ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมศิลปศึกษาและดนตรี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประติมากรรมรูปเคารพ


ศิลปศึกษาและดนตรี เปิดอ่าน : 18,704 ครั้ง
Advertisement

ประติมากรรมรูปเคารพ

Advertisement

ประติมากรรมรูปเคารพ โดย นายสุรศักดิ์ เจริญวงศ์
          ประติมากรรมรูปเคารพ เป็นงานศิลปกรรมเพื่อแสดงความเชื่อทางศาสนา เป็นหลักใหญ่ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เป็นการรับใช้พระพุทธศาสนาในทางศิลปะด้วยงานศิลปกรรม เนื่องจาก สังคมไทย  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธ-ศาสนาอย่างลึกซึ้ง และมีมานานก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงปัจจุบัน จึงเชื่อคำสั่งสอนของพุทธศาสนาอย่างฝังใจ  ได้แก่ เชื่อในพระรัตนตรัยเชื่อในการกระทำของมนุษย์ว่า ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในความจริง ตลอดจนเชื่อความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารต่างๆ รูปแบบของประติมากรรมจึงเป็นรูปทรงแห่งวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นสิ่งแทน เป็นสิ่งพรรณนาความรู้สึกอุดมคติ และความเชื่อที่เป็นนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรม

          อาจแบ่งประติมากรรมรูปเคารพตามลักษณะของการแสดงออกได้   ๒  ประเภทคือประติมากรรมรูปคน และประติมากรรมรูปสัญลักษณ์

ประติมากรรมรูปคน
          ในประเทศไทยพบประติมากรรมรูปคนที่เป็นรูปเคารพตามคติทางศาสนาต่างๆ คือ เทวรูปในศาสนาฮินดู พระ-พุทธรูป และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายานและพระพุทธรูปในพุทธศาสนาลัทธิหินยานหรือเถรวาท    ประติมากรรมรูปคนที่สร้างขึ้นเพื่อเคารพบูชานี้ถือการสร้างพระพุทธรูปเป็นประติ-มากรรมรูปคนที่สำคัญและมีการสร้างสรรค์เป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะลัทธิเถรวาท  เป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยต่อเนื่องกันมานานนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันพระพุทธรูป จึงเปรียบเสมือนหัวใจของศิลปวัตถุทางศาสนาเพราะเป็นอุเทสะเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้รำลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อน้อมใจให้พุทธศาสนิกชน ได้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆ จึงกำหนดแบบท่าทางของพระพุทธรูปเป็นปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัย กำหนดรูปพระองค์ประทับขัดสมาธิพระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่บนพระชานุ (เข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) แสดงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติตอนที่พระองค์ชี้นิ้วพระหัตถ์ขวาลงพื้นดินเพื่ออ้างแม่พระธรณีให้มาเป็นพยานว่าพระองค์ทรงบำเพ็ญบุญบารมีมากมายในอดีตชาติ สมควรแก่พระรัตนบัลลังก์ที่พระองค์ประทับอยู่เพื่อตรัสรู้ มิใช่พระยาวัสวดีมาร ซึ่งมาผจญเพื่อชิงสิทธินั้น เรื่องราวอันเป็นบุคลาธิษฐานได้รับการกำหนดแบบเป็นรูปธรรมขึ้นเป็นปางต่างๆ การกำหนดแบบท่าทางของพระพุทธรูปเช่นนี้ถือเป็นกฎเกณฑ์มานานแล้วในประเทศอินเดีย แล้วสืบทอดมาสู่ศิลปะของประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนาและรับอิทธิพลของศิลปะนั้น ซึ่งรวมทั้งศิลปะของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วย
          พระพุทธรูปของไทยเป็นรูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า แต่มิได้หมายความว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธลักษณะดั่งพระพุทธรูปช่างไทยส่วนใหญ่มักศึกษาธรรมจนเข้าถึงแก่นแท้ สามารถสร้างพระพุทธรูปได้งดงามยอดยิ่งดูดั่งรูปเนรมิต รวมพระลักษณะของพระองค์เข้าด้วยหลักธรรม ที่แสดงความรู้แจ้งเห็นจริง การบรรลุพระอรหัตผล การสร้างพระพุทธรูปมิได้มุ่งหมายแสดงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าแต่เพียงส่วนเดียว แต่ต้องทำให้งามต้องรวมใจคนทั้งหลายด้วย เพราะพระพุทธรูปเป็นศูนย์รวมของศาสนิกชนเพื่อกราบไหว้บูชา  สิ่งที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูปเป็นเรื่องชวนศึกษาอยู่ไม่น้อยดังเช่น เมื่อเรามองดูพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยนอกจากจะทำให้ผู้ดูรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วประติมากรรมยังแสดงคุณค่าความงามทุกส่วนตั้งแต่ปลายพระบาทจรดปลายพระรัศมี แสดงความสมบูรณ์ลงตัวของธาตุต่างๆ (องค์ประกอบ)ทางทัศนศิลป์ ทั้งเส้นรูปนอกที่อ่อนหวานประ-สานกลมกลืนกับเส้นที่แบ่งส่วนต่างๆ  ภายในขององค์พระพุทธรูป ปริมาตร ความนูนโค้งเว้าของส่วนต่างๆ ที่เปล่งปลั่งกลมกลึง พื้นผิวของพระวรกายที่มันวาว เกลี้ยงเรียบและตึงเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดรูปร่างและรูปทรงที่ให้ความรู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุข ให้ความรู้สึกอิ่มเอิบใจทัศนธาตุทุกสิ่งประสานกันเป็นเอกภาพ สร้างคุณค่าความงามทางศิลปะอย่างเต็มที่ ประติมากรรมพระพุทธรูปของไทยแม้จะเป็นประติมากรรมรูปคนหรือเลียนแบบคนแต่เน้นความงามที่ถือเอาคุณค่าทางสุนทรียภาพ เป็นสำคัญโดยไม่ถือความถูกต้องของความงดงามตามระบบร่างกายมนุษย์ที่เป็นอยู่ในธรรมชาติจริงๆ ประสงค์สะท้อนความงามให้รูปลักษณ์ที่ต้องตาต้องใจเป็นสิ่งเจริญศรัทธา   อิ่มเอิบใจ น่ากราบไหว้บูชาแสดงรสนิยมคตินิยม และความเป็นเชื้อชาติในงานประติมากรรมไว้ได้อย่างชัดเจนยิ่ง
          เนื่องจากความสำคัญของพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์รวมความเชื่อของสังคม จึงต้องสร้างพระพุทธรูปขึ้นด้วยวัตถุที่มีความคงทนถาวรและมีคุณค่า เช่น หินแกรนิต หินอ่อน หยก ทองคำ หรือโลหะที่มีค่าต่างๆ หากจำเป็นต้องสร้างด้วยวัตถุที่มีความคงทนน้อย เช่น หินทราย ไม้ หรือปูนก็จะตกแต่งผิววัสดุนั้นให้มีคุณค่าขึ้น  ด้วยการลงรักปิดทองคำเปลวทับหรือตีแผ่นทองหุ้มปิดไว้ประติมากรรมเหล่านี้จึงมักจะสำเร็จลงด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริงเต็มไปด้วยความวิริยะอุตสาหะและกรรมวิธีการสร้างอย่างยอดเยี่ยม

