ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด

ชื่อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ โดยใช้

กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด

ผู้วิจัย นางสาวอรุณศรี ยิ่งยืน

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมหนองเขียด

ปีที่พิมพ์ 2563

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม บริบทรอบตัว และเป็นยุคที่ระบบการจัดการศึกษาต้อง สามารถพัฒนาผู้เรียนให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขใน สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ (Dejakupt & Yindeesuk, 2014) ครูผู้สอนเป็นบุคคลสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษา เพราะครูผู้สอนเป็นกลไกสำคัญใน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมที่จะออกไปสู่สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง หน้าที่ของครูผู้สอนในศตวรรษใหม่จะไม่ใช่เพียงการสอน หากแต่ต้องเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนควรออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนมากกว่าการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากภายในใจและสมองของตนเอง (Panich, 2012) ดังนั้นครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการพัฒนาการจัดการศึกษา ทั้งในด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของครูผู้สอนให้เป็นมืออาชีพ (Wongmeejong & Naipat, 2017) แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนโดยส่วนใหญ่ มักเป็นการจัดอบรมระยะสั้น และเน้นเฉพาะสมรรถนะด้านความรู้ในการจัดการเรียนการสอน หลังจากนั้น จะให้ครูผู้สอนดำเนินปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนและดำเนินการสอนเองโดยลำพัง (Dejakupt & Yindeesuk, 2017) ซึ่งอาจทำให้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพมากนัก

การพัฒนาพัฒนาครูผู้สอนที่ประสบผลสำเร็จในหลายประเทศต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนา วิชาชีพที่มุ่งให้ครู ผู้บริหาร นักการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือร่วมพลังกันพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ในรูปแบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) โดยสมาชิกในชุมชนวิชาชีพร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาวิชาชีพ และภารกิจการพัฒนาร่วมกัน สมาชิกรวมพลังเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร ลงมือปฏิบัติบนฐานการทำงานจริงที่อิงพื้นที่การปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาในรูปแบบอื่นที่ได้จากนอกห้องเรียน ผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจาการพัฒนาตามแบบ “ชุมชมแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางบวกแก่ครู ผู้บริหาร ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็น “คนคุณภาพ” ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพการศึกษา และคุณภาพของประเทศในที่สุด นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานที่คนในสถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานต่างร่วมมือเรียนรู้ในการวิพากษ์วิจารณ์ ร่วมสะท้อนคิด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกันมากขึ้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คุรุสภามีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยจัดสรรเงินอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพให้แก่เครือข่ายฯ ที่มีการรวมตัวกันทางวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเป็น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ที่แท้จริงและต่อเนื่อง จะทำให้เพิ่มสมรรถนะในการทำงานของทุกฝ่าย ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนการสอน การบริหาร และการปฏิรูปสถานศึกษาที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และความท้าทายตามยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้สำเร็จ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” จึงเป็นชุมชนการพัฒนาที่สมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมตัวกันเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง แก่วิชาชีพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน รวมทั้งสร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพแก่สมาชิกให้สมกับความเป็น “ครูมืออาชีพ” อย่างแท้จริง

จากผลการประเมินการทดสอบนานาชาติ PISA (Programme for International Student Assessment) พบว่า ผลการประเมิน PISA ของประเทศไทยต่ำกว่ามาตรฐาน และมีแนวโน้มลดลง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2558) นอกจากนี้ยังพบปัญหาครูขากเทคนิควิธีสอนและทักษะด้านเทคโนโลยี การพัฒนาด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ฝึกทักษะคิดวิเคราะห์และรู้จักตั้งคำถาม จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ผลักดันหลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนำมาพัฒนาครู ใช้เครือข่ายในสถานศึกษาและชุมชน เรียนรู้ด้วยตนเองและจากเพื่อนครู นำไปสู่การร่วมกันประเมินและแก้ไขปัญหาร่วมกัน หลักการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ จะเป็น เครื่องมือในการพัฒนาครูได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การพัฒนาครูต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาผู้เรียน (ณรงค์ ขุ้มทอง, 2560)

