ผู้วิจัย นางสาวสุพรรษา สารพล
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ที่ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน คือชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/1 จำนวน 38 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผนการจัดการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดค่าคะแนนเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพที่ 81.81/82.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) เท่ากับ 0.66
2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 S.D. = 0.15
กล่าวโดยสรุป แผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีสอนตามแนวคิดของ Polya เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ได้