ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม ด้วยรูปแบบการประเมิน
แบบ CIPP MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม 3 อำเภอพุนพิน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ประเมินโครงการ นายไกรศร แก้วหอด
ปีที่ศึกษา 2561
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการเรือนเพาะชำคุณธรรม ด้วยรูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ของโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม 3 อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1). เพื่อประเมินผลด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการ ได้แก่ การประเมินจุดมุ่งหมาย สภาพความต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความจำเป็น (2) เพื่อประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการ ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับเอกสารวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และบุคลากรในการดำเนินโครงการ (3) เพื่อประเมินผลด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับการวาง แผนการจัดการและกิจกรรมในการดำเนินโครงการ และ (4) เพื่อประเมินผลด้านผลลัพธ์ (Product) ของโครงการ ได้แก่ การประเมินผลงานหรือการบรรลุ เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม 3 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 273 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 6 จำนวน 125 คน ผู้ปกครองจำนวน 125 คน และครูจำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 3 ฉบับประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับนักเรียน แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง และแบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินสรุปได้ว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ได้แก่ การประเมินจุดมุ่งหมาย สภาพความต้องการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความจำเป็นตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับเอกสารวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และบุคลากรในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ได้แก่ การประเมินเกี่ยวกับการวาง แผนการจัดการและกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Product) ได้แก่ การประเมินผลงานหรือการบรรลุ เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด