ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
(5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านควนนกหว้า
ผู้วิจัย นางสุธาดา เพ็งแก้ว
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านควนนกหว้า อำเภอปากพะยูน
จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พัทลุง เขต 2
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนนกหว้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนนกหว้า (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนนกหว้า (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนนกหว้า กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561โรงเรียนบ้านควนนกหว้า อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านควนนกหว้า แบบประเมินวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ค่า t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
(5E) มีค่าเท่ากับ 85.99/83.93 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ตามสมมุติฐาน
2. ผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ร่วมกับวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) มีอยู่ในระดับมาก