฏิบัติงานระหวางดําเนินการ (Process Evaluation) และ ผลผลิต (Outcome Evaluation) ของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 79 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,109 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,109 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 79 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้บริหารกับผู้แทนครู) รวม 92 คน กลุ่ม 2 ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 79 คน กลุ่มที่ 3 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,109 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด และกลุ่มที่ 4 ได้มาโดยการกำหนดของกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางสำเร็จรูปจากตารางสัดส่วนกลุ่มประชากรของเครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน หลังจากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้แก่ ข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 151 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินโครงการจำนวน 3 ฉบับและแบบเก็บข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context Evaluation) ฉบับที่ 2 แบบประเมินกระบวนการปฏิบัติงานระหว่างดำเนินโครงการ (Process Evaluation) ฉบับที่ 3 แบบเก็บข้อมูลด้านผลผลิต (Outcome Evaluation) เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและฉบับที่ 4 แบบประเมินผลผลิต (Outcome Evaluation) เกี่ยวกับความพึงพอใจผลการดำเนินของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย (µ), ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ), (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินปจจัยพื้นฐานดานสภาวะแวดลอมของโครงการ พบว่าในภาพรวมผลมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ =4.45, σ = 0.25) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพร้อมและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ รองลงมาคือ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานระหวางดําเนินการโครงการ พบว่าในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ =4.38, σ = 0.32) เมื่อพิจารณาผลการประเมินรายขั้นตอนพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ขั้นดำเนินงานตามแผน รองลงมาคือ ขั้นนิเทศติดตามและประเมินผล ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงาน ขั้นสรุปและรายงานผล และขั้นวางแผน ตามลำดับ
3. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการประกอบด้วยผลการประเมิน 2 ด้าน
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 ที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไป ในภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 71.98 ระดับคุณภาพ ดี มีค่าเฉลี่ยรวมร้อยละมากกว่าปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.77 บรรลุตามเป้าหมาย
2) ผลประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Test : RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 66.70 ระดับคุณภาพ ดี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง จากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 13.89 ไม่บรรลุตามเป้าหมาย
3) ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.77 ระดับคุณภาพ พอใช้ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 4.56 บรรลุตามเป้าหมาย
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนวัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก บรรลุตามเป้าหมายเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มที่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการมากที่สุด คือ ผู้ปกครอง รองลงมา คือ ข้าราชการครูและคณะกรรมการสถานศึกษา และกลุ่มที่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการน้อยที่สุด คือ นักเรียน