รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์
ชื่อผู้ศึกษาจิราภาปลัดกองวัน
สถานศึกษาโรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2
ปีการศึกษา2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2560
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านห้วยต้มชัยยะวงศาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2 จำนวนนักเรียน 34 คน ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 16 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-testและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ86.01/87.45ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 18.29 คิดเป็นร้อยละ 60.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.61 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 26.24 คิดเป็นร้อยละ 87.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.39 พบว่าหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 26.47 และค่าt-test เท่ากับ 23.16 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวัสดุแสนอัศจรรย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในระดับมาก (= 4.47)