ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสาววันวิสา พงษ์รักษา
โรงเรียน ชุมชนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 7
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้เรียนรู้จากแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2559 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 26 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก (Multiple Choice) ประกอบด้วยข้อคำถาม 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 และแบบประเมินความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ประกอบด้วยข้อคำถาม
10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 84.16/83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ 0.7703
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสมทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้น
และมีความพึงพอใจในระดับมากจึงสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม