ชื่อผู้ศึกษา นางสาวศุภารัตน์ นันตะริ โรงเรียนบ้านโนนสำราญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสำราญ ตำบลโนนสำราญ อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา ที่เรียนวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p)
ระหว่าง 0.25 0.75 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.38 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาไทยและใช้การทดสอบค่าที
(t-test for dependent samples) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลจากการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 85.94/86.67 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง การสร้างคำในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในภาษาไทย โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจ ต่อแบบฝึกทักษะภาษาไทย เท่ากับ 4.73 หมายถึง นักเรียนมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด