ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


บทความเทคโนโลยีการศึกษา เปิดอ่าน : 41,444 ครั้ง
คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Advertisement

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “คุณภาพ” ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานหรือชี้ตัววัดประสิทธิภาพต่างๆ ที่จะช่วยให้เราคาดหมายสิ่งที่เราต้องการจะวัด ว่ามีคุณภาพเพียงใด ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราขับรถตามรถคันหน้าที่มีสภาพ บุบบิบ ปุปุ ปะปะ หลายแห่ง แถมที่ท้ายรถยังมีข้อความว่า “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” เราคงต้องชะลอความเร็วลงหน่อยแล้วชั่งใจตัวเองว่าจะขับรถตามคันหน้าต่อไปดีไหมนั้นเพราะเราประเมินคุณภาพการขับรถคันหน้าจากสภาพที่เราเห็น

ในเรื่องสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้นก็คงเช่นเดียวกัน ในลักษณะของผู้ชมผู้ใช้สื่อดังกล่าว จะให้ความสนใจกับสภาพทีเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นประการแรกก่อน แต่แค่สภาพที่เห็นในการวัดคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่านั้นยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะจัดทำเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการเป็นหลัก (ถนอมพร, 2541 : 8-10) คือ

 



หมายถึงเนื้อหาสาระ (content) ที่ผู้ผลิตพัฒนารวบรวมเรียบเรียงมาอย่างดีแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในลักษณะของการนำเสนอนั้นอาจแตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบ และเนื้อหานี่เองจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกมทั่วไปที่มุ่งแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน

 



กล่าวคือสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนได้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ เช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับของการเรียน และการควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ

 

 



หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือผู้สอนในขณะนั้น การโต้ตอบที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ออกแบบให้เหมาะสม สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 



ซึ่งตามแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) การให้ผลป้อนกลับจะเป็นการเสริมแรง (reinforcement) อย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดี ลักษณะของการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีที่จะช่วยแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับสื่อการนพเสนออื่น คือ การให้ผลป้อนกลับในลักษณะของการประเมินความเจ้าใจของผู้เรียน

ฉะนั้นภาพรวมของเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไป จึงให้ความสำคัญในเรื่องเนื้อหา (content) และการออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional design) เป็นหลัก

เนื้อหาบทเรียนที่ดีจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชา เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย โครงสร้างเนื้อหาชัดเจนมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง นั่นคือควรจะต้องมีการออกแบบบทเรียนที่ดี นำทางผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและจำเนื้อหาได้ มีการจัดระบบเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนหรือปูพื้นความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ มีลำดับขั้นตอนของการนำเสนอความยากง่าย มีการนำเสนอวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา เค้าโครงเนื้อหาอย่างกว้างๆ ผู้เรียนจะสามารถผสมรายละเอียดส่วนย่อยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพขึ้น ที่สำคัญเนื้อหาควรจะนำเสนอได้ตรงและครอบคลุมตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เหมาะสมกับระดับความยากง่ายของผู้เรียนและมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งตัวสะกด ไวยากรณ์ข้อความและการออกเสียง

 

 

และตามหลักจิตวิทยา การดึงดูดความสนใจถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะนำพาให้ผู้เรียนไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ดีควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใครและปฏิบัติได้จริงไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง ให้โอกาสผู้เรียนควบคุมลำดับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีแบบฝึกปฏิบัติหรือแบบฝึกหัดและการประเมินผลที่ครอบคลุมจุดประสงค์ เพราะการวัดและการประเมินผลจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่ควรจะขาดหายไป การวัดและการประเมินผลก่อนเริ่มต้นเรียนเป็นการกระทำเพื่อจัดวางตำแหน่งของผู้เรียนเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานจำเป็นเพียงพอต่อการเรียนหรือไม่

 

ส่วนการประเมินผลในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะเรียนและการประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนจะเป็นการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการให้ผลป้อนกลับ (feedback) เพื่อเสริมแรงอย่างเหมาะสม การให้ผลป้อนกลับที่ดีควรจะเป็นผลป้อนกลับในเชิงบวก (positive) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกที่ดี เช่น การให้คำชม การให้รางวัลมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าทำถูกหรือทำผิดอย่างไร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมแรงแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามคิดหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไป แต่ทั้งหมดนี้ข้อสำคัญอย่างหนึ่งของการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่ผู้ผลิตและพัฒนาต้องคำนึงถึงก็คือ ระบบจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เป็น เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

