บทคัดย่อ
โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อเรื่อง สมุนไพรไล่ยุง
ชื่อผู้จัดทำ 1. เด็กหญิงพรชนก เที่ยงธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. เด็กหญิงศิริพร กิตติกานต์กุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3. เด็กชายศุภกิจ สินชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา นายธีระศักดิ์ แสงศรีจันทร์
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์) อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
บทคัดย่อ
โครงงานสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาอัตราส่วนและกลิ่นที่เหมาะสมของสมุนไพรจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอม ต่อปริมาณแอลทิลแอลกอฮอล์ในการไล่ยุง ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอม ในการไล่ยุง และสำรวจ ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการใช้สารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอม
ผลปรากฏว่าสารสกัดสมุนไพรใบโหระพา ตะไคร้หอม และผิวมะกรูด ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงแตกต่างกัน อัตราส่วนที่เหมาะสม คือ สารสมุนไพร 20 กรัม : แอลทิลแอลกอฮอล์ 100 ลบ.ซม. จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และ ตะไคร้หอมในการไล่ยุง แสดงให้เห็นว่าสารสมุนไพรที่ไล่ยุงได้ดี ได้แก่ ตะไคร้หอม ผิวมะกรูด ใบโหระพา ตามลำดับ ภายในเวลา 2 ชั่วโมง และจากการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการใช้สารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอมในการไล่ยุง ในการไล่ยุง ทั้ง 3 สูตร พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการใช้สารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอมในการไล่ยุง ทั้ง 3 สูตร สูตรที่ 1 (ใบโหระพา) อยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.33 สูตรที่ 2 (ตะไคร้หอม) อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 สูตรที่ 3 (ผิวมะกรูด) อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.11 การสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการใช้สารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอมในการไล่ยุง พบว่าความพึงพอใจของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีต่อการใช้สารสกัดจากใบโหระพา ผิวมะกรูด และตะไคร้หอมในการไล่ยุง มีความพึงพอใจในโครงงานสมุนไพรไล่ยุง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.35