ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รูปแบบการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM ) เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Lear

รายงานสรุปผลงานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนสอน

ประเภท ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม

รางวัลที่เสนอขอ ผู้บริหารสถานศึกษายอดเยี่ยม

ชื่อ นายศิริพงษ์ วงศ์สุทธิรัตน์

ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกอกวิทยา

ประเภท ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ขนาด โรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนไม่เกิน 120 คน)

ผลงานด้าน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนสอน

เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM )เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Learning: CL)”

จากการบริหารงานโรงเรียนบ้านกอกวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยใช้ยุทธศาสตร์ในการบริหารที่หลากหลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นไป ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก่ไขปรับปรุงทุกฉบับ มามาตรา 6 ที่กล่าวว่า”การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาระดับสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านกอกวิทยาได้ กำหนดไว้ดังนี้

วิสัยทัศน์โรงเรียน(Vision)

ปี 2562 โรงเรียนบ้านกอกวิทยา เป็นสถานศึกษาชั้นนำชองชุมชน สร้างโอกาส และคุณภาพทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนและสังคม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

จากวิสัยทัศน์ ดังกล่าว สามารถกล่าวเป็นสรุปสั้นว่าจุดมุ่งหมายปลายทางของโรงเรียนคือ สมอง ของชุมชน ( Brain of Community) หมายถึงการสร้างองค์ความรู้ วิทยาการ เทคโนโลยี ขยายผลสู่ชุมชน โดยผ่านกระบวนการการจัดการความรู้และหลักคิด SMART planning สร้างและใช้สื่อที่หลากหลายจนเกิดเป็น ชุมชน แห่ง การเรียนรู้( Community of learning)

พันธกิจ(Misson)

1. ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ

2. สร้างโอกาสทางการเรียนรู้ ให้ประชากรวัยเรียนทุกคน ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้

4. ส่งเสริมสนับสนุนการใช้วิทยาการ เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและขยายผลสู่ชุมชน

5. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่กระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการจัดการเรียนรู้

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)

1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

2. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ

3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและภาคีเครือข่าย

เป้าประสงค์(Corporate Objective)

1.สถานศึกษาบริหารกระบวนการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ

2. ผู้เรียนและ ครูมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา

3. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาจากหน่วยงานผู้ประเมินภายนอก และได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

แนวคิดการบริหารของโรงเรียน

“ โรงเรียนเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง “

หลักคิด “SMART”

นโยบาย/จุดเน้น

1. พัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณ คณิตพื้นฐานเป็น

2. พัฒนานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และมีจิตสาธารณะ

3. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สูงขึ้นปีละร้อยละ 5

4. ยกระดับผลการทดสอบระดับชาติ ป.3 และป.6 สูงขึ้นปีละ ร้อยละ 3

5. ปลูกฝังนิสัยนักเรียนอนุบาล ยิ้มง่าย ไหว้สวย เก่งพูด

6. ส่งเสริมนักเรียนอนุบาลพูดภาษาอังกฤษตามวุฒิภาวะ

7. เด็กทุกคนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียนและได้เรียนคอมพิวเตอร์

8. เสริมสร้าง วินัยตนเองให้กับนักเรียนจนเป็นนิสัยติดตัว

9. ส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลระดับภาค อย่างน้อยปีละ 1 รายการ

10. ส่งเสริมครูผ่านการประเมินสมรรถนะ ได้มีและเลื่อนวิทยฐานะ และมีคุณภาพตามมาตรฐาน

การศึกษา

11. ส่งเสริมครูจัดการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านดาวเทียม

12. ส่งเสริมครูใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติการในการแก้ปัญหาผู้เรียน

อัตลักษณ์ สถานศึกษา

“เป็นผู้มีนิสัยรักการออมทรัพย์”

เอกลักษณ์นักเรียน

“รักสะอาด มารยาทงดงาม”

ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา

ยุทธศาสตร์ข้อที่ 1พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

เป้าประสงค์หลัก

1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติ

2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติบรรลุเป้าหมายที่กำหนด

ยุทธศาสตร์ข้อที่ 2 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นมืออาชีพ

เป้าประสงค์หลัก

1. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและพัฒนาศักยภาพครูให้มีมาตรฐาน

2. สนับสนุนบทบาทของข้าราชการครูละบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3. ส่งเสริมสนับสนุน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีมาตรฐานวิชาชีพและการปฏิบัติงาน

ยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและภาคีเครือข่าย

เป้าประสงค์หลัก

1. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับความต้องการของชาติและท้องถิ่นโดยใช้แนวคิด “โรงเรียนเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง” และ หลักคิด SMART

2.พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้เรียน

3.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายทางวิชาการ

4.สร้างแหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรและเทคโนโลยีเพื่อการบริหาร

จากระบวนการยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาทำให้มีผลการบริหารจัดการศึกษาปรากฏงานอยู่ 2 ด้าน คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน

ด้าน 2 นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน

ชื่อนวัตกรรม รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM )เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Learning: CL)

1.ที่มาและความสำคัญ

การจัดการศึกษาของประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด และความเจริญมั่งคั่งของแผ่นดิน มิเช่นนั้นแล้วความคงที่ล้าหลังก็จะเกิดกับประเทศไทยของเราในที่สุด การจัดการศึกษาในปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษากล่าวคือ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้น มีอุดมการณ์และหลักการการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเพื่อให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา พัฒนาคนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่พึงประสงค์ (กระทรวงศึกษาธิการ:2542)

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ให้เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีดความสามารถ ในการแข่งขันในเวทีระดับโลก (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔) พร้อมกันนี้ได้ปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (กระทรวงศึกษาธิการ:2542)

รัฐโดยสถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเนื่องตลอดชีวิตมาตรา (กระทรวงศึกษาธิการ:2542)

ในสังคมโลกาภิวัตน์ (Globalization) คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากเพราะเป็นเครื่องมือที่จะรับและแปลงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและไม่ค่อยมีข้อจำกัด คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้ในการจัดเก็บ บันทึกข้อมูล จัดระบบข้อมูลและนำมาใช้สื่อสารถึงกันในเวลาอันรวดเร็วทุกมุมโลก ในระยะไม่กี่ปีมานี้ได้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ไปอย่างมาก จากเครื่องที่มีขนาดใหญ่ราคาแพง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กแต่มีคุณภาพ และศักยภาพสูงมากและราคาถูกลง เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการแพร่ข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าทำให้โลกตะวันตกมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้มีการศึกษาและพัฒนา เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารอันทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยน ถ่ายทอดข้อมูลใหม่ ๆ หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การไหลบ่าของข่าวสารเทคโนโลยีข่าวสารทำให้มนุษย์ซึ่งอยู่ห่างไกลกันเป็นพัน ๆ ไมล์ หรืออยู่กันคนละมุมโลก สามารถติดต่อสื่อสารพูดคุยกันได้ มนุษย์ในยุคนี้สามารถรับรู้ข่าวสาร เหตุการณ์ทุกชนิดที่เกิดขึ้นในดินแดนห่างไกลออกไป ทำให้มีโลกทัศน์กว้างขึ้นและมีผลต่อแนวคิดเกี่ยวกับชุมชน หมู่บ้าน ประเทศที่เปลี่ยนไปเป็นโลก มนุษย์ทุกคนย่อมตระหนักดีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่งของโลกอาจมีผลกระทบต่อโลกทั้งโลกหรือมนุษย์ทั้งโลกได้ มนุษย์ในยุคนี้จะเกิดความรู้สึกในฐานะประชากรของโลกขึ้นมาแทนที่ความรู้สึกเกี่ยวกับรัฐ หรือชาติของตนเหมือนแต่เดิม อย่างไรก็ตามแม้กระแสของข่าวสารจะมีมากเพียงใด โอกาสในการรับรู้ข่าวสารก็อาจไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วย

(เฉลียว น้อย สรสิทธิ์”ออนไลน์.2559)

จัดการจัดการความรูกับสังคมไทย การคิดใหม ทําใหมเปนจุดเริ่มตนของนวัตกรรมและเทคโนโลยีและในทางกลับกันนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็ชวยใหการคิดการดําเนินการเปนไปอยางมีระบบแบบแผนและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการสรางองคความรูใหม อยางไรก็ตาม นวัตกรรมหรือกระบวนการคิดตางๆ นั้นลวนแลวแตมีความรูเปนจุดตั้งตน ทั้งในอดีตและปจจุบันลวนแลวแตมีการจัดการความรูเพียงแตการดําเนินการเปนไปอยางอัตโนมัติ ไมไดเคยรับรูวาการดําเนินการดัง กลาวคือการจัดการความรู องคกรก็ไมไดมีการจัดตั้งแผนกหรือตําแหนงพิเศษสําหรับดูแลเรื่องของการจัดการความรู เปนพิเศษเหมือนในปจจุบันที่องคกรหลายแหงมีฝายจัดการความรูที่เพิ่มมจากฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือตําแหนง ผูจัดการความรู(Chief of Knowledge Officer หรือ CKO) หลายๆ สิ่งที่สามารถชวยยืนยันได วาสังคมไทยในอดีตก็มีการจัดการความรูคือความรูตางๆ ที่ถ่ายทอดจนถึงปจจุบัน เพราะหากในอดีตไมมีระบบจัดการ ความรูแลว ความรูตางๆ คงสูญหายไปทั้งหมดไมมีการถายทอดจากรุนหนึ่งสูอีกรุนหนึ่งเพียงแตการจัดการความรูในอดีต นั้นอาจจะไมเป็นระบบหรือมีประสิทธิภาพนัก ในสังคมไทยเองก็ตามก็มีระบบการจัดการความรูมาชานาน ตัวอยางที่แสดงใหเห็นว่าคนไทยมีการจัดการ ความรูเชนการถายทอดงานทางดานศิลปกรรม ศิลปหัตถกรรม งานชางต่างๆ ความรู้ในเรื่องของสมุนไพร จากอดีตจนสู ปจจุบัน นอกจากนี้ยังมีโคลง ฉันทกาพยกลอน สุภาษิตและคําไทยตางๆ ที่แสดงใหเห็นวาคนไทยในอดีตไดมีการ จัดการความรูและตระหนักถึงความสําคัญของความรูมาชานานแลวเชนกัน (อติชาติ หาญชาญชัย.ออนไลน์.2529)

จากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและสภาพที่พึงประสงค์ของคณะครู นักเรียน และชุมชน พบว่าสภาพปัญหาแบ่งออกเป็น การพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสารแบบไร้พรหมแดน (Globalization) ผ่าน Socail network ทำให้มีข้อมูลรับรู้ข้อมูลได้รวดเร็วและมากขึ้นแต่ขาดวิจารณญาณในการรับรู้และการนำไปใช้ในชีวิตประวัน มีการส่งต่อข้อความที่ไม่เหมาะสม หรือใช้ในแสดงความคิดเห็นที่ขัดต่อกฎหมายระเบียบ เป็นต้น อีกประการหนึ่งปัญหาด้านการอ่านของผู้คนในประเทศที่อัตราการอ่านค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยการอ่านวันหนึ่งต่อวันต่อคนไม่ถึง ๑๐ หน้า ทำให้ความรู้ที่เกิดจาการอ่านเป็นผลรู้ส่งผลให้คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตกต่ำ พฤติกรรมการอ่านของเด็กและเยาวชน และผู้คนในสังคมปัจจุบัน อ่านกันน้อยลง ไม่ชอบอ่านและไม่เห็นความสำคัญของการอ่าน เริ่มตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การใช้สินค้าก็ไม่อ่านฉลาก ไม่อ่านคู่มือ การเข้าไม่ถึงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัย เนื่องจากมีฐานะยากจน และอยู่ห่างไกลความเจริญ จึงมีการใช้ชีวิตหรือ เฝ้าระวังเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ทันการณ์การขาดระบบ การจัดกระทำข้อมูล ที่ได้รับมา มีการกระจัดกระจายไม่เป็นหมวดหมู่ และไม่มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาการขาดแหล่งเรียนรู้และ ระบบการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย คุณภาพต่ำ ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงของความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่นระบบ เครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์พ่วงต่อ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน็ตบุ๊ค เกรดต่ำ ทำให้เกิดผู้ใช้การเบื่อหน่ายต่อใช้เทคโนโลยี อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่สิ่งอื่นใดนั่นเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะนำปัญหาและหาแนวทางการพัฒนา ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง

ความสำคัญของนวัตกรรม

1.ทราบถึงวิธีการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เผยแพร่ต่อชุมชน

2.ทำให้เกิดเป็นศูนย์เรียนรู่หรือเรียกว่าศูนย์วิทยชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมาใช้บริการศึกษา สืบค้นข้อมูล สร้างองค์ความรู้ต่อไป

3.ทำให้เกิดผู้นำ นักอ่านสำหรับนักเรียนและปราชญ์ชาวบ้านขึ้น

2.ขั้นตอนการออกแบนวัตกรรม

การจัดการความรู้(Knowledge Management:KM )เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Learning: CL) ผุ้จัดทำ ได้ดำเนินการออกแบบการดำเนินงานท ดังนี้

2.1 วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม

2.1.1.เพื่อศึกษาระบบการจัดการความรู้ในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

2.1.2. เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

2.2 กรอบแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม

ระบบการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM )เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Learning: CL) ได้กรอบแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม ไว้ดังนี้

รูปภ

รูปที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม

โรงเรียนบ้านกอกวิทยาได้ ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของชุมชนพบว่ายังขาดความรู้ความเข้าในการทำการเกษตร และไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลข่าวสาร การเข้าถึงข้อมูลข่าสารล่าช้าและสืบค้นข้อมูลไม่สามารถทำได้เพราะส่วนใหญ่จัดอยู่ในฐานะยากจน และไม่มีเวลาในดารศึกษา หาความรู่อาศัยเพียงประสบการณ์ที่เคยทำ สืบทอดกันมา ทางโรงเรียนเล็งเห็นความสำคัญ ประเด็น ในเรื่องของการกระตุ้นการอ่าน ทั้งของนักเรียนเอง และการของผู้ปกครอง ชุมชน จึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผนพัฒนา ดำเนินโครงการการบริหารจัดการความรู้เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียน อาศัยการสนับสนุนความร่วมของชุมชน สนับสนุนงบประมาณ ติดตั้งระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาน (Wifi )ให้กับโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมในกับนักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเอง เน้นไปเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และกระตุ้นให้รักการอ่าน เป็นบุคคลแห่งดารเรียนรู้ การบริหารจัดการ การขับเคลื่อนโดยใช้หลักการของ SMART มาเป็นตัวขับเคลื่อน มีกรอบระยะเวลากำหนดชัดเจน ติดตามประเมิน โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมซึ่งผลที่เกิดขึ้น ลงสู่สองทาง คือ ลงสู่ผู้เรียน และลงสู่ชุมชน

การออกแบบนวัตกรรมโดยการจัดทำข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมรวมเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ขยายผลสู่ผู้ปกครอง ชาวบ้าน และชุมชน ในลักษณะรูปแบบและวิธีการต่างๆ เช่น การจัดทำจดหมายข่าง แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ การออกให้ความ เสียงตามสายในหมู่บ้าน ประยุกต์ใช้ความสู้ทางการเทคโนโลยี นำเสนอผ่าน Social network Application ต่างๆ ประชาชน ชุมชนได้ประโยชน์ รับรู้ข่าวสาร และนำความรู้ที่ได้ ไปจัดการความรู้ สร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือวิทยชุมชน อีกต่อไป

รูปแบบ (Model)การจัดการความรู้(Knowledge Management:KM)เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community Learning:CL )

รูปที่ 2 แสดงรูปแบบการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM )

เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community Learning: CL)

หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม

๑.หลักการทรงงาน “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช โดยผู้ศึกษาน้อมนำหลักการทรงงาน ทั้งสามหลักการดังนี้

๑.๑ หลักการสร้างความเข้าใจ ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทาง

ของงานที่ทำใช้แนวทางการสื่อสารสัมพันธ์ลักษณะ ๒ ทาง (two way communication) การประชุมปรึกษาหารืออยู่เนืองนิตย์ ทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และต้องพยายามเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากขึ้น

๑.๒ หลักการเข้าถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เทคนิควิธีที่แยบยล ผู้นำองค์การต้องสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ร่วมงานเป็นเบื้องต้น โดยการ "จับเข่า พูดคุย สร้างความคุ้นเคย"

เพื่อร่วมมือกันทำงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุผลสำเร็จ โดยผู้นำจะต้องเอาตัวเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ร่วมงานในลักษณะ "คุณเอื้อ" "คุณอำนวย" หากมีปัญหาอุปสรรคก็พร้อมที่จะร่วมมือแก้ไข ไม่ใช่หลีกหนีหรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ความรับผิดของผู้ร่วมงาน

๑.๓ หลักการพัฒนา การเข้าถึงปัจจัย เช่น องค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทาง

ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของ "การสร้างคน" วิธีการหรือแนวทางการพัฒนามีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับบริบทของทรัพยากร

๒ หลักการบริหารโดยหลักคิด “S-M-A-R-T”Planning

หลักการบริหารโดยหลักคิด “S-M-A-R-T ผู้จัดทำได้นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในการวางแผนการแก้ปัญหา และพัฒนาโครงการประกอบด้วย

1. Sensible & Specific หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชัดเจน นั่นคือ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

2. Measurable หมายถึง วัตถุประสงค์นั้นต้องสามารถวัดผลได้ นั่นคือในการกำหนด

วัตถุประสงค์ควรพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับการวัดผลด้วย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ทำให้สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใด และผลของการดำเนินการในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร บรรลุผลสำเร็จหรือไม่

3. Attainable & Assignable หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถบรรลุผลและมอบหมายได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรกำหนดไว้สูงเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกท้อแท้เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ นอกจากนี้วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถมอบหมายให้ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้ สามารถนำมาแยกย่อยเป็นกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4. Reasonable & Realistic หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถอธิบายได้ มีความ

สมเหตุสมผลและมีความเป็นจริง ปฏิบัติได้จริง

5. Time Available หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดีต้องเหมาะสมกับห้วงเวลาในขณะนั้น

วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งอาจมีความเหมาะสมกับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เมื่อเวลาเปลี่ยนไปวัตถุประสงค์ข้อนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ 6 ขั้นตอนของการวางแผน มีดังนี้

ขั้นที่ 1 กำหนด “จุดเด่น” (Excellence)

ขั้นที่ 2 กำหนด “ประเด็นยุทธศาสตร์” (Strategic Issue, SI)

ขั้นที่ 3 กำหนด “ภารกิจ” (Mission, M) หรือ “ธง”

ขั้นที่ 4 กำหนด “จุดคอขวด” (Critical Point, CP) หรือ “สนามรบ”

ขั้นที่ 5 กำหนด “ตัวชี้วัด” (KPI) ของ CP

ขั้นที่ 6 กำหนด “ชุดกิจกรรม” (List of Actions, LOA) และ “โครงการ” (Project, P)

๓.หลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม

นิติกรณ์ ฉันท์วงศ์ชนะ(2559) กล่าวว่า ในการบริหารงานขององค์กรใด ๆ นั้น มีรูปแบบอยู่หลายสถานะ สิ่งที่จะส่งผลต่อการเกิดบรรยากาศเพื่อทุกคนและยังไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายที่ต้องการนั้น มีความจำเป็นในทิศทางของการสร้างและสนับสนุน คือ

การพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการที่บุคคลในฐานะต่าง ๆ ต้องก่อความรู้สึกและสร้างแรงกระตุ้นต่อบุคคลอื่น ๆให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ บนพื้นฐานแห่งความที่บุคคลมีความมั่นใจว่าเหตุและผลทางความคิดจะได้รับการสนับสนุน

การริเริ่มลักษณะแห่งพฤติกรรมบุคคล เป็นข้อคิดแห่งการสร้างรูปลักษณ์ของการแสดงออกของบุคคล ลดและขจัดปมความคิดแย้งหรือความขลาดกลัวจากพฤติกรรมบุคคลให้ลดน้อย สร้างความกล้าต่อการแสดงออก

การเปิดโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยน ย่อมเป็นผลดีต่อกลุ่มและบุคคลได้ในระดับกระทำ เพราะโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใด ๆ หรือประสบการณ์มักถูกปิดกั้นด้วยคำสั่งหรือความคิดเบื้องบน การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนย่อมส่งผลต่อเหตุและผลในการพัฒนาความคิดต่าง ๆ ได้

การสนับสนุนแนวความคิดที่สามารถเป็นแบบอย่างได้ ซึ่งการสนับสนุนแนวคิดเหล่านั้นสามารถดำเนินการในทิศทางของงบประมาณหรืออื่นใดเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลแห่งการสร้างสถานะบุคคลให้ไว้วางใจองค์กรให้ความร่วมมือต่อองค์กรได้มาก

สถานการณ์เพื่อการบริหารหรือจัดการ ผู้บริหารต้องคำนึงถึงสถานการณ์ในการจัดการงานด้วยเสมอเพื่อผลสูงสุด การเลือกแบบการบริหารใด ๆ ย่อมส่งผลต่อการมีส่วนร่วมได้ ปัจจุบันการบริหารส่วนใหญ่ มุ่งแบบการมีส่วนร่วมเพราะเป็นการเปิดโอกาสแห่งบรรยากาศการริเริ่มสร้างสรรค์

การมองหาความคิดเฉพาะในส่วนที่ดี เป็นมุมมองของการบริหารที่ต้องการผลสัมฤทธิ์ว่าเมื่อบุคคลใดเสนอแนวคิดเพื่องานแล้วควรได้เห็นความเหมาะสมและทิศทางการเสนอของบุคคลอื่น ๆ ด้วยดี มิใช่มุ่งแนวทางเพื่อความขัดแย้งหรือสร้างฐานการไม่ยอมรับให้เกิดขึ้น

