นวัตกรรมการศึกษา
ชื่อเรื่อง/ชื่อนวัตกรรม การบริหารสถานศึกษามีมาตรฐานด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL
ผู้จัดทำ นายสุรพัฒน์ ชูชัยโตธนพัฒน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนกู่จานวิทยาคม
โรงเรียนกู่จานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร
ปีที่จัดทำ พ.ศ. 2565
ประเภทนวัตกรรม ด้านบริหารจัดการ
1. หลักการ/ที่มาความสำคัญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542หมวด 4 แนวการจัดการศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ อํานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง วิทยาการประเภทต่างๆ นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยยึดหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน และการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคตเป็นแนวทาง ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 2580) แผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 2565) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 2579 กฎกระทรวงซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 ความในมาตรา 5 และมาตรา 39 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ.2545) (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, 2545, หน้า 6) ตามภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ฝ่ายจุดเน้น เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร สำนักงานและโรงเรียนมาตรฐาน เด็กขยัน เรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 ครูสอนดี ห้องเรียนมีคุณภาพผู้บริหารมีคุณธรรม เป็นผู้นำทางวิชาการ ทุกภาคส่วนสนับสนุนสู่พื้นที่นวัตกรรม มีเป้าหมาย ให้ เด็กศรีสะเกษ-ยโสธร เก่งขึ้นด้วยนวัตกรรม อันจะส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร โดยขับเคลื่อนด้วยด้วยนวัตกรรม 1 โรงเรียน 1 ผู้บริหาร 1 ครู 1 ปี 1 นวัตกรรม
โรงเรียนกู่จานวิทยาคมจึงได้กำหนดนโยบายในการบริหารสถานศึกษาให้มีการสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัดดังกล่าว และจากการวิเคราะห์สภาพปัญหา จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาทั้งจาก หน่วยงานภายนอกและรายงานการพัฒนาการศึกษานำมากำหนดนโยบาย โดยให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาร่วมกันเสนอและจัดทำนโยบายของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขึ้น อาศัยแนวคิดทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาและจุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร สำนักงานและโรงเรียนมาตรฐาน เด็กขยัน เรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ 21 ครูสอนดี ห้องเรียนมีคุณภาพ ผู้บริหารมีคุณธรรม เป็นผู้นำทางวิชาการ ทุกภาคส่วนสนับสนุนสู่พื้นที่นวัตกรรม เป้าหมาย เด็กศรีสะเกษ-ยโสธร เก่งขึ้นด้วยนวัตกรรม ประกอบไปด้วยการพัฒนางานด้านการบริหารงานวิชาการด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป
จากรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ได้กล่าวถึงจุดที่ควรพัฒนา ดังนี้ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการต่างๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติหรือผลการทดสอบอื่นๆ สถานศึกษาพัฒนาความสามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ ทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่องมีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุง พัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อ ผลการจัดการศึกษาพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมายสถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย หมายรวมถึง การจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วยพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อ การจัดการเรียนรู้สถานศึกษาจัดภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัยการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
จากที่กล่าวมานั้น จึงได้นำความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนการแสวงหาความรู้จากแนวคิด ทฤษฎีใน การบริหารจัดการด้านการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ตลอดจนนโยบาย การศึกษาจากต้นสังกัด นำมาสร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL ของโรงเรียนกู่จานวิทยาคม เพื่อนำมาใช้เป็นหลักการและแนวทางในการบริหารสถานศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
2. วัตถุประสงค์
เพื่อบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL
3. ขอบเขตของการศึกษา
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ นวัตกรรมทางด้านการบริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL
ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณภาพของการบริหารด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน นักเรียนนักเรียนจำนวน 170 คน ปีการศึกษา 2565
เนื้อหาที่ใช้
