ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม

1. ชื่อสื่อนวัตกรรม การพัฒนาบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม

2. ข้อมูลส่วนตัว

2.1 ชื่อ – สกุล นางณัฐษยาณ์ ประสงค์สันต์

2.2 ตำแหน่งปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ

2.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

2.4 โรงเรียน โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

2.5 เบอร์โทรศัพท์ 0924177454

3. บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SQ4R 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 62 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีค่าเท่ากับ 84.94/84.60

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, = 2.99)

4. Abstract (ถ้ามี)

5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก นำมาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาไทย และใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูโทรทัศน์ การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น การจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เน้นการเรียนการสอนทางด้านภาษาไทยเป็นอย่างมาก โดยมุ่งเน้นการเรียนทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีและมีทักษะในการใช้ภาษาให้กับผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง ในสภาพสังคมปัจจุบันผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และใช้ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนตลอดเวลา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จได้มีปัจจัยหลายประการ เช่น ตัวครู แบบเรียน แบบฝึกหัด วัสดุอุปกรณ์ เทคนิคการสอน การจัดบรรยากาศในห้องเรียน ครูต้องจัดปัจจัยและบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียนให้มีบรรยากาศของกัลยาณมิตร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมมีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีการวางแผนการสอนที่สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน เน้นฝึกปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการฝึกทักษะให้เหมาะสมกับวัยและสภาพแวดล้อมวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมจุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

ทักษะการอ่านในนับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของมนุษย์มาก เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกหรือถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งสำหรับตนเองและผู้อื่น การอ่านจึงเป็นทักษะรวมที่ จะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานจากทักษะการฟัง การดู การพูด และการอ่าน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีพื้นฐาน ความรู้ มีข้อมูลและประสบการณ์เพียงพอที่จะนำมาเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ได้ การอ่านคิดวิเคราะห์ เป็นการอ่านที่ฝึกให้ผู้อ่านรู้จักใช้ความคิด สติปัญญา และความรอบรู้ ต่อสิ่งที่ได้อ่าน การฝึกแสดงความคิดเห็น จะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้อย่างกว้างขวาง และเป็นการเพิ่มพูน ความรู้ความสามารถในการใช้ทักษะทางปัญญา เพื่อแสดงออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเองและการถ่ายทอดความคิดเห็นออกมาได้ จำเป็นจะต้องแสวงหาความรู้ต่าง ๆ นำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นความคิดเห็น (กรรนิกา ใครบุตร. 2553) การสอนอ่านคิดวิเคราะห์นั้นต้องให้ผู้เรียนอ่านเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด หลาย ๆ ครั้ง ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างพิจารณา ใคร่ครวญ จากนั้นแยกประเด็นออกเป็นส่วน ๆ ว่าประเด็นใดคือข้อเท็จจริง ประเด็นใดคือข้อคิดเห็น (จิตต์นิภา ศรีไสย์. 2549)

ปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารจึงทำให้การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารและแหล่งความรู้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถ ส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือการสร้างเครือข่ายของการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายงานและสามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์จากแหล่งอื่น ๆ เป็นเครือข่ายงานได้ทั่วโลก (กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์, 2549) จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านเครือข่ายดังกล่าวส่งผลให้รูปแบบของการเรียนการสอนได้ ปรับเปลี่ยนไปโดยไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้น จะเห็นได้จากการนำเทคโนโลยี เตรียมมาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงรูปแบบของการเรียนรู้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ ระหว่าง ผู้เรียนผู้สอน และผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นระบบการเรียนรู้ที่ไม่ติดกับเวลา สถานที่ และบุคคล สร้างการเรียนรู้ตามอาศัยและต่อเนื่องตลอดชีวิต (ยืน ภู่วรวรรณ. 2543) นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตหรือการเรียนการสอนบนเว็บยังทำให้ผู้เรียนมีความเป็นอิสระในการสำรวจเนื้อหา สาระต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจ ก่อให้เกิดทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดวิเคราะห์แบบสืบค้น การคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะในการแก้ปัญหาตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียนหรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนได้ตามความพร้อม ความถนัด และความสนใจของตน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545)

จากรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ของสำนักศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า คุณภาพการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะทักษะการอ่าน และจากประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ของผู้วิจัยในรายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม ระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา พบปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ คือนักเรียนบางส่วนมีทักษะในการอ่านต่ำ และไม่สามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องที่อ่านได้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคมกำหนด และในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา พบปัญหาเดียวกัน คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 58.28 และ การอ่านคิดวิเคราะห์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.60 (ฝ่ายวิชาการโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม. 2564) สาเหตุอาจเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่ไม่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนรักการอ่าน ให้ความสนในในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และไม่สามารถสร้างความรู้ ความสามารถของนักเรียนในด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ให้เกิดขึ้นได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาแต่ละเนื้อหา การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากบทเรียนบนเว็บไซต์สร้างขึ้นโดยใช้หลักการบูรณาการเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ สามารถนำไปใช้ได้สะดวก และเหมาะสมกับผู้เรียนทั้งด้านความต้องการและวัยวุฒิ โดยผู้จัดทำบทเรียนบนเว็บไวต์ ได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นอันดับแรก การจัดเนื้อหาการเรียนรู้ได้เรียงจากง่ายไปหายาก กิจกรรมที่มีหลากหลายรูปแบบ กิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติเป็นกลุ่มและกิจกรรมที่ผู้เรียนปฏิบัติเป็นรายบุคคล รวมทั้งวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เนื้อหาวิชา ดังนั้นการเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้เพิ่มมากขึ้น

จากสภาพปัญหาและความสำคัญของการอ่านคิดวิเคราะห์ดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอน จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ให้เกิดกับนักเรียน โดยการใช้แนวทางการจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน พัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ฝึกให้นักเรียนได้คิดโดยไม่ยึดติดภายใต้กรอบ เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นช่วยให้นักเรียนเกิดแนวคิดใหม่ ๆ และสามารถนำความคิดใหม่ ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์งานของตนเอง ทำให้งานของตนเองมีความแปลกใหม่น่าสนใจมากขึ้น และเกิดความตระหนักในคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นจากการเรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย ผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสนใจที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้กับนักเรียนจึงเห็นว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R จะสามารถส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

6. วัตถุประสงค์การวิจัย

1. ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม

7. วิธีดำเนินการวิจัย

7.1 การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SQ4R 2) แผนการจัดการเรียนรู้สาระภาษาไทย เรื่อง การวิเคราะห์เรื่องสั้น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ มีวิธีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ดังนี้

7.1.1 ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม วิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

7.1.2 ศึกษาหลักการ แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การสร้างแบบทดสอบ และการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

7.1.3 สร้างบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ เรื่อง วิเคราะห์เรื่องสั้น เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ สร้างแบบทดสอบ และสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

7.1.4 นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้เทคนิค IOC ซึ่งกำหนดเกณฑ์ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือ มีค่าตั้งแต่ .080 ขึ้นไป

7.1.5 นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปทดลองภาคสนามกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพ ได้ผลดังนี้ 1) บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีประสิทธิภาพ 84.52/85.42 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.92

7.2 วิธีดำเนินการทดลอง แบบแผนการทดลองครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน – หลังการทดลอง (One Group Pre – Post Test Design)

ผู้วิจัยได้นำบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีวิธีดำเนินการ ดังนี้

7.2.1 ทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ตรวจและบันทึกคะแนน

7.2.2 จัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคำแนะนำการใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์สำหรับนักเรียน ตรวจสอบการประมวลผลคะแนน และคะแนนทดสอบย่อย การทำกิจกรรม ด้วยโปรแกรมบนเว็บไซต์

7.2.4 ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ (แบบทดสอบฉบับเดิม) ตรวจสอบการประมวลผลคะแนน ด้วยโปรแกรมบนเว็บไซต์

7.2.5 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R

7.3 การวิเคราะห์ข้อมูล

7.3.1 วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้สูตร E1 /E2

7.3.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าที (t – test dependent)

7.3.3 วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้บนเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

8. ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีค่าเท่ากับ 84.94/84.60

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, = 2.99)

9. อภิปรายผลการวิจัย

จากการพัฒนาบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม มีประเด็นที่น่าสนใจควรนำมาอภิปราย ดังนี้

