ชื่อเรื่อง : การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ เพื่อส่งเสริม
การคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : กรณิการ์ มะธุระ
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80.2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.3).เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ภาคเรียนที่.1.ปีการศึกษา 2560.จำนวน.36.คน.โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster.Random.Sampling).โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 8 เล่ม คู่มือการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.3.แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating.Scale).ชนิด.5.ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert).จำนวน 10.ข้อ จำนวน.1.ฉบับ.สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ คือ.ค่าร้อยละ.ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ.(t-Dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.65/82.96
2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน.นิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.67 แสดงว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านนิทานคำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน นิทาน คำกลอนสอนใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก