ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative English) อดุลย์ กองทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Communicative English)

อดุลย์ กองทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

บทนำ

แนวคิดทฤษฎีการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ (English as a Second Language or English as a Foreign Language) ทั่วโลกในปัจจุบันให้ความสำคัญเกี่ยวกับสมรรถนะทางการสื่อสาร (Communicative Competency) การจัดการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนภาษาสามารถใช้ภาษาสื่อสารในสังคมโลกได้จริง พัฒนาผู้เรียนภาษาให้มีความรู้หลักภาษา (Form) ควบคู่กับการใช้ภาษาสื่อสาร (Use) ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) และการทำงานร่วมกันเป็นทีม (Collaboration and Team Work) การสอนภาษาที่เน้นภาระงาน (Task-Based Instruction) นับเป็นแนวการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาสื่อสารอย่างมีความหมาย มีทักษะคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อทำกิจกรรมหรือชิ้นงานให้สำเร็จ ช่วยให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้และทักษะภาษาที่ใช้ในสถานการณ์สื่อสารจริง ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ขึ้นเองจากการเรียนตัวภาษาและการใช้ภาษาในสถานการณ์สื่อสารได้เหมาะสม ผ่านกิจกรรมสื่อสารที่หลากหลาย (Communicative Activities) การสอนภาษาที่เน้นภาระงานนับเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับความจำเป็นในสังคมปัจจุบันที่ต้องการพัฒนาคนไทยให้มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศสอดรับกับแนวคิดการพัฒนาประเทศในยุค Thailand ๔.๐ (สมบัติ คชสิทธิ์ และคณะ, ๒๕๖๐)

ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่คนทั้งโลกใช้ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งประเทศอาเซียน ASEAN ก็ใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร (กรมอาเซียน, ๒๕๕๕) ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่ถึงแม้จะมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารกับนานาชาติ ในทุกด้าน จึงเป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้กับคนไทย โดยเฉพาะกับเด็ก (อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด, ๒๕๖๑) ปี ๒๕๕๗ กระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศเรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้โดยเน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๗) ในปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่สถานศึกษาและครูผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาเซียนศึกษาให้กับนักเรียนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจการเมือง สังคมและวัฒนธรรมประเพณีของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อให้ประชากรไทยมีความพร้อมสำหรับอนาคตและก้าวไปข้างหน้าให้เท่ากันกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในประชากรอาเซียนด้วยกัน ปัจจัยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนคือ การสร้างเสริมการใช้ภาษาอังกฤษโดยที่กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของการทำงาน (กฎบัตรอาเซียน) ทั้งนี้เพื่อให้ประชากรของประชาคมอาเซียนสามารถติดต่อสื่อสารได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังเป็นการที่จะทำให้ประชาคมอาเซียนสามารถมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในเวทีระหว่างประเทศที่กว้างออกไปอีกด้วย (สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๔ : ๑ - ๒๘)

รูปแบบการจัดรูปแบบการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา

Dubin and Elite (๑๙๙๑), Krahnke (๑๙๘๗) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษ ได้จัดรูปแบบการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา ๗ แบบ ดังนี้

(๑) หลักสูตรที่เน้นโครงสร้างและไวยากรณ์ (Structural Grammar Syllabus) หรือ หลักสูตรภาษาศาสตร์ประกอบด้วยหัวข้อไวยากรณ์ต่างๆ เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ประโยคคำถาม เป็นต้น

(๒) หลักสูตรที่เน้นความหมายและการสื่อความหมาย (Semantic-Notional Syllabus) เนื้อหาภาษาที่นำมาสอนในหลักสูตรนี้คือ การใช้ภาษาตามหน้าที่และการสื่อสารความหมาย ตัวอย่างหน้าที่ภาษาได้แก่ การให้ข้อมูล การตกลง การขอโทษตัวอย่างการสื่อความหมาย ได้แก่ การบอกขนาดอายุ สี การเปรียบเทียบ การบอกเวลา เป็นต้น

(๓) หลักสูตรที่เน้นหน้าที่ของภาษา (Functional Syllabus) ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรที่พัฒนาควบคู่กับหลักสูตรที่เน้นความหมายและการสื่อความหมาย และเกิดการผสมผสานกันในบางครั้ง หลักสูตรแบบนี้เน้นหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในสังคม เช่น การใช้ภาษาในการแนะนำ ต้อนรับ เชื้อเชิญขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น (Wilkins, ๑๙๗๖)

