ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด
ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นายธีระรัตน์ คันธิวงศ์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนวัดหญ้าไทร (ราษฎร์ประสิทธิ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน 26 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ผู้รายงานเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะ จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ ค่า t-test (t test for dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า (1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.89/86.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80 (2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.6916 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.16 และ (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01