          ปฏิมากรรมรูปคนของไทยกล่าวโดยสรุปมีลักษณะพิเศษดังนี้
          ๑. ไม่แสดงความแตกต่างของพื้นผิว มักทำเป็นผิวเกลี้ยงเรียบสร้างความงามของรูปให้เกิดโดยการแสดงความสูงต่ำของพื้นผิว   รูปทรงช่องไฟ แสดงความโค้งเว้าของปริมาตรทั้งส่วนพระเศียร  พระศอ พระอุระ พระวรกาย พระพาหาจนเกิดความอ่อนหวานคดโค้งของเส้นรูปนอกและเส้นภายใน มีความอ่อนหวานทั้งส่วนละเอียดและส่วนรวม  ก่อให้เกิดแสงเงา  ความมันวาวของตัวประติมากรรมเอง   เกิดการแบ่งแยกในส่วนย่อยแล้วรวมกันเป็นเอกภาพในส่วนใหญ่ มีความงามจากการประสานกลมกลืนทางทัศนธาตุของศิลปะ
          ๒. ไม่แสดงความเหมือนจริงและไม่แสดงการเลียนแบบรูปคนในธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูกชัดเจนรวมทั้งไม่แสดงอารมณ์แบบมนุษย์ ประติมากรรมรูปคนของไทยทั้งพระพุทธรูป เทวรูป หรือพระโพธิสัตว์ แม้จะมีอวัยวะทุกสิ่งทุกส่วนเลียนแบบคนที่มีอยู่ในธรรมชาติแต่ไม่มีส่วนใดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าของรูปประติมากรรมเหมือนความเป็นจริงในธรรมชาติเลย   มิใช่ช่างไทยขาดฝีมือและความเข้าใจ  แต่ช่างไทยเจตนาสร้างประติมากรรมรูปคนเพื่อต้องการเน้นความงามตามอุดมคติ สร้างลักษณะของศิลปะเป็นศิลปะแบบประดิษฐ์  มีลักษณะเหนือความจริง เน้นความสมบูรณ์ทางทัศนธาตุของศิลปมากกว่า
          ๓. ไม่นิยมปั้นรูปเหมือน ตามคติความเชื่อแต่โบราณ ไม่มีการสร้างรูปเหมือนบุคคลไว้สักการะบูชา นอกจากการสร้างรูปแทนเท่านั้น รูปแทนเหล่านั้นมักสร้างเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปเช่น พระเจ้าอู่ทองในวัดพุทไธสวรรย์ พระพุทธรูปทรงเครื่องรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
          ๔. ลีลาท่าทางของประติมากรรมรูปเคารพของไทยล้วนเป็นแบบแผนที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์ขึ้นอย่างมีระเบียบและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เรียกลีลาท่าทางของรูปเคารพ โดยเฉพาะพระพุทธรูปนี้ว่า ปาง แต่ละปางจะมีความหมายและแสดงเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ  ในพุทธประวัติที่เป็นเรื่องยาว แต่สรุปด้วยท่าทางหรือปางแบบง่ายๆ เพียงท่าเดียวเท่านั้น เช่น ปางสมาธิ ปางมารวิชัย ปางห้ามสมุทร และปางลีลาเป็นต้น



ประติมากรรมรูปสัญลักษณ์
          เป็นประติมากรรมที่ได้รับรากฐานอิทธิพล การสร้างมาจากอินเดียโบราณภายหลังพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้มีการสร้างรูปเคารพแสดงเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นพุทธประวัติขึ้น แต่การสร้างพระพุทธรูปเป็นรูปเคารพในประเทศอินเดียสมัยนั้นเป็นของต้องห้าม บรรดาศิลปินชาวอินเดียคิดหาทางสร้างรูปเคารพเป็นสัญลักษณ์แสดงเรื่องราวปางต่างๆของพระพุทธองค์ขึ้นโดยไม่ทำเป็นพระพุทธรูป การสร้างรูปสัญลักษณ์นี้แม้เมื่อมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกในแคว้นคันธารราษฎร์ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๗๐โดยชนชาติกรีกที่นับถือพุทธศาสนา และการสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายไปในที่ต่างๆ  ที่นับถือศาสนาพุทธ  โดยเฉพาะในประเทศไทยแต่การสร้างรูปเคารพที่เป็นรูปสัญลักษณ์ยังคงทำสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย แม้จะไม่มีจำนวนมากเท่าการสร้างพระพุทธรูปและเทวรูปก็ตามประติมากรรมรูปสัญลักษณ์จะสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนพุทธประวัติตอนสำคัญๆ เมื่อพุทธศาสนิกชนเห็นก็จะเข้าใจความหมายของรูปสัญลักษณ์นั้นได้ลึกซึ้งเป็นอย่างดี เช่น