(๕) หลักสูตรที่เน้นทักษะ (Skill-Based Syllabus) เนื้อหาที่นำมาสอนในหลักสูตรนี้จากการรวบรวมทักษะเฉพาะที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้ภาษา ทักษะในที่นี้ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการใช้ภาษา การใช้ทักษะต่าง ๆ นี้เน้นความสามารถทางภาษาศาสตร์ เช่น การออกเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ และข้อความต่อเนื่องโดยรวบรวมทักษะการใช้ภาษาแล้วนำมาจัดรูปแบบพฤติกรรมได้แก่ การฟัง ภาษาพูด การพูดเพื่อนำเสนอข้อมูล เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการสอนคือการเน้นทักษะเฉพาะด้าน ส่วนจุดประสงค์รองคือพัฒนาความสามารถทั่วไปในการใช้ภาษาและการเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ ในขณะฝึกทักษะทางภาษา

(๖) หลักสูตรที่เน้นงานปฏิบัติ (Task-Based Syllabus) เนื้อหาที่นำมาสอนในหลักสูตรนี้คือจำนวนงานที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติโดยใช้ภาษาเป็นสื่อ งานที่นำมาให้ปฏิบัติต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนงาน (Task) ในที่นี้หมายถึงกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายมากกว่าการเรียนภาษาโดยทั่วไป การเน้นงานปฏิบัติมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนใช้สิ่งที่มีหรือที่จัดหาไว้แล้วช่วยในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ โดยผู้เรียนมีโอกาสเลือกใช้ภาษาได้หลายรูปแบบหลายหน้าที่หลายทักษะอย่างเป็นอิสระ และไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า ตัวอย่างงานที่นำมาสอน ได้แก่ การสมัครงาน การพูดคุยกับบุคคลอื่น การหาข้อมูลทางโทรศัพท์เป็นต้น การสอนแบบนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการสื่อสารและกระบวนการทางปัญญา

(๗) หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา (Content-Based Syllabus) จุดประสงค์ที่สำคัญของหลักสูตร คือการเน้นเนื้อหาหรือข้อมูลทางภาษาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภาษาในขณะที่ได้รับเนื้อหาวิชาด้วย เนื้อหาวิชาเป็นจุดประสงค์หลักในการสอน ส่วนการเรียนภาษาเป็นเป้าหมายรองลงไป ไม่มีการจัดเนื้อหาในการสอนภาษา สิ่งที่เน้นคือข้อมูลจากเนื้อหาวิชา ตัวอย่างหลักสูตรคือ การสอนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ภาษาที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้

ขั้นตอนการสอนแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Teaching Stages) ประกอบด้วย

๑. ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation)

การนำเสนอเนื้อหาให้มาจัดเป็นขั้นการสอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนรับรูและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายรูปแบบภาษา การออกเสียง คำศัพท์ โครงสร้างทางไวยกรณ์ดำเนินการไดตามผัง ดังนี้

Lead–in →Elicitation→Explanation→Repetition→Memorization of Linguistics Models

Figure ๑ : Presentation Stage

การนำเข้าสู่เนื้อหา (Lead – In) ผู้สอนเสนอบริบทหรือสถานการณ์แก่ผู้้เรียนโดยใช้ภาพ แผนที่ คำศัพท์รูปประโยค เรื่องที่เล่าให้ฟัง สำนวน รูปแบบภาษา โดยให้ผู้เรียนได้ฟัง พูด ตามแบบการดึงความรู้เดิม (Elicitation) ผู้สอนตั้งคำถาม ๒ – ๓ คำถาม เพื่อตรวจสอบความรูผู้เรียนมีมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้เรียนตอบไดหรือบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องไดก็ไมจำเป็นต้องเสียเวลากับการนำเสนอเนื้อหามากนักการอธิบาย (Explanation) อธิบายเนื้อหาทางภาษาที่จำเป็นเสนอรูปแบบการใช้ภาษาที่หลากหลาย(Function) วิธีใช้ความหมายการอ่านออกเสียงซึ่งนำไปสูขั้นตอนการจดจำ

๒. ขั้นการฝึก (Practice)

ผู้เรียนฝึกการใช้ภาษาที่เริ่มเรียนรูใหม่ด้วยการฝึกแบบควบคุม (Controlled Practice) ผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึกเน้นให้ผู้เรียนจดจำรูปแบบของภาษา ความถูกต้องของภาษา ทำความเข้าใจความหมายวิธีการใช้การฝึกนี้เริ่มต้นการฝึกแบบกลไก (Mechanism) เช่น เริ่มการฝึกปากเปล่า (Oral) เป็นการพูดอย่างง่าย ๆ ก่อนจนได้รูปแบบภาษาหรือโครงสร้าง (Structural Exercises) ทำซ้ำ ๆ ตามตัวอย่างจดจำและนำไปใช้ตามรูปแบบจนเกิดความคล่องเป็นอัตโนมัติ (Automatism) จากนั้นจึงฝึกแบบกลุ่มย่อย หรือ ฝึกทีละคน เชื่อมโยงประโยค ฝึกพูดสนทนา (Micro Dialogue) สถานการณ์เหล่านี้จะเป็นสถานการณ์ที่สร้างขึ้นภายในห้องเรียนเพื่อฝึกการใช้โครงสร้างประโยคตามบทเรียนต่อจากนั้นจึงฝึกด้วยการเขียน (Written) เป็นการผนึกความม่นยำในการใช้ฝึกสังเกต และฝึกการเชื่อมโยงความสัมพันธ์จนถึงการเขียนตามคำบอก

Oral Practice → Written Practice → Cohension → Composition Oral → Dictation

Figure ๒ : Practice Stages

๓. ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production)

การฝึกขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด เพราะการฝึกนี้เปรียบเสมือนตัวกลางที่เชื่อมโยงการเรียนรูภาษาในชั้นเรียนกับการนำภาษาไปใช้จริงนอกห้องเรียนมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยผู้สอนเป็นเพียงผู้กำหนดสถานการณ์ชี้แนะแนวทาง และช่วยเหลือเท่านั้นกิจกรรมการใช้ภาษาในขั้นนี้ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ (Role play) การแสดงในสถานการณ์จำลอง (Simulation) เพื่อแก้ปัญหาที่ผู้เรียนไม่สามารถนำความรู้ในชั้นเรียนไปใช้ภายนอกได้ และเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติในสถานการณ์ต่าง ๆ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจึงมักใช้สื่อซึ่งเป็นของจริง (Real Materials) เช่นบทความ โฆษณา ข่าววิทยุ โทรทัศน์ การพยากรณ์อากาศ เมนูอาหาร ตารางเวลา สภาพดินฟ้าอากาศ ด้วยการอภิปราย (Discussion) เขียนความเรียง (Composition) ขั้นตอนการสอนทั้ง ๓P ใช้สำหรับ การส่งสาร (Productive Skill) คือ ทักษะการพูดและการเขียน และการรับสาร (Receptive Skill) คือ ทักษะการฟังและการอ่าน

ที่มา : สุชาดา โภชนสมบูรณ์ (๒๕๔๙)

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น ครูขาดทักษะ การสอนขาดทักษะการคิด การสื่อสารของครูในชั้นเรียน ครูไม่กล้าพูดเป็นภาษาอังกฤษ ขาดทักษะกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนซึ่งครูอาจจะจบไม่ตรงสาขาที่ทำการสอนโดยเฉพาะเนื้อหาบางเรื่องนั้นยากส่งผลให้นักเรียนไม่เข้าใจและขาดเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ถึงแม้การเรียนการสอนจะมีเทคนิค กระบวนการรวมทั้งกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ มีอุปกรณ์การเรียนการสอน จูงใจให้ผู้เรียนรักการเรียนเน้นการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสาร (The Communicative Approach) เด็กไทยก็ยังไม่สามารถ นำภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์ในสภาพความเป็นจริงได้ สาเหตุหนึ่ง คือ สภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเรียน การสอนภาษาอังกฤษ สังคมไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน เมื่อนักเรียนฝึกพูดภาษาอังกฤษที่โรงเรียนแล้วพอกลับบ้าน ก็ไม่ได้ใช้จึงขาดความต่อเนื่อง (กรมวิชาการ, ๒๕๔๒ ก : ๑) ส่งผลให้นักเรียนไม่เข้าใจ จำประโยคที่ต้องพูดไม่ได้จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำโดยเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นต้องเตรียมตัวเข้าสอบวัดผลระดับชาติหรือการสอบ O – NET นั้น สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ที่นำมาออกข้อสอบมากคือ สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ด้วยเหตุผลนี้ ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาทั้ง ๔ ด้านคือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านภาษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (เศรษฐพัส สุวรรณแสนทวี และคณะ, ๒๕๕๙)

เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่น่าสนใจอีกอย่างคือ การสอนแบบทีม หรือ Team Teaching เป็นการทำงานร่วมกันของครูผู้สอน ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปร่วมกันออกแบบบทเรียนเริ่มตั้งแต่การเคราะห์หลักสูตรรายวิชา การวิเคราะห์หัวข้อหลัก การวิเคราะห์หัวข้อรอง การวิเคราะห์ระดับความรู้และทักษะ การวิเคราะห์จุดประสงค์ การสร้างเนื้อหา การกกำหนดวิธี การสอน การสร้างสื่อการสอน การสร้างแบบประเมินผล การวางแผนการสอนทำงานร่วมกันและความรับผิดชอบกาใน การเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกันทั้งกระบวนการ ผู้สอนอาจเลือกวิธีสอนใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการเรียนการสอนการสอนแบบทีมจะประกอบไปด้วยหัวหน้าทีม (Team Leader) ผู้ร่วมทีม ได้แก่ ครู /อาจารย์อาวุโส (Senior Teacher) ครู/อาจารย์ประจำ (Master Teacher) และครู/อาจารย์ช่วยสอน (Co-operative Teacher) การสอนเป็นคณะนั้น

มีประโยชน์หากจะนำมาใช้ในสถานศึกษาประโยชน์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของผู้สอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยนำเอาศักยภาพของผู้สอนแต่ละคนออกมาใช้ให้มากที่สุด (YorkBarr,J. et al, ๒๐๐๗)

บทสรุป

สภาพการณ์จริงของการจัดการเรียนสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาในปัจจุบัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยเอื้อหรือปัจจัยสนับสนุนปัจจัยเชิงอุปสรรคซึ่งทั้ง 2 ปัจจัย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครองต่างมีบทบาทเกี่ยวข้องแต่สามารถนำมาส่งเสริม สนับสนุน พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษานับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบัน เพราะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นและการพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในยุคของประเทศไทย ๔.๐

ซึ่งการสอนจะต้องเป็นการบูรณาการทักษะต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กัน ผู้เรียนจะต้องรู้จุดประสงค์และเป้าหมายที่แน่นอนและครูจะต้องจัดกิจกรรมและบรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อกระบวนการการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ภาษาให้มากที่สุด

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการ. วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : กองวิจัยทางการศึกษา, ๒๕๔๒.

กรมอาเซียน. ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ, ๒๕๕๕.

กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารการสร้างประชาคมอาเซียน ๒๕๕๘. กรุงเทพฯ : สำนักความสัมพันธ์

ระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์สำนักงาน

รัฐมนตรี, ๒๕๕๔.

เศรษฐพัส สุวรรณแสนทวี. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและ

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CLT และแบบ TPR. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ ๒๒

ฉบับพิเศษ : กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙.

สมบัติ คชสิทธิ์ และคณะ. การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND ๔.๐.

วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒

พฤษภาคม- สิงหาคม ๒๕๖๐.

สุชาดา โภชนสมบูรณ์. ผลของการสอนตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่มีต่อทักษะ

ทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ ๕ โรงเรียนวัดยางสุทธาราม.

เขตบางกอกนอย กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๙.

อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา.

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มิถุนายน

๒๕๖๑.

Dubin, F and Elite, O. (๑๙๙๑). Course Design Developing Program and Materials for

Language Learning Fitthprinting. Cambridge University Press.

Krahnke, k. (๑๙๘๗). Approaches to Syllabus Design for Foreign Language Teaching.

New York: Prentice Hall.

York-Barr, J., Ghere, G., & Sommerness, J. Collaborative Teaching to Increase ELL

Student Learning : A three-Year Urban Elementary Case Study. Journal of

Education for Students Placed at Risk, ๑๒(๓), ๒๐๐๗ : ๓๑๗.

