ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางปิ่นอนงค์ พะนิจรัมย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
ระยะเวลา พฤศจิกายน 2559 - มีนาคม 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ นักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ปราชญ์ท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำท้องถิ่น จำนวนกลุ่มละ 5 คน รวม 30 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ นักเรียน 30 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างหลักสูตร ระยะที่ 2 การใช้หลักสูตร ระยะที่ 3 การประเมินหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตร แบบทดสอบ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนแบบมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1) การสร้างหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่อง การทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการผลการประเมินเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 แสดงว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก เวลา 20 ชั่วโมง ที่มีองค์ประกอบชัดเจน ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร วิสัยทัศน์ ภารกิจ หลักการ เป้าหมาย คุณลักษณะที่พึงประสงค์ โครงสร้าง เวลาเรียน คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้นี้เป็นรายวิชาและกิจกรรมบูรณาการ ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ มีรายละเอียดของเนื้อหาสาระในการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ความเป็นมาและคุณค่าเสื่อกก 2) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปรรูปต้นกก 3) การสืบทอดลวดลายเสื่อกก 4) การออกแบบ 5) โครงงานผลิตภัณฑ์เสื่อกก และ 6) สืบสานและพัฒนาเสื่อกก
2) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 86.06/93.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 80/80
3) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน
4) ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกกหนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยโรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานด้านการศึกษา การพัฒนาคุณภาพนักเรียน และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างจริงใจ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับคน โดยเฉพาะกลุ่มปราชญ์ท้องถิ่น และผู้สูงอายุ ในส่วนประเด็น และเนื้อหาสาระการฝึกปฏิบัติ และงานอาชีพที่เป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
โดยสรุปจากการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น เรื่องการทอเสื่อกก
หนองหัวคู สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
มีการพัฒนาผลการเรียนรู้รอบด้านทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย มีความภาคภูมิในผลงาน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกก ชุนชนมีส่วนร่วมและให้ความร่มมือเป็นอย่างดีในการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนและตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นประสบผลสำเร็จและเป็นที่ยอมรับของชุมชน