บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง
ชื่อผู้วิจัย นายธีรวัฒน์ สมเพาะ
ปีที่รายงาน 2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง และ4) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง จากเอกสาร และการสัมภาษณ์ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง โดยการสนทนากลุ่ม 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง โดยการสอบถามด้วยแบบสอบถามประเมินความเป็นไปได้ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และการสอบถามด้วยแบบสอบถามเพื่อประเมินการทดลองใช้ และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง โดยการสอบถามด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพ และความพึงพอใจ การถอดบทเรียนจากการใช้รูปแบบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และมีแนวทางการพัฒนารูปแบบโดยการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำหลักธรรมิภาบาลนำมาเป็นกรอบในการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา ใช้กระบวนการจัดการเป็นแบบสายกลางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บูรณาการร่วมกับหลักธรรมาภิบาล อีกทั้งการใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในบริหารการจัดการสถานศึกษากับทุกภาคส่วนให้สถานศึกษาเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้การปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชาวบ้าน และชุมชน โดยการสร้างวัฒนธรรมพึ่งตนเอง ประหยัด เรียบง่าย ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ มีความอดทน ขยัน มีความเพียรในการทำงานและการเรียนรู้ ส่งเสริม และเสริมสร้างในการปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยมรู้รักสามัคคีมีจิตอาสา รักความเป็นประชาธิปไตย ใส่ใจ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ตน และสถานศึกษา สำหรับการเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพื่อสร้างค่านิยมจิตอาสา และการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดให้มีโครงสร้าง และรูปแบบในการจัดการโดยการกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ อำนาจความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในหลักเกณฑ์ที่แน่นอน อยู่บนความยืดหยุ่นของการเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์บนความพอดี พอประมาณ ให้มีการจัดเก็บข้อมูลและระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการที่ทันสมัย สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายกับสถานศึกษาพอเพียงท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนมีระบบการเงินการบัญชีที่ใช้งบประมาณอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และในส่วนของการจัดการสถานศึกษาควรนำเอาหน้าที่ของการจัดการที่มี 4 ด้านคือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การนำไปปฏิบัติ (Leading) และการควบคุม (Controlling) หรือ POLC มาใช้เป็นรูปแบบในการจัดการทั้งนี้เพราะว่า POLC เป็นรูปแบบการจัดการที่นิยม ได้รับการยอมรับและใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง พบว่า ร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง ซึ่งประกอบด้วย 4 ภารกิจหลัก คือ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคลากร และการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วยหลักการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 9 ประการ ประกอบด้วย หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า และกระบวนการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 ด้าน ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การนำไปปฏิบัติ และการควบคุม โดยความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง มีความเหมาะสมโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง พบว่า มีการประชุมเพื่อร่วมกันตัดสินใจใน การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการศึกษา มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ตลอดจนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ และนำแผนไปปฏิบัติ โดยการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอน ราษฎร์บำรุง พบว่า ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไปมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีมาก พฤติกรรมดำรงตนบนความพอเพียง และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุงพบว่า ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง พบว่า การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบาง วัดโคนอนราษฎร์บำรุงพบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และจากการถอดบทเรียนจากการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาล ปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง พบว่า ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จในการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักให้เห็นความสำคัญ การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ และการประสานความร่วมมือร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนเทศบาลปลายบางวัดโคนอนราษฎร์บำรุง