โพสต์โดย daeng : [21 ก.พ. 2562 เวลา 06:24 น.]
อ่าน [6013] ไอพี : 182.53.96.202
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 36,373 ครั้ง
ประณีตศิลป์ไทย
ประณีตศิลป์ไทย

เปิดอ่าน 29,128 ครั้ง
ครูให้การบ้านแต่งโคลงสี่สุภาพ นร.ออกมาเป็นมินเนี่ยน... !?
ครูให้การบ้านแต่งโคลงสี่สุภาพ นร.ออกมาเป็นมินเนี่ยน... !?

เปิดอ่าน 22,862 ครั้ง
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่

เปิดอ่าน 49,927 ครั้ง
การทักทาย (Response) การตอบ
การทักทาย (Response) การตอบ

เปิดอ่าน 9,542 ครั้ง
สารอาหาร ที่เซลล์มะเร็งต้องการ
สารอาหาร ที่เซลล์มะเร็งต้องการ

เปิดอ่าน 13,810 ครั้ง
วิธีลับในการหาข้อมูลจาก Google
วิธีลับในการหาข้อมูลจาก Google

เปิดอ่าน 7,490 ครั้ง
ปัญหาอมตะครูไทย เร่งแก้ก่อนการศึกษาดำดิ่ง
ปัญหาอมตะครูไทย เร่งแก้ก่อนการศึกษาดำดิ่ง

เปิดอ่าน 6,125 ครั้ง
ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย มีระบบใดบ้าง?
ระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย มีระบบใดบ้าง?

เปิดอ่าน 36,814 ครั้ง
Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)
Why Do We Get Goose Bumps? (ทำไมเราจึงเกิด อาการขนลุก)

เปิดอ่าน 10,160 ครั้ง
อย่าแตกตื่น เสียงลือ! 22 ก.ค. ตะวันดับ สึนามิ ถล่มเอเชีย?
อย่าแตกตื่น เสียงลือ! 22 ก.ค. ตะวันดับ สึนามิ ถล่มเอเชีย?

เปิดอ่าน 21,947 ครั้ง
เหรียญราชการชายแดน
เหรียญราชการชายแดน

เปิดอ่าน 9,534 ครั้ง
เปิดศักราช 2559 ต้อนรับ "AEC" จุดเปลี่ยนอาเซียนสู่ก้าวใหม่ "ค้าบริการ-นวัตกรรม"มาแรง
เปิดศักราช 2559 ต้อนรับ "AEC" จุดเปลี่ยนอาเซียนสู่ก้าวใหม่ "ค้าบริการ-นวัตกรรม"มาแรง

เปิดอ่าน 14,040 ครั้ง
เคล็ดลับในการเริ่มบทสนทนาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจกับเจ้าของภาษาที่ใครๆ ก็ทำได้
เคล็ดลับในการเริ่มบทสนทนาภาษาอังกฤษที่น่าสนใจกับเจ้าของภาษาที่ใครๆ ก็ทำได้

เปิดอ่าน 13,967 ครั้ง
DLIT รวมชุดสื่อการสอนเรื่อง "ไข้เลือดออก" ไว้ให้แล้ว ครูใช้สอนนักเรียนได้เลย
DLIT รวมชุดสื่อการสอนเรื่อง "ไข้เลือดออก" ไว้ให้แล้ว ครูใช้สอนนักเรียนได้เลย

เปิดอ่าน 11,009 ครั้ง
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป

เปิดอ่าน 12,201 ครั้ง
"กะเพรา" ราชินีสมุนไพร โบราณเชื่อช่วยให้อายุยืน
"กะเพรา" ราชินีสมุนไพร โบราณเชื่อช่วยให้อายุยืน
เปิดอ่าน 17,052 ครั้ง
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว
วิธีการพับเสื้อยืดอย่างรวดเร็ว
เปิดอ่าน 10,844 ครั้ง
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
ทำไมต้องตีเส้นซิกแซ็กก่อนถึงทางม้าลาย
เปิดอ่าน 12,870 ครั้ง
คลิปการทำให้เสื้อที่ซักเรียบเหมือนรีด ด้วยน้ำแข็งเพียง 3ก้อน
คลิปการทำให้เสื้อที่ซักเรียบเหมือนรีด ด้วยน้ำแข็งเพียง 3ก้อน
เปิดอ่าน 17,353 ครั้ง
จัดฮวงจุ้ย . . . รับโชคปี 52 สู้วัวกระทิงเลือด
จัดฮวงจุ้ย . . . รับโชคปี 52 สู้วัวกระทิงเลือด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