Advertisement
ฤกษ์ที่ 1 วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2551 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.28-14.50 น. (โจโรฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 2 วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2551 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 14.51-24.00 น. (ภูมิปาโลฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 3 วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2551 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-03.52 น. (ภูมิปาโลฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 4 วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2551 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.28-16.54 น. (ภูมิปาโลฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 5 วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2551 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา16.55-24.00 น. (เทศาตรีฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 6 วันพฤหัสที่ 4 ธันวาคม 2551 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-05.16 น. (เทศาตรีฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 7 วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม 2551 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.30-06.48 น. (ราชาฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 9 วันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-20.15 น. (ทลิทโทฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 10 วันอังคารที่ 9 ธันวาคม 2551 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 20.16-24.00 น. (มหัทธโนฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 11 วันพุธที่ 10 ธันวาคม 2551 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-19.22 น. (มหัทธโนฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 12 วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-16.42 น. (ภูมิปาโลฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 13 วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2551 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 16.43-24.00 น. (เทศาตรีฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 14 วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2551 แรม 1 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-06.33 น. (เทศาตรีฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 15 วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2551 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.35-11.59 น. (เพชฌฆาตฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 16 วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2551 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 12.00-15.26 น. (ราชาฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 17 วันอังคารที่ 16 ธันวาคม 2551 แรม 4 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 13.18-24.00 น. (สมโณฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 18 วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2551 แรม 5 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-06.352 น. (สมโณฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 19 วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม 2551 แรม 7 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 08.21-24.00 น. (โจโรฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 20 วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม 2551 แรม 8 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-07.09 น. (โจโรฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 21 วันอังคารที่ 23 ธันวาคม 2551 แรม 11 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.34-08.57 น. (เทวีฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 22 วันอังคารที่ 23 ธันวาคม 2551 แรม 11 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 08.58-24.00 น. (เพชฌฆาตฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 23 วันพุธที่ 24 ธันวาคม 2551 แรม 12 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-10.29 น. (เพชฌฆาตฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 24 วันพฤหัสที่ 25 ธันวาคม 2551 แรม 12 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 09.53-12.28 น. (ราชาฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 25 วันพฤหัสที่ 25 ธันวาคม 2551 แรม 12 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 12.29-24.00 น. (สมโณฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 26 วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2551 แรม 14 ค่ำ เดือน 1 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 00.00-06.29 น. (สมโณฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 27 วันอังคารที่ 30 ธันวาคม 2551 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 2 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.42-19.28 น. (ภูมิปาโลฤกษ์)
ฤกษ์ที่ 28 วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2551 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 2 ปีชวด ตั้งแต่เวลา 06.42-20.52 น. (เทศาตรีฤกษ์)
ข้อยกเว้นที่ห้ามใช้ฤกษ์สำหรับคนเกิดวันต่างๆ ห้ามใช้อันดับ1คือวันกาลกิณีกับวันเกิด(ห้ามใช้โดยเด็ดขาด) ห้ามใช้อันดับ2คือวันศัตรูกับวันเกิด(ควรหลีกเลี่ยง)
1. ผู้เกิดวันอาทิตย์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันศุกร์(กาลกิณี) และวันอังคาร(วันศัตรู)
2. ผู้เกิดวันจันทร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันอาทิตย์(กาลกิณี) และวันพฤหัสบดี(วันศัตรู)
3. ผู้เกิดวันอังคาร ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันจันทร์(กาลกิณี) และวันอาทิตย์(วันศัตรู)
4. ผู้เกิดวันพุธ (กลางวัน) ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันอังคาร(กาลกิณี) และวันพุธกลางคืน(วันศัตรู)
5. ผู้เกิดวันพฤหัสบดี ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันเสาร์(กาลกิณี) และวันจันทร์(วันศัตรู)
6. ผู้เกิดวันศุกร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพุธกลางคืน(กาลกิณี) และวันเสาร์(วันศัตรู)
7. ผู้เกิดวันเสาร์ ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพุธกลางวัน(กาลกิณี) และวันศุกร์(วันศัตรู)
8. ผู้เกิดวันพุธ (กลางคืน) ห้ามใช้ฤกษ์ที่เป็นวันพฤหัสบดี(กาลกิณี) และวันพุธกลางวัน(วันศัตรู)
หมายเหตุ เกิดวันพุธกลางวัน(เวลาเกิด06.00-17.59น.) / เกิดวันพุธกลางคืน(เวลาเกิด18.00-05.59น.)
ความหมายของฤกษ์
1. ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ "ชูชก" มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์" คือฤกษ์ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาทฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่างๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์ การทำการใดๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านขายของชำ ของเก่าชำรุด สมัครงาน ทำการใดๆ ที่ริเริ่มใหม่
2. มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม เปิดห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล
3. โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์" คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจและผลประโยชน์ งานเสี่ยงๆ ในระยะสั้นๆ การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบแบใช้กำลัง
4. ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่างๆ งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท เปิดอาคารห้างร้าน และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง
5. เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์" หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น เกี่ยวกับความสนุกสนานชักชวนคนเข้าออกมาก เปิดโรงมหรสพ สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า การประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ
6. เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์ งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิกขาบท ขึ้นบ้านใหม่ ขอความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และ สารพัดงานมงคลทั้งปวง
7. เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก" คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค ต่อสู้เสี่ยงภัยต่างๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยากๆ การยาตราทัพ เจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับโจโรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า
8. ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิกขาบท การขึ้นบ้านใหม่(สามัญชนควรเว้น ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม) และ งานมงคลทั้งปวง
9. สมโณฤกษ์ แปลว่า สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์" จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ ทำพิธีกรรมทางศาสนา และ ทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และ การกระทำทุกอย่างเพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญต่ออายุ
วิธีนำฤกษ์ข้างบนไปใช้
1. ดูความหมายของฤกษ์ และเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน เปิดห้างร้าน ฯลฯ ให้ใช้มหัทธโนฤกษ์
2. ดูว่าฤกษ์นี้ห้ามใช้สำหรับผู้เกิดวันใด
ข้อมูลจาก สนุกดอทคอม
Advertisement
เปิดอ่าน 27,543 ครั้ง เปิดอ่าน 9,864 ครั้ง เปิดอ่าน 14,441 ครั้ง เปิดอ่าน 13,884 ครั้ง เปิดอ่าน 11,145 ครั้ง เปิดอ่าน 10,547 ครั้ง เปิดอ่าน 14,556 ครั้ง เปิดอ่าน 17,174 ครั้ง เปิดอ่าน 10,815 ครั้ง เปิดอ่าน 10,432 ครั้ง เปิดอ่าน 546 ครั้ง เปิดอ่าน 15,494 ครั้ง เปิดอ่าน 9,720 ครั้ง เปิดอ่าน 31,157 ครั้ง เปิดอ่าน 8,360 ครั้ง เปิดอ่าน 37,123 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 2,409 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,545 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,878 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,871 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,405 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,855 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,560 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,648 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,417 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,923 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,436 ครั้ง |
|
|