ชื่อเรื่อง : รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : นายธงชัย เหมเกียรติกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนา บุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ การวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) ประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 20 คน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 19 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 16 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษาและนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 3 คน 2) กลุ่มครู ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่ม และ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ซีทีเออีอาร์ดี (CTAER Model) มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คือ การพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องพัฒนา โดยใช้วิธีการฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติ และกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Classifying : C การแบ่งระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติและความต้องการ เพื่อจัดกลุ่มครู ในการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 2 Training: T การฝึกอบรมให้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ สำหรับครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน ที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหา ได้แก่ 2.1 การพิจารณาความจำเป็นของการฝึกอบรม 2.2 การวางแผนฝึกอบรม 2.3 การดำเนินการฝึกอบรม 2.4 การประเมินผลการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 Action: A การปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการ ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 4 Evaluation: E การประเมินผลการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครู ขั้นตอนที่ 5 Reflection: R การสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูไปยังตัวครู ผู้บริหารและครูพี่เลี้ยง ขั้นที่ 6 Diffusion : D การเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียน
2. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่าซีทีเออีอาร์ (CTAER Model) พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 1.00
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้ 3.1 สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด 3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน 3.3 ความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก 3.4 ความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า ครูผู้ทำการวิจัยมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก 3.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด
3.6 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัย พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน