บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวประทินรัตน์ อัตตะสาระ
หน่วยงาน โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอ่างทอง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2561
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ของนักเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 46 คน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI (E1/E2) ค่าเฉลี่ย (x - bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติค่าที (t test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.20/89.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI อยู่ในระดับมากที่สุด