ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริม
จิตสาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์)
ชื่อผู้วิจัย ไอศศิภาฎา เสฏฐศุภพงษ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน บ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี
ปีที่พิมพ์ 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนาเกี่ยวกับ จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ประชากรและตัวอย่าง ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวอย่างกลุ่มที่หนึ่ง คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตัวอย่างกลุ่มที่สอง คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) จำนวน 130 คน ได้มาโดยการเลือกแบบอย่างง่ายรวมทั้งสิ้น 170 คน และตัวอย่างกลุ่มที่สามคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ระยะที่ 3 ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) จำนวน 270 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 และระยะที่ 4 ประชากรหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ระยะที่ 1 คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัญหาเกี่ยวกับจิตสาธารณะ และ 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 คือ 1) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ 2) รูปแบบชั่วคราวของกิจกรรม ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ 3) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ และ4) แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบชั่วคราว ระยะที่ 3 คือ คู่มือของรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะ และระยะที่ 4 คือ แบบประเมินผลการใช้รูปแบบ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาเกี่ยวกับจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x- = 4.12 ,S.D.=0.12) และเมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ปัญหาการถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x- =4.52 , S.D.=0.22) ปัญหาการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการแนะนำและแบ่งปันแก่ผู้อื่น อยู่ในระดับมาก ( x- =4.03 , S.D.=0.23) ปัญหาการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นเป็นของตนเอง ตลอดจนไม่ปิดกั้นโอกาสของบุคคลอื่นที่จะใช้ของส่วนรวมนั้นอยู่ในระดับมาก ( x- =4.01 , S.D.=0.25) และปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชํารุดเสียหายต่อของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม อยู่ในระดับมาก (x- =3.94 , S.D.=0.27) ตามลำดับ และ ความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพ ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่า รูปแบบควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กิจกรรม และการประเมินผล
2. รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 หลักการ คือ 1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) หลักการบริหารแบบกระจายอำนาจ และ 3) หลักการบริหารแบบความรับผิดชอบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ทั้ง 4 ด้านดังนี้ 1) การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ 2) การช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยการแนะนำและแบ่งปันแก่ผู้อื่น 3) การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม และ 4) การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นเป็นของตนเองตลอดจนไม่ปิดกั้นโอกาสของบุคคลอื่นที่จะใช้ของส่วนรวมนั้น องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรม โดยที่กิจกรรม ประกอบด้วย 10 กิจกรรม (กิจกรรม ทศกิจ จิตอาสา) ได้แก่ 1) กิจกรรมการเขียนเรียงความและคำขวัญ เรื่องการใช้ของสาธารณะ 2) กิจกรรมสำรวจโต๊ะ เก้าอี้ ประตู หน้าต่าง 3) กิจกรรมอาสาพัฒนา 4) กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์สังคม 5) กิจกรรมบำรุงรักษาอุปกรณ์กีฬา 6) กิจกรรมศิลป์อาสาพัฒนาโรงเรียน 7) กิจกรรมขยะ รียูทเพื่อส่วนรวม 8) กิจกรรม English Today For Public 9) กิจกรรมอาสาบำเพ็ญประโยชน์ และ 10) กิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชน และองค์ประกอบ 4 การประเมินผล โดยการวัดและประเมินผลตามวัตถุประสงค์ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และผลการตรวจสอบคุณภาพของร่างรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) การประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจจิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) โดยเฉลี่ยในภาพรวมทั้ง 4 องค์ประกอบของรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.56 , σ =0.08)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริม จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) เป็นดังนี้
3.1 จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ของแต่ละกิจกรรม ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 50 โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 79.55 เมื่อเทียบกับคะแนนเต็มทั้งหมด และเมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมการเขียนเรียงความและคำขวัญเรื่องการใช้ของสาธารณะร่วมกัน อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 77.77 กิจกรรมสำรวจโต๊ะ เก้าอี้ ประตู หน้าต่าง อยู่ในระดับภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 78.92 กิจกรรมอาสาพัฒนาอยู่ในดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 77.96 กิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์สังคม อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 78.50 กิจกรรมบำรุงรักษาอุปกรณ์กีฬา อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 79.91 กิจกรรมศิลป์อาสาพัฒนาโรงเรียน อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 80.14 กิจกรรมขยะรียูทเพื่อส่วนรวม อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 80.73 กิจกรรม English Today For Public อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 78.92 กิจกรรมอาสาบำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็น ร้อยละ 81.00 และกิจกรรมจิตอาสาเพื่อชุมชน อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 81.60
3.2 จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบของจิตสาธารณะเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 50 โดยภาพรวม อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 80.52 เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบ พบว่า การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้ อยู่ในระดับคุณภาพดี คิดเป็นร้อยละ 69.99 การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยการแนะนำและแบ่งปันแก่ผู้อื่น อยู่ในระดับคุณภาพดี คิดเป็นร้อยละ 75.41 การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชํารุดเสียหายต่อของส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 87.73 และการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มโดยไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นเป็นของตนเอง อยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 88.95 ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) เป็นดังนี้
4.1 ความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ = 4.47 , σ = 0.59) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านลักษณะของรูปแบบโดยรวม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (μ = 4.47 , σ = 0.68) และด้านองค์ประกอบของรูปแบบโดยรวม ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (μ = 4.47 , σ = 0.56)
4.2 ความเป็นประโยชน์ของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.58 , σ = 0.56) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านลักษณะของรูปแบบโดยรวม ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.67 , σ = 0.48) และด้านองค์ประกอบของรูปแบบโดยรวม ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.55 , σ = 0.58)
4.3 ความถูกต้องเหมาะสมของการใช้รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิด ทศกิจ จิตอาสา ที่ส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ (คุรุราษฎร์อุปถัมภ์) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.54 , =0.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านลักษณะของรูปแบบโดยรวม ความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.60 , σ = 0.56) และด้านองค์ประกอบของรูปแบบโดยรวม ความถูกต้องเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.53 , σ = 0.63)