จูงใจให้เกิดการสร้างกระบวนการความคิดให้เกิดในทุกกลุ่มงาน การสร้างแรงจูงใจย่อมเป็นผลต่อบุคคลที่ก้าวมาสู่การต้องการมีส่วนร่วมเสมอหากผลตอบแทนเหล่านี้มีคุณค่าและประโยชน์ต่อตน ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับปฏิกิริยาของบุคคลโดยรวมขององค์กรด้วยว่าจะทำให้ได้เพียงใด

ขั้นของความสำเร็จที่ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมและบุคคลยอมรับอาจ ได้แก่

- การเรียนรู้ในกิจกรรมของตนหรือหน้าที่ของตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นผลต่อความรู้สึกในการอยากรู้ อยากเข้าใจ และอยากเข้าไปมีส่วนร่วม (เป็นการทำการบ้านเพื่อตนเอง)

- สไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล เป็นโอกาสของการเลือกเพื่อให้ตนเองก้าวต่อไปหรือได้รับการสนับสนุน

- ความมีอารมณ์ที่มั่นคง

- การยอมรับจุดอ่อนของตนเอง หรือความบกพร่องต่าง ๆ ของตนเอง

- รู้ตนเอง (จุดแข็งที่มีอยู่หรือศักยภาพของตนเอง)

- มีความคิดเห็นในเชิงทะเยอทะยาน โดยเป้าหมายเป็นจุดน่าทดลองเสี่ยงเพื่อความสำเร็จในงานของตนเอง

- สร้างข่ายงานได้ โดยมีการพึ่งพาต่อกัน ทั้งเพื่อน , ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

- เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มว่ามีขั้นตอนอย่างไร

- เรียนรู้ที่จะเงียบ และ

- ถือสัตย์ เป็นแบบแผนการทำงาน

ผลดีต่อการบริหารจัดการเครือข่าย

1. ทำให้การบริหารหรือการพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหามีความหลากหลายเป็นไปอย่างถี่ถ้วน รอบคอบ เพราะเป็นการระดมแนวคิด จากบุคคลที่มีความหลากหลาย ทั้งความรอบรู้ และประสบการณ์

2. ทำให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้องอันเกิดผลเสียหายแก่เครือข่ายได้

3. เป็นการขจัดปัญหา มิให้การดำเนินนโยบายใด ๆ มีผลต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุติธรรมในการดำเนินการต่อทุกฝ่ายได้

4. ก่อให้เกิดการประสานงานที่ดี ทำให้การบริหารเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ขอความร่วมมือง่าย

5. การรวมตัวกันของบุคคลเป็นเครือข่ายจะก่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และตรงเป้าหมาย โดยทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

๔.การบริหารการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิด

พัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน

1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)

เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)

เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)

เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7. การเรียนรู้ (Learning)

เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง(อติชาติ หาญชาญชัย.2529)

รูปแบบการจัดการความรู้ผ่านระบบ Facebook Application

กระบวนการ การใช้คน/เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ

1. การบ่งชี้ความรู้ - สร้างกลุ่มที่มีชื่อกลุ่มตามประเด็นความรู้อย่างชัดเจน

- รวบรวมสมาชิก สร้างเครือข่ายสมาชิกผ่านกลุ่ม

- กำหนดประเภทของกลุ่ม ลักษณะของประเด็นความรู้

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ - แต่ละคนรวบรวมความรู้เดิม/ใหม่

- ส่งแฟ้มข้อมูล หรือแหล่งคน/สถานที่ หรือสแกนเก็บไว้

- รับ/ส่งความรู้ระหว่างสมาชิก

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - กำหนดผู้รับผิดชอบ หน้าที่ และขั้นตอน

- จัดกลุ่มความรู้ที่ได้มาเป็นกลุ่มในระบบที่สร้างขึ้น

- จัดทำตารางความรู้ที่มีประเภท ชนิด แหล่งที่มา ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ

- ทำ poll เพื่อช่วยในการตัดสินใจของกลุ่ม เป็นเครื่องมือหาข้อยุติ

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ - ทำชั้นความรู้แบบ organization อาจใช้ ppt ช่วยวาดแผนผัง

- กำหนดวิธีจัดเก็บให้ชัดเจน หรือสร้างระบบฐานความรู้

- เรียบเรียงใหม่ให้เป็นระบบที่เข้าใจ และเข้าถึงได้ง่าย

5. การเข้าถึงความรู้ - เผยแพร่ความรู้ในเครือข่ายสังคม

- อยู่ในรูปเว็บเพจ โบว์ชัวร์ รายงาน บทความ คลิ๊ปภาพ คลิ๊ปเสียง

- สร้างระบบสืบค้น กลั่นกรอง และรายงานแบบต่าง ๆ

6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ - กำหนดผู้รับผิดชอบในกระบวนการแลกเปลี่ยน

- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)

- สร้างเวที และนำเสนอผลในเครือข่ายสังคม นำที่ได้กลับเข้าเวที

- ปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย ถูกต้อง สมบูรณ์ แล้วเผยแพร่อีกครั้ง

7. การเรียนรู้ - กำหนดผู้รับผิดชอบระบบความรู้ในระบบต่าง ๆ

- แบ่งปัน Best practice ทั้งในเวที ในการทำงาน และเครือข่ายสังคม

- ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีส่วนร่วม

กระบวนการนำรูปแบบ ลงสู่การปฏิบัติ มีกรอบแนวคิดและหลักการดังนี้

๑.หลักการบริหารที่นำมาใช้ คือ หลักการทรงงานเพื่อพัฒนาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา โดยนำเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการใช้รูปแบบ ทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ สภาพปัจจุบันปัญหา การศึกษารวบรวมข้อมูล การกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา การดกำหนดตัวชีวัดของความสำเร็จ การกำหนดชุดกกิจกรรมในการแก้ปัญหา การจัดทำโครงการ การดำเนินเครงการ และการประเมินโครงการ