จากการศึกษางานวิจัยของ ณัฐิกา นครสูงเนิน (2556) ดลนภา ดลศิริ (2556) ศยามน อินสะอาด (2556) ) และจุลลี่ ศรีษะโคตร (2557) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา พบว่า การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านนโยบายและการสนับสนุนของเขต ด้านบรรยากาศขององค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านโครงสร้างสถานศึกษา ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหาร ด้านพันธกิจและวิสัยทัศน์ ด้านการจูงใจ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้านประสิทธิภาพการสอนของครู เป็นต้น ซึ่งการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา จะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น นั่นคือ ประสิทธิภาพการสอนของครู แต่จากการวิเคราะห์ผลคะแนนทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2560 - 2562 ของโรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า มีผลการทดสอบต่ำลง ถึงแม้ว่าจะมีบางรายวิชาที่มีพัฒนาการดีขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านประสิทธิภาพการสอนของครู ดังนั้นหากสถานศึกษาสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูได้ จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดระดับสูง โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

คำถามในการวิจัย

การพัฒนาครูที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดระดับสูง โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีลักษณะและผลการพัฒนาอย่างไร

วิธีดำเนินการวิจัย

ผู้วิจัยได้นำแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและนำกระบวนการของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน เนื่องจากการดำเนินการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยการหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ด้วยการนำความรู้ที่มีอยู่ไปใช้ปฏิบัติจริงในบริบทของแต่ละชั้นเรียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ความรู้สามารถเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นร่วมใจที่จะปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกัน โดย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นวางแผน ขั้นลงมือปฏิบัติและสังเกตผลการปฏิบัติ ขั้นสะท้อนผล และขั้นตอน การปรับปรุงใหม่ (Phuangsomjit, 2017; Dejakupt & Yindeesuk, 2017) นอกจากนี้ยังนำกระบวนการจัดการความรู้ มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาบทเรียนต่างกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะประสบการณ์ในการดำเนินการตามกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียด ดังนี้

1. ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน เช่น การวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้ วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมิน การจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมา เพื่อนำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีแนวทางดังนี้

1.1 การเลือกหัวข้อในการทำแผนการเรียนรู้ของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเลือกเรื่องที่ยากหรือเป็นเรื่องที่สำคัญของรายวิชา เพื่อสมาชิกทีมของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จะได้ร่วมมือร่วมแรงกันวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน

1.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนในทุกด้านและเน้นปัญหาการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน โดยผู้สอนวิเคราะห์ข้อมูลก่อนและนำข้อมูลมาร่วมวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมคิด และสมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1.3 ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอน โดยนำผลการประเมินจากผู้เรียน/ผู้สอนในปีการศึกษาที่ผ่านมาที่มีรายละเอียดในหัวข้อที่จะร่วมพัฒนาด้วยกันในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ ในหัวข้อที่มีปัญหาหรือต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะประเมินหลังการสอนในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์การเรียนรู้ จากทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน เพื่อวางแผนการปรับปรุงการสอนในครั้งต่อไป

2. ขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) เป็นขั้นที่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยสมาชิกทีม อย่างน้อย 5 คน ได้แก่ ผู้วางแผนการสอน เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหาร ร่วมกันวางแผนและให้การชี้แนะและให้คำปรึกษาในการออกแบบการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ วางแผนเรื่องการจัดการเรียน เช่น การจัดโต๊ะเรียนแบบกลุ่ม เรียนร่วมมือร่วมพลัง และการเตรียมสื่อการเรียนรู้ ส่วนผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการพัฒนาการจัด การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ โดยการอำนวยการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ส่งเสริมและสนับสนุน การดำเนินงานของทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ให้ครบทุกขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

2.1 การวางแผนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้วางแผนการสอน โดยจัดทำ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสอนคิด 4 ขั้นตอน โดยมีเป้าหมายที่การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ดังนี้ 1) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) สาระ การเรียนรู้ที่สำคัญ 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (กิจกรรม สื่อ และเวลา) โดยเลือกวิธี/เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมกระบวนการคิด เช่น Cooperative learning, PBL, Case based learning, Team based learning, Project based learning, Questioning, Concept mapping 4) การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้

2.2 การวางแผนการจัดการเรียนรู้ โดยผู้วางแผนการสอนร่วมกับเพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการสอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชารวมทั้งผู้บริหาร ดังนี้ 1) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้นำเสนอร่างแผนการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อนร่วมคิด ผู้สังเกตการณ์สอน ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประสานงานรายวิชา รวมทั้งผู้บริหาร ให้ข้อเสนอแนะ 3) ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์กระบวนการคิด กิจกรรมและการประเมินผล ตามข้อเสนอแนะร่วมกับเพื่อนร่วมคิด จากนั้นเตรียมความพร้อมทั้งด้านผู้เรียน เช่น การจัดกลุ่มผู้เรียน การเตรียมความรู้ก่อนเรียน และใบงาน เป็นต้น และการเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

3. ขั้นปฏิบัติและสังเกตการณ์ (Do and See) นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างไปปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน โดยมีสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ร่วมสังเกตการณ์ ผู้สอนบันทึกหลังการสอน ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้ปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนโดยเพื่อนร่วมคิด และสมาชิก ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมสังเกตการณ์ และบันทึกจุดเด่น และจุดที่ควรพัฒนาในประเด็นพฤติกรรมของผู้เรียน วิธีการจัดการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นผู้เรียนทุกคนให้มีส่วนร่วม สภาพสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อน การสอนในแบบบันทึกการสอน เพื่อเป็นข้อมูลในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอน

4. ขั้นสะท้อนคิด (Reflect) เป็นขั้นที่สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับความสำเร็จ เช่น ผู้เรียนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่ กำหนดไว้หรือไม่ จุดเด่น จุดอ่อนในเรื่องของกิจกรรมการเรียนการสอน สภาพสิ่งงแวดล้อม สิ่งสนับสนุน การเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ และ ผลลัพธ์การเรียนรู้ จุดที่ต้องแก้ไข รวมทั้งแนะนำวิธีแก้ปัญหา โดยเริ่มการสะท้อนคิดจากผู้วางแผนหรือผู้สอน เพื่อนร่วมคิด (Buddy) และสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ ตามลำดับ

5. ขั้นปรับปรุงใหม่ (Redesign) ขั้นนี้ผู้วางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนร่วมคิด พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดยนำผลจากการสะท้อนคิดจากการสอนร่วมกับข้อเสนอแนะของสมาชิก ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อปรับแก้แผนการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ และนำไปดำเนินการสอนอีกครั้ง โดยสามารถสรุปเป็นแนวปฏิบัติขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ดังแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ผลการวิจัย

จากผลการดำเนินการพัฒนาครูที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดระดับสูง โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งครูผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ได้ดังนี้

1. ด้านผู้สอน

1.1 เข้าใจบริบทของวิชาและมีจุดเน้นสำคัญในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น จากการได้ศึกษาวิเคราะห์คะแนนการทดสอบขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) การวิเคราะห์หลักสูตร รายละเอียดของรายวิชา สาระการเรียนรู้ที่สำคัญของเนื้อหาความรู้ วิธีการสอน ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล ผลลัพธ์การเรียนรู้ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอน และผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษาที่ผ่านมา ร่วมกับทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

1.2 ช่วยลดความโดดเดี่ยวและเพิ่มความมั่นใจของครูผู้สอน ซึ่งจากเดิมที่ผู้สอนแต่ละคนคิดวางแผนการสอนเพียงคนเดียว เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ ก็แก้ปัญหาเพียงผู้เดียว การปรึกษาหารือกันเพื่อพัฒนาการสอนยังมีน้อย เปลี่ยนมาเป็นการร่วมมือในการคิดและแก้ปัญหาด้วยกัน โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน คือ พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.3 เพิ่มความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานให้บรรลุภารกิจ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ จากผู้บริหาร และเพื่อนร่วมงาน

1.4 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ผลดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้สอนมีการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ร่วมกับประสบการณ์ของสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นอกจากนี้ผู้สอนที่เป็นสมาชิกในทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ยังได้เห็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการเรียนการสอนของเพื่อนสมาชิก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในชั้นเรียนของตนเองได้

1.5 ผู้สอนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับระยะเวลา เนื้อหา ผู้เรียน และสภาพแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการมีสมาชิกทีมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพช่วยให้ข้อเสนอแนะ ช่วยแก้ไขปัญหา รวมถึงให้กำลังใจ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีจากทีมเพื่อนผู้สอนด้วยกัน

2. ด้านผู้เรียน

2.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เนื่อง จากการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด และประยุกต์ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนในการเรียนแบบเดิมพบว่าผู้เรียนในห้องเรียนที่มีการพัฒนาด้วยชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนสอบที่สูงกว่าผู้เรียนในห้องเรียนในปีก่อนที่ผ่านมา ที่เรียนโดยวิธีการแบบเดิม ซึ่งเน้นการบรรยายเป็นหลัก

2.2 ผู้เรียนมีความสุขและสนุกในการเรียนมากขึ้น จากการสอบถามผู้เรียนส่วนใหญ่ พบว่า ชอบวิธีการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ฝึกทักษะการแก้ปัญหา โจทย์สถานการณ์จำลอง ด้วยการให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบร่วมกันกับเพื่อน และสุดท้ายครูผู้สอนมาเฉลยร่วมกันกับผู้เรียน มีแบบวัดความรู้และทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน และเฉลยคำตอบและขมวดความรู้ร่วมกันภายหลังการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดอ่อนของตนเอง และทราบว่าตนเองต้องแก้ไขตรงจุดใด การที่ผู้เรียนมี ความสุขในการเรียนจะทำให้ผู้เรียนตั้งใจและอยากเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาจเป็นผลจากการที่ครูผู้สอน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธี การจัดการเรียนการสอนที่ดีต่อกัน และกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา ทำให้ผู้สอนได้เสนอปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนร่วมกัน ส่งผลให้ครูผู้สอนมีเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนา ดังนั้น จึงส่งผลให้เกิดบรรยากาศที่ดีใน การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น

ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงาน

การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยที่นำไปสู่การพัฒนา ดังนี้

1. การสนับสนุนของผู้บริหาร เนื่องจากการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน มีผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งด้านการกำหนดนโยบายและการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในด้านเวลาการประชุมร่วมกัน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ทำให้สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยเฉพาะผู้สอนมีขวัญกำลังใจและมีความกระตือรือร้นในการทำงาน เพราะการเข้าร่วมประชุมของผู้บริหารแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นและรวดเร็วมากขึ้น

2. การสื่อสารทางบวกของสมาชิก ในระยะปฏิบัติการสอนต้องมุ่งเน้นสังเกตชั้นเรียนเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้เรียน ไม่ใช่เพื่อประเมินผู้สอน และระยะสะท้อนผลเป็นการประชุมประเมินการสอนที่มุ่งเน้นการสื่อสารทางบวก โดยเน้นชี้จุดดีเพื่อสร้างกำลังใจ การตั้งคำถามและการสนับสนุนให้ผู้สอนตัดสินใจปรับปรุงการสอนได้ด้วยตนเอง การสื่อสารทางบวกช่วยให้เกิดบรรยากาศที่ดีและส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การจัดการความรู้โดยการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยจัดระบบความรู้ ความคิดและเกิดการขยายผลไปยังทีมผู้สอนคนอื่น ๆ โดยเฉพาะการแบ่งปันเทคนิควิธีการสอนที่ดีให้สมาชิกในชุมชนและครูผู้สอนคนอื่น ๆ ได้เรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การทำงานบนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ การแก้ไขปัญหา ได้อย่างตรงจุด และเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามการแบ่ง ปัน จะสามารถเกิดได้ดีนั้นต้องอาศัยการมีผู้บริหารที่สนับสนุนการจัดบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการมีเป้าหมายร่วมกันของทุกคนในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

โพสต์โดย อรุณศรี ยิ่งยืน : [26 ส.ค. 2563 เวลา 06:18 น.]
อ่าน [3490] ไอพี : 61.7.188.28
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 19,546 ครั้ง
อยากประสบความสำเร็จต้องอ่าน ความจริง 3 ข้อที่คนทำงานไม่อาจมองข้าม
อยากประสบความสำเร็จต้องอ่าน ความจริง 3 ข้อที่คนทำงานไม่อาจมองข้าม

เปิดอ่าน 16,083 ครั้ง
การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)
การพิจารณาค่าความจริง (Truth value)

เปิดอ่าน 11,270 ครั้ง
"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ
"หนี้ครู" ปัญหาอมตะคู่แม่พิมพ์ของชาติ

เปิดอ่าน 9,639 ครั้ง
สามเณรน้อย ท่องบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคล่องมาก ทึ่งสวดมนต์ตั้งแต่ยังอ่านไม่ออก
สามเณรน้อย ท่องบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคล่องมาก ทึ่งสวดมนต์ตั้งแต่ยังอ่านไม่ออก

เปิดอ่าน 64,187 ครั้ง
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
วิเคราะห์พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69

เปิดอ่าน 114,328 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 12 การเล่นที่ผิดกติกาและประพฤติผิด
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 12 การเล่นที่ผิดกติกาและประพฤติผิด

เปิดอ่าน 9,808 ครั้ง
ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒
ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๒

เปิดอ่าน 359,270 ครั้ง
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

เปิดอ่าน 9,111 ครั้ง
วิธีใช้สายตาอย่างถูกต้อง
วิธีใช้สายตาอย่างถูกต้อง

เปิดอ่าน 11,729 ครั้ง
  อยู่ใกล้ถนนใหญ่ เสี่ยงภัยรูมาทอยด์
อยู่ใกล้ถนนใหญ่ เสี่ยงภัยรูมาทอยด์

เปิดอ่าน 15,078 ครั้ง
มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว
มะเร็งเน็ต...ภัยร้ายชนิดใหม่ เสี่ยงตายไม่รู้ตัว

เปิดอ่าน 6,934 ครั้ง
ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติคำ "Metaverse" ใช้คำภาษาไทยว่า "จักรวาลนฤมิต"
ราชบัณฑิตยสภาบัญญัติคำ "Metaverse" ใช้คำภาษาไทยว่า "จักรวาลนฤมิต"

เปิดอ่าน 94,941 ครั้ง
การหาประสิทธิภาพสื่อ
การหาประสิทธิภาพสื่อ

เปิดอ่าน 10,906 ครั้ง
12 สุขลักษณะ การนอนที่ดี
12 สุขลักษณะ การนอนที่ดี

เปิดอ่าน 16,890 ครั้ง
ห้องเรียนไม่ใช่ห้องสอน บทสัมภาษณ์ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ห้องเรียนไม่ใช่ห้องสอน บทสัมภาษณ์ ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

เปิดอ่าน 19,097 ครั้ง
ชุดประจำชาติที่ ‘น้องไข่มุก’ ใส่ประกวดมิสยูนิเวิร์สปีนี้
ชุดประจำชาติที่ ‘น้องไข่มุก’ ใส่ประกวดมิสยูนิเวิร์สปีนี้
เปิดอ่าน 15,573 ครั้ง
ซักซ้อมความเข้าใจเรื่องอำนาจการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ 2535 และที่แก้ไขฯ
ซักซ้อมความเข้าใจเรื่องอำนาจการอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างตามระเบียบฯว่าด้วยการพัสดุ 2535 และที่แก้ไขฯ
เปิดอ่าน 33,701 ครั้ง
รูปแบบการสอน 7 ประการ
รูปแบบการสอน 7 ประการ
เปิดอ่าน 15,215 ครั้ง
ไขมันพืช (น้ำมันปาล์ม) สาเหตุหนึ่งของอาการป่วยทางสมอง
ไขมันพืช (น้ำมันปาล์ม) สาเหตุหนึ่งของอาการป่วยทางสมอง
เปิดอ่าน 13,585 ครั้ง
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ในแต่ละปี
เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. ในแต่ละปี

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