การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา ดังนี้
1.เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
2.เพื่อศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี งานศึกษานี้ใช้รูปแบบงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ออกแบบรูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL ระยะที่ 2 การศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL ระยะที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL
ผลการศึกษาพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL มีค่าเฉลี่ยของความตรง (Validity) ทั้งหมดเท่ากับ 0.95 อยู่ในระดับใช้ได้
2. การศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL พบว่าผลการประเมิน การคิดเชิงระบบของผู้เรียนที่ผ่านการใช้กิจกรรมชุดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็น
ระบบด้วย Bansang Coding Space ควบคู่กับกิจกรรมลาน Coding Space กิจกรรม Coding Challenge และห้องเรียน Coding Online ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกิจกรรม Coding Challenge มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ด้านห้องเรียน Coding Online มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ด้านลาน Coding Space มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 ตามลำดับ ส่วนอันดับสุดท้ายได้แก่ ด้านชุดฝึกเสริมทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81