การศึกษาครั้งนี้มุ่งสถานศึกษาให้มีคุณภาพด้วยรูปแบบ 2PTW MODEL
ขอบเขตด้านเวลา
การศึกษานี้ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. ระยะที่ 1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยข้อง (พฤษภาคม - กรฏาคม 2565)
2. ระยะที่ 2 เป็นการสร้างและพัฒนานวัตกรรม (สิงหาคม กันยายน 2565)
3. ระยะที่ 3 เป็นการศึกษา การทดลองใช้ แก้ไข ปรับปรุง นวัตกรรม (ตุลาคม 2565 - กุมภาพันธ์ 2566)
4. ระยะที่ 4 สรุป รายงานผลการการศึกษา (มีนาคม 2566)
4. วิธีดำเนินการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1
ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการจัดการศึกษาและสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของ โรงเรียนกู่จานวิทยาคม โดยดำเนินการ ดังนี้
1. ศึกษานโยบาย เพื่อใช้เป็นทิศทางหรือเป้าหมายในการดำเนินงานของโรงเรียนกู่จานวิทยาคม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาได้ศึกษานโยบายด้านการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
- นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
- นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษยโสธร
- นโยบายของโรงเรียนกู่จานวิทยาคม
2. ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนกู่จานวิทยาคม โดย ดำเนินการดังนี้
2.1 ศึกษาข้อมูล เอกสารต่างๆ จากรายงานการประเมินผลและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาปีการศึกษา 2564 รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ และกิจกรรมต่างๆ
2.2 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสถานศึกษาของโรงเรียนกู่จานวิทยาคม ซึ่งประกอบ ไปด้วยการบริหารงาน 4 ฝ่ายตามกฎกระทรวง ได้แก่ กลุ่มบริหารงานวิชาการ กลุ่มบริหารนโยบายและแผนงาน กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารงานทั่วไป
2.3 จัดการประชุมร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดประชุมร่วมกัน ในเชิงวิชาการ (ประชุมเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ) เพื่อวิเคราะห์สภาพ ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาโดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis
ขั้นตอนที่ 2
สร้างและดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ 2PTW MODEL ดำเนินการ ดังนี้
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีในการบริหารสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน 4 ฝ่ายในสถานศึกษามาดำเนินการ ดังนี้
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงาน 4 ฝ่าย ตามกรอบ ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มบริหารงานวิชาการ บริหารนโยบายและแผนงาน กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารงานทั่วไป
1.2 คณะกรรมการบริหารงาน 4 ฝ่าย ร่วมกันดำเนินการพัฒนาสถานศึกษา ในรูปแบบ 2PTW MODEL โดยนำแนวคิดทฤษฎี วงจรการควบคุมคุณภาพของเดรมมิ่ง (Deming Cycle) PDCA ในการขับเคลื่อน
2PTW MODEL ประกอบด้วย
(P) Participation การมีส่วนร่วม
คณะกรรมการบริหารงาน 4 ฝ่าย ร่วมกันจัดทำคู่มือพัฒนางานวิชาการ งานนโยบายและแผนงาน งานบริหารงานบุคคล และงานบริหารทั่วไป
Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงภาระกิจงาน 4 ฝ่าย
Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดำเนินการตามแผนนำคู่มือไปปฏิบัติตามภาระกิจ
Check (ตรวจสอบ) หมายถึง การประเมินการใช้คู่มือ
Act (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนำผลการประเมินมาการใช้คู่มือมาพัฒนาให้เหมาะสม
(T) Team Work ทีมงานในการทำงานเป็นทีมในรูปแบบ 2PTW MODEL ได้แก่
- บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
- ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
- มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
- บทบาท (Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ
(W) Willingness มีการตั้งใจทำงาน เต็มใจทำงาน (โดยสร้างแรงจูงใจ) ในรูปแบบ 2PTW MODEL ได้แก่
- ผู้บริหารประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ ด้วยความจริงใจกับทุกคน
- มีระบบการพิจารณาความดีความชอบ เป็นที่ยอมรับและเข้าใจชัดเจน
- การพัฒนาครู เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
5. ผลการศึกษา
จากผลการดำเนินงานโดยใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ 2PTW MODEL ทำให้สถานศึกษาได้มาตรฐาน มีคู่มือการบริหารงานที่ครอบคลุมภาระกิจสะดวกต่อการนำไปใช้และส่งผลสู่การพัฒนาผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่เท่าเทียมกัน และมีความสุขในการเรียนรู้ มีทักษะกระบวนการคิด ที่สามารถเชื่อมโยงสู่ ทักษะการทำงาน ทักษะการประกอบอาชีพ ทักษะทางสังคมที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขตลอดจนมีคุณภาพสู่สากล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตลอดจน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนดและตามแนวทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การศึกษาใน ยุคไทยแลนด์ 4.0 ตลอดจนนักเรียนมีคุณภาพ