นอกจากในเรื่องของเนื้อหา และการออแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์หลักๆ ในการประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เกือบทุกค่ายหรือทุกๆ สำนักที่จัดประกวดหรือตรวจประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะวางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้ชื่อ เรียกแตงต่างกันออกไปแล้ว เกณฑ์ประกอบอื่นในทัศนะของผู้เขียนที่เห็นว่าสำคัญก็คือเรื่องของการออกแบบหน้าจอ (screen design) เอกสารหรือคู่มือประกอบและเทคนิคที่ใช้ในการผลิต

 

การออกแบบหน้าจอ ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีก็คือรูปลักษณ์ที่เราเห็นที่หน้าจอคอมพิวเตอร์แต่ก็ไม่ใช่เพียงการมองผ่านแค่บางหน้าจอ หากต้องเป็นการมองเพื่อพิจารณาต่อเนื่องตลอดทั้งเรื่อง ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีควรจะมีการจัดวางองค์ประกอบที่หน้าจอได้อย่างเหมาะสม สวยงาม ง่ายต่อการใช้รูปแบบตัวอักษรมีขนาด สี ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ใช้สีได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สื่อความหมายสอดคล้องกับแนวของเนื้อหา การใช้ปุ่มข้อความ หรือแถบข้อความ หรือรูปภาพ ชัดเจนเหมาะสมและถูกต้อง เพราะปุ่มจะเป็นสิ่งกำหนดการเดินทางเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าไปยังบทเรียนได้ตามความประสงค์การใช้กราฟิกเป็นปุ่มกำหนดทิศทางทำให้ดูน่าสนใจ แต่ข้อเสียคือ หากใช้ขนาดไม่เหมาะสมอาจใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลนาน ดูเกะกะ และถ้าใช้เอฟเฟ็กต์ในการแสดงปุ่มมากไป ผู้ใช้ก็จะไม่เข้าใจ จึงควรมีความสม่ำเสมอในการใช้ปุ่ม สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสากล เช่น การกำหนดทิศทางใช้ลูกศร ผู้ใช้จะเข้าใจง่ายสะดวกขึ้น

ในการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะหวังผลให้ได้เต็มประสิทธิภาพของสื่อ เอกสารหรือคู่มือประกอบย่อมเป็นเรื่องจำเป็น ต้องเป็นที่ยอมรับกันว่า ณ ปัจจุบันในประเทศไทยของเรา พื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนทุกคนไม่เท่ากัน ฉะนั้นการมีคู่มือการใช้โปรแกรมที่ดี จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

 

ในเรื่องของเทคนิคที่ใช้ในการผลิตนั้น จะเป็นเกณฑ์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะมาช่วยควบคุมคุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเป็นตัวช่วยที่จะแบ่งประเภทของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ชัดเจนในลักษณะของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ (standalone) และระบบที่ใช้ผ่านเว็บอันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้งในขณะนี้

เพราะสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบที่ใช้ผ่านเว็บจะต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browaer) เป็นเครื่องมืออ่านเอกสารบนเว็บ ที่เรารู้จักกันดีคือ Internet Explorer และ Netscape เพราะมีลงอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องแล้ว ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทันที

ในส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราจะใช่ผ่านเว็บสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภท Web Authoring เช่น Front Page, Dreamweaver ฯลฯ พวกนี้สามารถแสดงผลได้ทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ และผ่านเว็บ แต่อีกประเภทหนึ่งคือ Web Programming เช่น ASP, CGI, PHP ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมสำหรับประมวลผลข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูลผู้เรียน ระบบประเมินผลผู้เรียน (คลังข้อสอบ) ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถแสดงผลให้เห็นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ

ฉะนั้นเกณฑ์ในเชิงเทคนิคที่จะใช้ประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งสองประเภทจึงต้องแตกต่างกัน ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ เกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาคือสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่ผู้พัฒนากำหนดได้โดยไม่มีปัญหา นั่นหมายถึงว่าต้องมีการทดสอบโปรแกรมมาอย่างดีก่อน มีระบบการเข้าสู่โปรแกรมโดยอัตโนมัติ (autorun) หรือมีระบบการติดตั้งโปรแกรม (installation) การแสดงผลภาษาไทยถูกต้อง ภาพและเสียงที่ใช้ประกอบแสดงผลได้ถูกต้อง รวดเร็ว

