การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด 9 ชุดกิจกรรม 2) คู่มือประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งแต่ละคู่มือประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนรู้จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ทั้งหมด 9 คู่มือ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น0.81 และแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น0.83 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - test) แบบ Dependent และประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/ E2 = 88.30/86.30 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านสาระการเรียนรู้ และ ด้านการวัดและประเมินผล ซึ่งทั้งสี่ด้านนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก