การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาระดับปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาระดับปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยและผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบประเมินพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย แบบประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอพียงและแบบรายงานผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ การวิเคราะห์ของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ พัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และความสามารถการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับปฐมวัยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 นอกจากนั้นครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) ตลอดจนครูผู้สอนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบตามแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและนักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการในด้านความสามารถการคิดวิเคราะห์และความสามารถการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
ข้อเสนอแนะ
1. ครูหรือผู้ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นจำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน บริบทชุมชนและสถานศึกษาอย่างละเอียดตรงไปตรงมา ก่อนนำรูปแบบไปใช้จัดกิจกรรมและประสบการณ์
2. ครูหรือผู้ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นควรกำหนดแบบแผนของการใช้รูปแบบ ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของผู้เรียน โรงเรียน และชุมชน
3. ครูหรือผู้ใช้รูปแบบต้องเตรียมตนเองให้พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เวลาและงบประมาณ เนื่องจากกิจกรรมตามรูปแบบนี้ครูหรือผู้ใช้ต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงมีความเป็นกัลยาณมิตรและเสียสละ