ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย ศศิธร ระเบียบพล
ปีที่วิจัย 2561
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 39 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เป็นเวลา 16 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ PTPES Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation: P) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching: T) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกทักษะ (Practicing: P) ขั้นที่ 4 ขั้นวัดและประเมินผล (Evaluation: E) และขั้นที่ 5 ขั้นสรุป (Summarizing: S) โดยความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) มีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (นาฏศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในระดับมาก
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model)) ร่วมกับการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และก่อนเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู มีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 3.75 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .49 เมื่อเทียบกับเกณฑ์การพิจารณาระดับความพึงพอใจ แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PTPES Model) ร่วมกับการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง ระบำมโนราห์โรงครู อยู่ระดับมาก