บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ จำนวน ๓ ชุด ๒) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน ๑๙ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน ๓๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ จำนวน ๑๒ ข้อ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๘ คน ที่ผู้รายงานเป็นผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ ๘๕.๒๙/๘๑.๙๔
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๖.๕๕ คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๗๗ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๔.๓๘ คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๙๔ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๗.๘๓ คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๑๗
๓. ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ โดยภาพรวม
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๙๘ อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
จากระดับค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านวังสำราญ พบว่า ข้อที่ ๒ รูปแบบของนวัตกรรมมีความสอดคล้องกับคุณลักษณะตามคุณธรรม ๘ ประการในการทำงาน ข้อที่ ๕ ครูมีสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาที่จัดการเรียนรู้ ข้อที่ ๕ ครูมีสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาที่จัดการเรียนรู้ และข้อที่ ๘ การฝึกปฏิบัติและการปฏิบัติจริง ครูจะคอยกำกับและให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน โดยทั้ง ๒ ข้อมีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ดังนั้นครูควรพิจารณาปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัยของผู้เรียน และเพิ่มการฝึกปฏิบัติจริง โดยมีครูคอยกำกับและให้คำปรึกษาแก่นักเรียนให้มากขึ้น