บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานผลการพัฒนาและศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผู้ศึกษา นางวงษ์ตะวัน หล้าล้ำ
สถานศึกษา โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓
ปีการศึกษา ๒๕๖๐
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ (๒) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ (๓) เพื่อประเมินความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างเพื่อการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ คือ (๑) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓ คน ใช้สำหรับการทดสอบทีละคน (One to One Testing) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๖ คน ใช้สำหรับการทดสอบกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) และ (๒) กลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะและประเมินความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบภาคสนาม (Field Testing) คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๒๓ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ (๑) แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๙ เล่ม (๒) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๗ แผน (๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ๓ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ (๔) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละเล่ม และ (๕) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าประสิทธิภาพ (x- ) ของแบบฝึกเสริมทักษะตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
๑. แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.53/87.50 ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้
๒. ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ประกอบด้วย
๒.๑ แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ (E1/E2 ) เท่ากับ 85.53/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๒.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๒.๓ ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒โดยภาพรวมมีค่าเท่ากับ ๐.๖๕๐๑ แสดงว่า นักเรียนมีอัตราความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น ๐.๖๕๐๑ หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๕.๐๑
๓. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๔ โรงเรียนกาบเชิงมิตรภาพที่ ๑๙๐ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนคำยากตามบัญชีคำพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ อยู่ในระดับพอใจมาก