1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีค่าเท่ากับ 84.94/84.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีการสร้างอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการ โดยได้ศึกษาสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเรียน เว็บไซต์ต่างๆ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้ผ่านการตรวจสอบและให้คำปรึกษาแก้ไขปรับปรุงจากผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งได้ออกแบบและสร้างจากการวิเคราะห์ปัญหาตามรูปแบบของสุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2550 : 65) นอกจากนี้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ยังมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย และเสริมแรงให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนสนใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนในเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น มีความยากง่ายเหมาะสมกับนักเรียนในระดับชั้นที่เรียน โดยฝึกจากง่ายไปหายากและมีกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศรีสุดา คำลือ (2555) การใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาคันคว้า พบว่า แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.94/80.67 ซึ่งมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของพัชราภรณ์ หยวกยง (2556) การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 84.43 /83.54 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และสอดคล้องกับงานวิจัยของ กานต์ณิษนันท์ ศรีสุระ (2557) การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.63/81.94 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R สร้างขึ้นอย่างเป็นระบบขั้นตอนกระบวนและผ่านการตรวจสอบและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและผ่านการทดลองใช้ตามขั้นตอน จึงทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการศึกษาความรู้มีความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น ทำกิจกรรมในบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ และจากการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศรีสุดา คำลือ (2555) ได้ทำการศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาคันคว้าพบว่าการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของ บุหลัน คํายิ่ง (2556) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบ SQ4R ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรม แบบ SQ4R มีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของกานต์ณิษนันท์ ศรีสุระ (2557) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.72, = 2.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อคำถาม พบว่า ข้อคำถามที่มีอันดับสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ การนำเสนอเข้าใจง่าย ( =4.87, = 0.34 รองลงมาคือ นักเรียนมีความมั่นใจในการอ่านเพิ่มมากขึ้น , เป็นสื่อที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ( =4.84, = 0.37) และนักเรียนมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้น ( =4.81, = 0.40 ตามลำดับ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีเนื้อหาน่าสนใจ เหมาะสมกับวัยผู้เรียน มีการวางลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก ทำให้ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาเนื้อหามีรูปแบบที่หลากหลาย ดึงดูความสนใจของผู้เรียนภาพประกอบมีสีสันตัวหนังสืออ่านง่ายสบายตา รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ น่าสนใจ นักเรียนมีส่วนร่วมและสนุกสนานในกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศรีสุดา คำลือ (2555) ได้ทำการศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาคันคว้าพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนไชยปราการ ที่มีต่อการเรียนเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 สอดคล้องกับงานวิจัยของ พัชราภรณ์ หยวกยง (2556) ได้ทำการศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านเชิง วิเคราะห์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.63 , S.D.= 0.13) และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ใหมนา นาทันตอง (2556) ได้ทำการศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.64-4.45) ข้อที่มีค่าเฉลี่ย สูงสุดและรองลงมา 3 อันดับแรก ได้แก่ การใช้ขั้นตอนการฝึกอ่านคล้ายกัน ส่งผลต่อความเข้าใจ อันรวดเร็วในการทำแบบฝึก (x ̅ = 4.45) กิจกรรมการอ่านแบบ SQ4R ช่วยกระตุ้นให้คิด กล้าแสดงออก สามารถเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามได้ (x ̅ = 4.23) และการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี (x ̅ = 4.18)

จากผลการวิจัยแสดงว่าบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ ช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียน มีการจัดเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สามารถจดจำเนื้อหาได้มากขึ้น ช่วยพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นสื่อหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดี นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการศึกษานอกเวลา หรือกลับไปศึกษาเพิ่มเติมที่บ้านได้อีกด้วย กระบวนการสร้างและหาประสิทธิภาพมีกระบวนการตามขั้นตอน ทำให้ได้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

10. ข้อเสนอแนะ

10.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้

10.1.1 ก่อนการใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์ ควรศึกษาคำชี้แจงให้เข้าใจเพื่อให้การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R มีประสิทธิภาพ

10.1.2 ครูผู้สอนสามารถใช้บทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ไปสอนในชั่วโมงปกติ และสามารถนำไปใช้สอนซ่อมเสริมได้นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองตามขั้นตอนนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาเมื่อมีเวลาว่าง

10.1.3 ในขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R ครูผู้สอนควรกระตุ้นการอ่านจับใจความ พัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ โดยการอ่านจากเนื้อหา เนื้อเรื่องที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวใกล้ตัว สามารถนำความรู้ไปคิดวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

10.2.4 ครูผู้สอนต้องคอยช่วยเหลือขณะที่นักเรียนเข้าทำกิจกรรมในเว็บไซต์

10.2 ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

10.2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนาบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R กับนักเรียนในระดับชั้นอื่น ๆ

10.2.2 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค SQ4R กับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่น ๆ

11. บรรณานุกรม

กรรนิกา ใครบุตร. (2553). การคิดวิเคราะห์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุดเรือคำพิทยาคาร ที่เรียนโดยใช้การสอนบูรณาการแบบสอดแทรก. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2549). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : สินทวี.

กานต์ณิษนันท์ ศรีสุระ. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิตต์นิภา ศรีไสย์. (2549). ภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2539). การทดสอบประสิทธิภาพ ชุดการสอนในเอกสารการสอนระดับ

ประถมศึกษาหน่วยที่ 8 - 15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุหลัน คํายิ่ง. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยอย่างมีวิจารณญาณ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R. การศึกษาค้นคว้าอิสระ

การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม (2564). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียน. นครราชสีมา : ฝ่ายวิชาการโรงเรียนสาหร่ายวิทยาคม.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2543, กรกฎาคม – กันยายน). การจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และเทคโนโลยีตามแผนปฏิรูปการศึกษา. สสวท. 25.132-36.

ศรีสุดา คำลือ. (2556). การใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อน

วิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : อีเคบุคส์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเล่มที่ 1.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ใหมนา นาทันตอง. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดย ใช้วิธีสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยบูรพา.

โพสต์โดย ครูยุทธ : [27 มี.ค. 2566 เวลา 06:00 น.]
อ่าน [1614] ไอพี : 183.89.76.222
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 30,935 ครั้ง
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 20,604 ครั้ง
พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น
พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น

เปิดอ่าน 312,687 ครั้ง
สูตรการหาพื้นที่และปริมาตรต่างๆ
สูตรการหาพื้นที่และปริมาตรต่างๆ

เปิดอ่าน 18,336 ครั้ง
การย้ายพนักงานงานราชการ
การย้ายพนักงานงานราชการ

เปิดอ่าน 15,489 ครั้ง
โหงวเฮ้งดี เปลี่ยนได้ไ่ม่ยาก!
โหงวเฮ้งดี เปลี่ยนได้ไ่ม่ยาก!

เปิดอ่าน 52,058 ครั้ง
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย

เปิดอ่าน 11,094 ครั้ง
คำสัญญาที่ว่างเปล่า
คำสัญญาที่ว่างเปล่า

เปิดอ่าน 31,791 ครั้ง
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"
10 สมุนไพรไทย ประโยชน์เยอะ ช่วยบรรเทา "โรคความดันสูง"

เปิดอ่าน 40,867 ครั้ง
14 ท่าโพสต์ถ่ายรูปง่ายๆ ถ่ายเมื่อไหร่ก็สวย
14 ท่าโพสต์ถ่ายรูปง่ายๆ ถ่ายเมื่อไหร่ก็สวย

เปิดอ่าน 21,453 ครั้ง
3 steps พุงยุบใน 2 weeks
3 steps พุงยุบใน 2 weeks

เปิดอ่าน 13,015 ครั้ง
แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว
แนะเด็กกินผักสด สู้หวัดหน้าหนาว

เปิดอ่าน 14,319 ครั้ง
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ

เปิดอ่าน 20,052 ครั้ง
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป

เปิดอ่าน 21,087 ครั้ง
 ฮวงจุ้ยในห้องนอน
ฮวงจุ้ยในห้องนอน

เปิดอ่าน 8,205 ครั้ง
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?
ความผูกพันสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ?

เปิดอ่าน 20,052 ครั้ง
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
แรงบันดาลใจ ถ่ายรูปให้ลูกมุมเดิม 14 ปี ตั้งแต่เด็กจนโต ชมคลิป
เปิดอ่าน 11,140 ครั้ง
พ่อ-แม่เลี้ยงลูกให้เก่งแบบนี้ได้อย่างไร? รายการ ดูให้รู้  ตอน "เจ้าหนูยอดมนุษย์"
พ่อ-แม่เลี้ยงลูกให้เก่งแบบนี้ได้อย่างไร? รายการ ดูให้รู้ ตอน "เจ้าหนูยอดมนุษย์"
เปิดอ่าน 10,623 ครั้ง
"พอล"หมึกยักษ์..นักทำนาย ต้นตระกูลกำเนิดยุคแคมเบรียน
"พอล"หมึกยักษ์..นักทำนาย ต้นตระกูลกำเนิดยุคแคมเบรียน
เปิดอ่าน 40,706 ครั้ง
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 283,031 ครั้ง
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ
แบบฟอร์ม การบันทึกงานประจำวัน การรายงานประจำสัปดาห์ การส่งงวดงาน รับผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่างๆ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