          ดอกบัว เป็นเครื่องหมายแห่งการประสูติ
          บัลลังก์และต้นโพธิ์  เป็นเครื่องหมายแห่งการตรัสรู้
          ธรรมจักรและกวางหมอบ เป็นเครื่องหมายแห่งการปฐมเทศนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
          สถูป เป็นเครื่องหมายแห่งปรินิพพาน

          นอกจากรูปสัญลักษณ์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปสัญลักษณ์อื่นที่ช่างชาวพุทธศาสนานิยมสร้างกันมากคือ รอยพระพุทธบาท อันเป็นเครื่องหมายแห่งการประทับรอยแห่งพุทธศาสนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงบนผืนแผ่นดินที่พระธรรมของพระองค์เผยแพร่ไปถึง   ใบเสมาเป็นสัญลักษณ์แห่งการสมมติกำหนดเขตขัณฑสีมาส่วนที่เป็นพุทธาวาสแดนบริสุทธิ์แห่งศาสนา และ พระพิมพ์หรือพระเครื่องเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าปางต่างๆ ขนาดเล็ก สำหรับติดตัวไว้เพื่อเคารพบูชา
[กลับหัวข้อหลัก]


บรรณานุกรม
นายสุรศักดิ์ เจริญวงศ์


ประติมากรรมรูปเคารพ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การช่างและหมู่บ้านช่าง

การช่างและหมู่บ้านช่าง


เปิดอ่าน 25,446 ครั้ง
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี


เปิดอ่าน 26,608 ครั้ง
"ละครซิทคอม" คืออะไร

"ละครซิทคอม" คืออะไร


เปิดอ่าน 66,671 ครั้ง
ดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด


เปิดอ่าน 29,532 ครั้ง
เพลง "อิ่มอุ่น"

เพลง "อิ่มอุ่น"


เปิดอ่าน 41,506 ครั้ง
เพลงประจำอาเซียน (ASEAN SONG)

เพลงประจำอาเซียน (ASEAN SONG)


เปิดอ่าน 63,728 ครั้ง
เรื่องของคาราโอเกะ

เรื่องของคาราโอเกะ


เปิดอ่าน 31,993 ครั้ง
ความรู้เกี่ยวกับ "สี"

ความรู้เกี่ยวกับ "สี"


เปิดอ่าน 10,103 ครั้ง
การวาดภาพนกเบื้องต้น

การวาดภาพนกเบื้องต้น


เปิดอ่าน 73,158 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด

เปิดอ่าน 29,532 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ละครสังคีต
ละครสังคีต
เปิดอ่าน 91,941 ☕ คลิกอ่านเลย

พืชกับศิลปะไทยโบราณ
พืชกับศิลปะไทยโบราณ
เปิดอ่าน 32,691 ☕ คลิกอ่านเลย

โดราเอมอน : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
โดราเอมอน : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
เปิดอ่าน 47,437 ☕ คลิกอ่านเลย

จิตรกรรมและศาสนา
จิตรกรรมและศาสนา
เปิดอ่าน 18,163 ☕ คลิกอ่านเลย

เพลง "วันแม่"
เพลง "วันแม่"
เปิดอ่าน 24,247 ☕ คลิกอ่านเลย

จิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย
เปิดอ่าน 41,044 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด
ขนาดของหน่วยความจำและขนาดของภาพเมื่อนำไปอัด
เปิดอ่าน 33,715 ครั้ง

ผลมะเฟือง กินดี ควบคุมน้ำหนัก
ผลมะเฟือง กินดี ควบคุมน้ำหนัก
เปิดอ่าน 17,637 ครั้ง

ค่านิยม 12 ประการ "MV ลูกทุ่ง"
ค่านิยม 12 ประการ "MV ลูกทุ่ง"
เปิดอ่าน 14,805 ครั้ง

เกร็ดควรรู้สำหรับผู้ที่จะสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย
เกร็ดควรรู้สำหรับผู้ที่จะสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย
เปิดอ่าน 16,437 ครั้ง

รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋"
รู้หรือยัง ประวัติ "ปาท่องโก๋"
เปิดอ่าน 40,898 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