๒.หลักการบริการแบบมีส่วนร่วม ผู้จัดทำนำมาใช้ ใน ๔ ขั้นตอน ได้ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล และร่วมปรับปรุงแก้ไข อีกทั้งร่วมภาคภูมิใจในความสำเร็จ

๓.หลักคิด SMART (เมธา สุวรรณสาร.2559)เป็นหลักการที่นำมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนโดยเน้นไปที่การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม และดำเนินโครงการ โดยการใช้หลักการนี้จะนำมาขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ ที่มีในโรงเรียน ให้บรรลุวัตถุประสงเพราะจุดเด่นของหลักคิดนี้มีตัวชี้วัดที่เป็นเป็นรูปธรรมได้

1. Sensible & Specific คือการกำหนดวัตถุประสงค์มีความเป็นไปได้และชัดเจน นั่นคือ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจความหมายได้ตรงกันและปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

2. Measurable เป็นการวัตถุประสงค์นั้นต้องสามารถวัดผลได้ นั่นคือในการกำหนดวัตถุประสงค์ควรพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับการวัดผลด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้ทำให้สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าดำเนินการถึงขั้นตอนใดและผลของการดำเนินการในแต่ละขั้นเป็นอย่างไร บรรลุผลสำเร็จหรือไม่

3. Attainable & Assignabl กำหนดวัตถุประสงค์บรรลุผลและมอบหมายได้ ในการกำหนดวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรกำหนดไว้สูงเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกท้อแท้เพราะทำอย่างไรก็ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ นอกจากนี้วัตถุประสงค์ที่ดีต้องสามารถมอบหมายให้ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้ สามารถนำมาแยกย่อยเป็นกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติตามความรับผิดชอบของตน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

4. Reasonable & Realistic กำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถอธิบายได้ มีความสมเหตุสมผลและมีความเป็นจริง ปฏิบัติได้จริง

5. Time Available กำหนดวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับห้วงเวลาในขณะนั้น วัตถุประสงค์ข้อหนึ่งอาจมีความเหมาะสมกับช่วงเวลาใดเวลาหนี่งเมื่อเวลาเปลี่ยนไปวัตถุประสงค์ข้อนั้นอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

3.ขั้นการดำเนินการพัฒนานวัตกรรม

ผู้จัดทำ ขอนำเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมเรื่อง รูปแบบ (Model)การบริหารการจัดการความรู้(Knowledge Management:KM)เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community Learning:CL ) ดังนี้

กระบวนการพัฒนาการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้(สมองของชุมชน)

e

รูปที่ 3 แสดงกระบวนการพัฒนานวัตกรรมการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนโ

การดำเนินการพัฒนานวัตกรรม

ผู้จัดทำได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบการพัฒนาการบริหารการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนโดยมีวิธีการขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

ผู้จัดทำได้เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการของชุมชน

วิธีดำเนินการ

การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจะนำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา ปัญหา ความต้องการและจำเป็นที่แท้จริงของผู้ที่มีเกี่ยวข้อง โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการศึกษา วิธีดำเนินการด้านบริหารจัดการศึกษา วิธีการเชิงระบบ และการพัฒนาระบบ การประเมินเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนการนำระเบียบวิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินการศึกษา ผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล ที่สำคัญ 4 แหล่ง คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และการสังเกตระบบการบริหารจัดการศึกษา ของโรงเรียนบ้านกอกวิททยา อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสรุปเป็นแนวทางในการการพัฒนาการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน คือ

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2. วางแผนเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

4. สังเกตระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีอยู่เดิม

5. สรุปสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา

6. ตรวจสอบข้อมูลที่ได้

7. สะท้อนผลให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ

2. วางแผนเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นการวางแผนเก็บข้อมูลเพื่อให้ทราบ สภาพปัญหา ความต้องการและจำเป็น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้

3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนบ้านกอกวิทยา โดยดำเนินการดังต่อไปนี้

3.1 การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการจำเป็น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ลักษณะกระบวนการ ที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน และผลลัพธ์ในการพัฒนาระบบการการบริหารจัดการศึกษา โดยจัดกลุ่มสนทนากับผู้เกี่ยวข้อง 2 กลุ่ม ตามแนวคิดของ Stewart and Shamdasani (1990) (อ้างถึงใน ประวิต เอราวรรณ์. 2554) ที่กล่าวถึง ขนาดของกลุ่มสนทนาว่าควรมีจำนวนผู้เข้าร่วมกลุ่มสนทนาอยู่ระหว่าง 6 – 12 คน เพราะถ้ามากกว่า 12 คนแล้ว จะทำให้ควบคุมและดำเนินการสนทนาลำบาก แต่ถ้าหากน้อยกว่า 6 คน อาจจะทำให้ปฏิสัมพันธ์หรือการเคลื่อนไหวภายในกลุ่มมีน้อย ทำให้ไม่ได้ข้อมูลเท่าที่ควรจะเป็น ในการสนทนากลุ่มผู้ศึกษาจึงกำหนดกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน การกำหนดประเด็นสนทนา ได้นำแนวทางมาจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ดำเนินการในข้อที่ 1 มาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการสนทนากลุ่ม

3.1.1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้จัดทำใช้การสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยคู่มือการสนทนากลุ่ม โดยมีโครงสร้างแนวคำถามที่กำหนดไว้ ซึ่งประกอบด้วยคำถามหลัก (Main Questions) และคำถามขยาย (Probe Questions) ที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ของกลุ่มผู้สนทนา และบริบทสภาพจริงของบรรยากาศที่สนทนากลุ่มประเด็นคำถามเกี่ยวข้องกับสภาพปัจจุบันของการบริหาร จัดการศึกษา ของสถานศึกษา ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ลักษณะกระบวนการที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียน และผลลัพธ์ในการพัฒนาระบบการการบริหารจัดการศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการศึกษาของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้ององค์ประกอบและขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา

4.2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้จัดทำดำเนินการสังเกตโดยใช้แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง

4.2.6 การตรวจสอบข้อมูล

ใช้วิธีการตรวจสอบด้านข้อมูลตามแหล่งบุคคลในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ โดยเปรียบเทียบข้อมูลจากการประเด็นเดียวกันของกลุ่มครู และกลุ่มบุคลากรทางการศึกษา

4.2.7 การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปจากการสังเกต โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติ มาหาข้อสรุปเป็นความต้องการ ความจำเป็น และโครงสร้าง ในการพัฒนาระบบ โดยกำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการสังเกตให้คะแนนในระดับการปฏิบัติ ดังนี้

ปฏิบัติ ให้ 1 คะแนน (ช่วงคะแนนระหว่าง 0.51 - 1.00)

ไม่ปฏิบัติ ให้ 0 คะแนน (ช่วงคะแนนระหว่าง 0.00 - 0.50)

ตาราง 1 แสดง

วัน เดือน ปี รายการ แหล่งข้อมูล เครื่องมือที่ใช้

การจัดการข้อมูลจากการศึกษา

เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้ดำเนินการจัดการข้อมูลจากการศึกษาดังนี้

1. จำแนกหมวดหมู่ข้อมูลที่รวบรวมได้ตามประเภทข้อมูลที่มีลักษณะเชิงปริมาณ

(Quantitative Data) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)

2. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้จัดทำได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ระยะคือ

2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยผู้ศึกษาวิเคราะห์ผลทันทีที่รวบรวมข้อมูลได้ เพื่อพิจารณาความเพียงพอและความสมบูรณ์ของข้อมูลที่รวบรวมได้

2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดหลังจากวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว เพื่อทบทวน

ดูความสอดคล้อง และความตรงของข้อมูล เพื่อนำไปสะท้อนผล

2.3 การวิเคราะห์เพื่อสรุปภาพรวมหลังจากสะท้อนผลร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง และเมื่อ

ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของการศึกษาครบแล้ว เพื่อสรุปภาพรวมของการศึกษาและนำผล การวิเคราะห์สรุปเป็นรายงานการศึกษา

3. การตรวจสอบข้อมูลและการยืนยันข้อสรุป ใช้วิธีการดังต่อไปนี้

3.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ ดำเนินการดังนี้

3.1.1 ใช้ตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสังเกต แบบสอบถามต่างๆกับสภาพจริงที่พบที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และนำผลการวิเคราะห์นั้นมาสะท้อนผล

เพื่อพิจารณาร่วมกันว่าสอดคล้องกับความเป็นจริง และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

3.1.2 ใช้การตรวจสอบจากกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่ให้ข้อมูลในประเด็นเดียวกันเพื่อยืนยันความสอดคล้องกันในแต่ละกลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปสะท้อนผลร่วมกัน หากข้อมูลที่ได้ ไม่สอดคล้องกันก็จะมีการอภิปรายและหาข้อสรุปร่วมกัน

3.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการดังนี้

ผู้จัดทำได้ดำเนินการโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเสริมสร้าง

ความตรงในการศึกษาซึ่งเทคนิคที่นำมาใช้ ได้แก่

3.2.1 การใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย เพื่อเปรียบเทียบทรรศนะที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ต่างกันย่อมมีการรับรู้ความจริงที่ต่างกัน

3.2.2 การใช้วิธีการและเทคนิคที่แตกต่างกันเพื่อสำรวจตรวจสอบในหัวข้อเดียวกันเช่น ใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการใช้การตรวจสอบโดยบุคคลในกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน หากตรวจสอบแล้วเห็นขัดแย้งกันก็จะมีการหาฉันทามติ และตรวจสอบบุคคลภายนอกกลุ่มคือผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา

๑.ผู้จัดทำได้จัดทำกระบวนการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมโดยการนำผลการสำรวจสภาพปัจจุบันปัญหา และสภาพความต้องการ ของโรงเรียน และชุมชน มาจัดทำเป็นหมวดหมู่

๒. การกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการพัฒนา โดยใช้หลักของ SMART ได้ว่า

” โรงเรียนบ้านกอกวิทยาดำเนินการบริการจัดการความรู้เพื่อ

เสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียน ได้ภายใน ๑ ภาคเรียน”

๓.การกำหนดตัวชีวัดความสำเร็จ

๓.๑ โรงเรียนสามารถพัฒนาผู้เรียนอย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้ภายใน ๑ ภาคเรียน

๓.๒ โรงเรียนสามารถ ติดตั้งและระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย(WIFI)ความเร็วไม่น้อยกว่า ๑๐ เมกะเฮิร์ท เสร็จสิ้นภาพใน ๑ เดือน

๓.๓ โรงเรียนสามารถ สร้างระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ครอบคลุมความต้องการของนักเรียน และชุมชนให้แล้วเสร็จได้ภายใน ๑ เดือน

๓.๔ โรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมวิทยบริการในลักษณะต่างๆ ถ่ายทอดสู่ชุมชนได้อย่างน้อยเดือนละ ๑๐ องค์ความรู้และเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนภายใน ๑ เดือน

๓.๕ โรงเรียนสามารถจัดตั้งศูนย์วิทยบริการ ภายใน ๑ เดือน

๓.๖ ผู้ปกครองชุมชนร้อยละ ๘๐เข้าร่วมรับความรู้แลกเปลี่ยนความรู้กับทางโรงเรียนและเห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน ๑ เดือน

๓.๗ ชุมชนสามารถจัดตั้งศูนย์วิทยชุมชน จำนวน ๑ แห่ง ได้ภายใน ๑ ปีการศึกษา

๔.การจัดทำโครงการ

โครงการพัฒนาบริหารจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญคือ

กิจกรรมสำคัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย

ติดตั้งและระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (WIFI)ความเร็วไม่น้อยกว่า ๑๐ เมกะเฮิร์ท เพื่อให้โรงเรียนมีระบบสัญญาณเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย สัญญาณความเร็ว ๑๐

เมกะเฮิร์ท เสร็จภายใน ๑ เดิอน

สร้างระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้โรงเรียนสามารถ สร้างระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ครอบคลุมความต้องการของนักเรียน และชุมชน แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน

นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ นักเรียนร้อยละ ๘๐

กิจกรรมวิทยบริการในลักษณะต่างๆ เพื่อให้นักเรียนจัดกิจกรรมวิทยบริการในลักษณะต่างๆ ถ่ายทอดสู่ชุมชน อย่างน้อย ๑๐ องค์ความรู้ ภายใน ๑ เดือน

ศูนย์วิทยบริการ เพื่อให้โรงเรียนมีศูนย์วิทยบริการ จำนวน ๑ แห่งภายใน ๑ เดือน

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ผู้ปกครอง/ชุมชน ร้อยละ ๘๐

ศูนย์วิทยชุมชน เพื่อให้มีศูนย์วิทยชุมชน จำนวน ๑ แห่งภายใน๑ ภาคเรียน

โพสต์โดย ศิริพงษ์ วงศ์สุทธิรัตน์ : [23 ต.ค. 2559 เวลา 12:14 น.]
อ่าน [3711] ไอพี : 223.207.98.102
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 17,387 ครั้ง
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว
ดาวหาง "โฮล์มส" ระเหิดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แล้ว

เปิดอ่าน 20,711 ครั้ง
คลิป "สมรักษ์" แพ้ "จอมโหด"
คลิป "สมรักษ์" แพ้ "จอมโหด"

เปิดอ่าน 26,487 ครั้ง
รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋"
รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋"

เปิดอ่าน 17,676 ครั้ง
คลิปข่าวทุจริตสอบครู จากรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ 10 มี.ค.2556
คลิปข่าวทุจริตสอบครู จากรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ 10 มี.ค.2556

เปิดอ่าน 24,598 ครั้ง
มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ
มารู้จัก Flower Ball กันเถอะ

เปิดอ่าน 12,865 ครั้ง
คุณประโยชน์ต่างๆของผักโดยเฉพาะ
คุณประโยชน์ต่างๆของผักโดยเฉพาะ

เปิดอ่าน 12,513 ครั้ง
ยากับน้ำผลไม้ อันตรายกว่าที่คิด
ยากับน้ำผลไม้ อันตรายกว่าที่คิด

เปิดอ่าน 9,508 ครั้ง
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่
แนวปฏิบัติการจัดทำสัญญาค้ำประกันที่เกี่ยวข้องกับการผ่อนชำระของเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ใหม่

เปิดอ่าน 27,959 ครั้ง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

เปิดอ่าน 7,383 ครั้ง
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"
"ปฏิรูปการศึกษา" ทางรอด "วิกฤติเศรษฐกิจไทย"

เปิดอ่าน 10,646 ครั้ง
สมุนไพรที่ช่วยบรรเทา ไข้หวัดใหญ่‏
สมุนไพรที่ช่วยบรรเทา ไข้หวัดใหญ่‏

เปิดอ่าน 12,248 ครั้ง
คู่มือและแนวทางปฎิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560)
คู่มือและแนวทางปฎิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2560)

เปิดอ่าน 9,811 ครั้ง
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยอย่างไร จึงถูกใจประชาชน โดย ดร.ดำรงค์ ชลสุข

เปิดอ่าน 27,305 ครั้ง
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์

เปิดอ่าน 23,025 ครั้ง
รวมตำนานอิทธิฤทธิ์ ขุนโจรพันธุ์เสือ ตำนานโรบินฮู้ดเมืองไทย
รวมตำนานอิทธิฤทธิ์ ขุนโจรพันธุ์เสือ ตำนานโรบินฮู้ดเมืองไทย

เปิดอ่าน 61,662 ครั้ง
ประวัติ มหาตมะ คานธี
ประวัติ มหาตมะ คานธี
เปิดอ่าน 15,953 ครั้ง
ที่สุดของดาราศาสตร์
ที่สุดของดาราศาสตร์
เปิดอ่าน 9,938 ครั้ง
จุฬาฯ ฉลอง อันดับ 138 มหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลก
จุฬาฯ ฉลอง อันดับ 138 มหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลก
เปิดอ่าน 9,718 ครั้ง
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 9,962 ครั้ง
ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้
ซินโครตรอนพบ! สารสกัดโปรตีนจากดักแด้ไหม ยับยั้งมะเร็งเต้านมได้

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