สำหรับเกณฑ์ในเชิงเทคนิคของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบผ่านเว็บที่แตกต่างออกไปก็ควรพิจารณาที่การแสดงผลได้อย่างถูกต้องผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer หรือ Netscape ความถูกต้องของ Web Programming รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ ทั้งภายในตัวสื่อและระหว่างเว็บ ทั้งนี้รายละเอียดหลีกย่อยของเกณฑ์ในเชิงเทคนิคยังมีอีกมาก เช่น Version ของเบราว์เซอร์ที่จะใช้ ความแตกต่างของ Web Programming ต่างๆ ที่ถูกสร้างและพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นเกณฑ์ในส่วนนี้จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจึงจะสามารถประเมินคุณภาพสื่อได้อย่างถูกต้อง

 

 

จากทั้งหมดที่กล่าวมาคงเป็นแนวทางคร่าวๆ ของการประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สื่อได้อย่างมีคุณภาพในเบื้องต้นซึ่งคงจะไม่ใช่เพียงการมองรูปลักษณ์ที่เห็นเท่านั้น

ก็คงเหมือนกับที่เราขับรถตามหลังรถที่มีข้อความ “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” ในตอนต้น แต่เผอิญว่าวันนี้ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม เป็นคนขับ ไม่ใช่ นายเก่ง ลุยทุกเรื่อง เจ้าของตัวจริงขับ เราก็คงจะขับรถตามรถที่ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม ขับไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย แม้ในเบื้องต้นจะไม่มั่นใจในสภาพที่ตาเห็นเท่าไรนักก็ตาม


ที่มาข้อมูล : สมควร เพียรพิทักษ์ วารสารวิชาการ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2548
ที่มาเว็บ :
https://www.myfirstbrain.com


คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา

คอมพิวเตอร์กับการศึกษา


เปิดอ่าน 118,457 ครั้ง
วิธีการเชิงระบบ

วิธีการเชิงระบบ


เปิดอ่าน 43,645 ครั้ง
ICT2020 Conceptual Framework

ICT2020 Conceptual Framework


เปิดอ่าน 29,057 ครั้ง
Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit


เปิดอ่าน 10,475 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความหมายของระบบ

ความหมายของระบบ

เปิดอ่าน 184,792 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ในปี 2561 แมชชีนเลิร์นนิ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่โลกใบนี้มีอินเทอร์เน็ต
ในปี 2561 แมชชีนเลิร์นนิ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด นับตั้งแต่โลกใบนี้มีอินเทอร์เน็ต
เปิดอ่าน 13,191 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลวิจัยการใช้แท็บเล็ตตามกระแส BYOT: Bring Your Own Technology
ผลวิจัยการใช้แท็บเล็ตตามกระแส BYOT: Bring Your Own Technology
เปิดอ่าน 16,130 ☕ คลิกอ่านเลย

อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
อนาคตหนังสือเรียนไทยในยุคก้าวไกลของ IT
เปิดอ่าน 26,406 ☕ คลิกอ่านเลย

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 36,926 ☕ คลิกอ่านเลย

แบบตรวจสอบการเรียนผ่านเครือข่าย
แบบตรวจสอบการเรียนผ่านเครือข่าย
เปิดอ่าน 12,186 ☕ คลิกอ่านเลย

การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
เปิดอ่าน 21,342 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เกษียณ65ปีทางแก้ประชากรสูงอายุ มีเงินเก็บ"4แสน"ก็อยู่ลำบาก
เกษียณ65ปีทางแก้ประชากรสูงอายุ มีเงินเก็บ"4แสน"ก็อยู่ลำบาก
เปิดอ่าน 24,402 ครั้ง

เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เดินหน้าปฏิรูป การวัดผลการศึกษา 59
เปิดอ่าน 15,205 ครั้ง

ลมบกและลมทะเล
ลมบกและลมทะเล
เปิดอ่าน 45,163 ครั้ง

สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
สั่งสินค้าจากจีนไม่เป็น PCS Cargo ช่วยคุณเรื่องบริการนำเข้าสินค้าจากจีน
เปิดอ่าน 2,288 ครั้ง

ความรู้เรื่องเมืองสยาม
ความรู้เรื่องเมืองสยาม
เปิดอ่าน 18,172 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