ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ

ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ราตรี คงรุ่ง

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

บทคัดย่อ

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ม.1/1 จำนวน 26 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สรุปผลการวิจัย

1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า คะแนนเฉลี่ยระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ทั้ง 4กิจกรรมฝึกทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ446.35 จากคะแนนเต็ม 476 คะแนน นำมาหาค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ( ) คิดเป็นร้อยละ93.77 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.35 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน โดยคิดเป็นร้อยละ94.50 ซึ่งมีค่าเท่ากับประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ( )

ดังนั้นประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีค่าเท่ากับ 93.77/94.50เกณฑ์ที่กำหนด / คือ 80/80แสดงว่าชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ14.69และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.35 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 13.65 ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ45.51ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกคน มีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 9ถึง 17แสดงว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สูงขึ้นจริงและหลังจากได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีผลรวมของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.76และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 3

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในการกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) การพัฒนาประเทศในระยะของต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศโดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนามุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความสำคัญโดยคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟู่ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ยึดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579 ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา โดยที่เป้าหมายและตัวชี้วัดในด้านต่างๆ มีความสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ เป้าหมายประเทศไทยในปี 2579 ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันนั้นพิจารณาจากทั้งประเด็นหลักและลักษณะของการพัฒนา ลักษณะฐานการผลิตและบริการสำคัญของประเทศ ลักษณะของคนไทยและสังคมไทยที่พึงปรารถนา และกลุ่มเป้าหมายในสังคมไทย โดยกำหนดไว้ดังนี้ “เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรมมีความเหลื่อมล้ำน้อยคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่มีวินัยตื่นรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีความรู้ มีทักษะและทัศนคติที่เป็นค่านิยมที่ดี มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ มีความเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ มีจิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความเป็นพลเมืองไทยพลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลกประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีนานาชาติระบบเศรษฐกิจตั้งอยู่บนฐานของการใช้นวัตกรรมนำดิจิทัล สามารถแข่งขันในการผลิตได้และค้าขายเป็น มีความเป็นสังคมประกอบการ มีฐานการผลิตและบริการที่มีคุณภาพและรูปแบบที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการในตลาดโลกเป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญ เช่น การให้บริการคุณภาพทั้งด้านการเงิน ระบบโลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพ และท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นครัวโลกของอาหารคุณภาพและปลอดภัย เป็นฐานอุตสาหกรรมและบริการอัจฉริยะที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรม ทุนมนุษย์ทักษะสูงและเทคโนโลยีอัจฉริยะ มาต่อยอดฐานการผลิตและบริการที่มีศักยภาพในปัจจุบันและพัฒนาฐานการผลิตและบริการใหม่ๆ เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนที่มีความเป็นอัจฉริยะ (แผนพัฒนาเทศบาลหล่มสัก. 2561.10-21) การศึกษาจึง คือ หัวใจของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและคือ หัวใจของการพัฒนาผู้เรียน เพื่อความเจริญก้าวหน้าในทุกด้านอย่างยั่งยืน

จากนโยบายด้านการศึกษาและการพัฒนาคนที่กล่าวมาข้างต้น จังหวัดเพชรบูรณ์โดยการทำยุทธศาสตร์การพัฒนาในระดับจังหวัด พ.ศ.2561-2564 โดยกำหนดวิสัยทัศน์ ดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน“จังหวัดเพชรบูรณ์จะมุ่งส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใช้ศักยภาพทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นพร้อมกับการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อให้ไปสู่การเป็นเมืองแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน”ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ (พ.ศ. 2561-2564)ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมเกษตรปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม 2) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความมั่นคงของคนและชุมชนอย่างทั่วถึง 4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ 5) ยุทธศาสตร์ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความพร้อมต่อ AEC และยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดวิสัยทัศน์ “ท้องถิ่นก้าวไกล ใส่ใจคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจก้าวหน้า และเกษตรพัฒนา ล้ำค่าวัฒนธรรม พัฒนาการท่องเที่ยว อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเกษตรยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การกีฬา และคุณภาพชีวิต และยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการพัฒนาการเมือง และการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีซึ่งแบบยุทธศาสตร์ดังกล่าว เกิดจากความต้องการของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ จากทิศทางการพัฒนาการศึกษานโยบายชุดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพทางการศึกษาตามที่กล่าวมา

โรงเรียนเทศบาลศรีมงคลจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “วิชาการก้าวหน้า คุณธรรมพัฒนา รักษามรดกไทย ทันสมัยไอทีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง” โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ไว้ดังนี้โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ ไว้ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาภาคบังคับให้ได้ทั่วถึงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายมีกลยุทธ์1.1) ส่งเสริมจัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายและพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 1.2) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1.3) ส่งเสริมการวิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางและจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรโดยชุมชนมีส่วนร่วมและเห็นชอบ1.4) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้วยการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในการพัฒนาการศึกษา 2) ยุทธศาสตร์ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีกลยุทธ์ 2.1) ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนโดนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกกลุ่มสาระและให้ผู้เรียนมีระเบียบ วินัย ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วม 3) ยุทธศาสตร์การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบ มีกลยุทธ์ 3.1) ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3.2) ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น3.3) ส่งเสริมการเรียนรู้ที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและจัดทำทะเบียนแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น4) ยุทธศาสตร์การจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นปัจจุบันมีกลยุทธ์4.1) ส่งเสริมจัดทำข้อมูลพื้นฐานของครูและนักเรียน 5)ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหาทุกกลุ่มสาระมีกลยุทธ์ 5.1) ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระ6) ยุทธศาสตร์ ผลิต และพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีกลยุทธ์6.1)ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยี 7) ยุทธศาสตร์การจัดกิจกรรมทางศาสนา งานประเพณีและศึกษาแหล่งเรียนรู้มีกลยุทธ์ 7.1)ส่งเสริมกิจกรรมความสำคัญทางศาสนา งานประเพณีและจัดให้มีการทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น 8) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการกีฬา นันทนาการและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีกลยุทธ์ 8.1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี พลานามัยดีและพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อภายในโรงเรียนให้สะอาด(แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล : 2-3) สรุปได้ว่า การศึกษาตามกฎหมายและนโยบายทุกระดับ ผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะบทบาทของสถานศึกษา และบทบาทครูที่ยึดหลักมาเป็นเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ควรเน้นคุณภาพการจัดการด้านการศึกษา ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น โดยเฉพาะการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาประเทศได้ (สรรเพชญ มนพรหม,2556: 65) ดังนั้น การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จึงมีบทบาทในการพัฒนาบุคคลในด้านกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา ความสามารถในการตัดสินใจ ทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ ทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญคือ การพัฒนาคนในสังคมให้มีความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสังคม (อลิศรา ชูชาติ,2549: 185-186)

เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องอาศัยการวางรากฐานทางการศึกษาที่มีคุณภาพ การยกระดับการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อทำให้คนไทยทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำไปสู่การพัฒนาคนอย่างมีคุณภาพให้คนไทยสามรถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกับประเทศอื่นและจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ยุคศตวรรษ 21 ที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (กระทรวงศึกษาธิการ,2551: 1-2) จากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตราที่ 66 จึงได้กำหนดจุดมุ่งหมาย ของการจัดการศึกษาที่มีใจความสำคัญว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2553: 22) ซึ่งสอดคล้องกับสุพรรณีชาญประเสริญ (2556: 10-11)ได้กล่าวในบทความ “การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21” ในนิตยาสาร สสวท.ไว้ว่า การเตรียมคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นเพื่อให้ดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น นอกจากการพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีแล้ว ทักษะที่ควรคำนึงคือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและการทำงาน และทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีซึ่งถือได้ว่าเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับพรทิพย์ ศิริภัทราชัย (2546: 49)ได้กล่าวว่า สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือเพื่อแสวงหาความรู้สำหรับโลกของการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความสำเร็จมากกว่าเนื้อหาความรู้ อีกทั้งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ และเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นต้น เพื่อให้สามรถอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551: 4-5)

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล พุทธศักราช 2561 เคยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นแบบแผน หรือแนวทางของการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี เป็นคนเก่งและมีความสุขมีศักยภาพในการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา อีกทั้งมีความรู้ มีทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรมที่ใช้เพราะบ่มปลูกฝังให้เกิดกับนักเรียนเป็นสำคัญดังนั้น หลักสูตรการศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล พุทธศักราช 2561 ตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงประกอบด้วยสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลและบริบทชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและในอนาคต โดยสอดแทรกในสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พัฒนาผู้เรียนสู่ประชาคมอาเซียน พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้

ในปีการศึกษา 2560 ที่ผ่านมาผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนกลุ่มสาขาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนจำนวน 27 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ สาระที่ 5 พลังงาน และสาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 62.93 และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน10 คน คิดเป็นร้อยละ 37.03 ซึ่งในภาพรวมในปีการศึกษา2560 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 59.73 ควรได้รับการแก้ไขและพัฒนาผู้วิจัยจึงได้ตั้งเป้าหมายและกำหนดแนวทางการออกแบบสร้างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้วิจัยได้เริ่มศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และต้องการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยเจตคติที่ดี มีความพร้อมที่จะต้องอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาผ่านกระบวนการคิดมีความคิดสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษาเป็นวิธีการสอนที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า และเลือกนำมาพัฒนานักเรียน ทั้งนี้เพราะจากปัญหาที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ นักเรียนมีเจตคติกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่ไม่ดี ไม่ชอบเรียนเพราะกิจกรรมเรียนรู้ไม่น่าสนใจ จากปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และต้องสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนให้ได้โดยอาศัยกระบวนการแก้ปัญหาในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับการเรียนรู้แบบร่วมมือจะสามารถทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในวิทยาศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และมีความพร้อมที่จะสนใจเลือกเรียนและประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาระวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในอนาคตต่อไป

โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล จึงมีนโยบายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีการปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้นกว่าเดิม และจากการศึกษารายงานการศึกษาค้นคว้า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (5 STEPs) สู่ศตวรรษที่ 21 เรื่อง แสง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ในปีการศึกษา 2560 นั้น ผลปรากฏว่านักเรียนมีทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับการทดลองเพิ่มมากขึ้น มีความสนใจเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ที่ทำให้ ผู้วิจัยมุ่งเน้นพัฒนาต่อยอด เพิ่มเติมแนวคิดการออกแบบนวัตกรรมที่สะท้อนผลการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง โดยใช้กระบวนการการแก้ปัญหาในรูปแบบสะเต็มศึกษา เน้นการวัดพัฒนาการของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลให้แสดงออกมา เพื่อที่จะผสมผสานศักยภาพด้านอื่นๆ ให้สร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งนักเรียนแต่ละคนก็มีความสามารถที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งนอกจากต้องการให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแล้วยังต้องการให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดควบคู่ไปกับความรู้ในด้านเนื้อหา ครูจึงต้องพยายามฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการกลุ่มด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีทักษะกระบวนการคิดและสามารถวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพราะชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เป็นนวัตกรรมทางการศึกษารูปแบบหนึ่งที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถและความสนใจ มีอิสระในการคิด ออกแบบ มีความคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานทุกคนมีโอกาสใช้ความคิดอย่างเต็มที่โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา ช่วยลดเวลาในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ นักเรียน มีอิสระและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยครูเป็นผู้สร้างโอกาสทางการเรียนรู้มีกิจกรรมให้นักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มซึ่งนักเรียนจะดำเนินการเรียนรู้จากคำแนะนำที่อยู่ในชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เป็นไปตามลำดับขั้นด้วยตนเอง ตรงกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ของบลูมที่กล่าวว่าการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติตามที่ต้องการย่อมกระทำกิจกรรมนั้นด้วยความกระตือรือร้น ทำให้เกิดความมั่นใจเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จสูง (Bloometal. 1976 : 72 – 74)การจัดการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประสบการณ์ของตัวผู้เรียนเองนั้น จึงทำให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น สร้างสรรค์ สร้างคำถามและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมความสามารถในการใช้วิทยาศาสตร์เพื่ออธิบาย พยากรณ์ และควบคุมโลก (วรัญญา จีระวิพูลวรรณ, 2544: 162) ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้สามารถนำเอาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต (สุพรรณ ชาญประเสริฐ, 2557: 3) ดังนั้น การจัดกากรเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาที่กล่าวข้างต้น ผู้สอนควรจัดการเรียนสอนให้ผู้เรียนได้เรียนองค์ความรู้ต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เพราะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้น ไม่ใช่แค่การเรียนเนื้อหาเพื่อการท่องจำ แต่ผู้เรียนต้องมีบทบาทสำคัญในการลงมือเรียนรู้ ปฏิบัติจริง มีการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวิชามาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดในชีวิตประจำวันซึ่งการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

จากปัญหาข้างต้นผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำความรู้มาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ และแสดงให้ผู้เรียนเห็นถึงในความเป็นจริงการแก้ปัญหานั้นไม่ได้ใช้เนื้อหาความรู้เพียงวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้นจำเป็นจะต้องใช้ความรู้หลากหลายวิชาในการคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มี จุดเด่น ก็คือ การทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม โดยผู้สอนได้จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงรวมทั้งเป็นกำลังใจให้กันและ คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อน สมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องรับผิดชอบการเรียนของตนเอง และรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มเพราะความสำเร็จของแต่ละบุคคล คือ ความสำเร็จของกลุ่มซึงจะทำให้มีคะแนนแต่ละกิจกรรมและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้เกิดชิ้นงานของทีมที่น่าภาคภูมิใจ และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้เป็นเทคนิคการสอนร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้บรรยากาศกิจกรรมสะเต็มศึกษา เนื้อหาวิชา สื่อการเรียนรู้ต่างๆที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหา และหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอน คือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้การสอนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับAbuseileek (2007) ได้ให้ความหมายของการเรียนแบบร่วมมือไว้ว่าเป็นการเรียนที่จัดสมาชิกกลุ่มเล็กๆ แล้วร่วมกันแก้ปัญหาหรือทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จสมาชิกในกลุ่มทุกคนเป็นส่วนสำคัญของกลุ่มที่จะต้องมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำงาน ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลุ่มล้วนเป็นของทุกคนในกลุ่มและสอดคล้องกับปราโมทย์ จันทร์เรือง (2552: 64) ให้ความหมายของชุดฝึกทักษะว่าสื่อที่ช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเพื่อให้นักเรียนฝึกวิธีการคิด ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะด้วยตนเองให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถคิดวิเคราะห์ได้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับนักเรียนและเจตคติตามจุดประสงค์การเรียนรู้และตามจุดมุ่งหมายโดยภาพรวม แล้วชุดฝึกทักษะเป็นวิธีการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่ได้แนวคิดหลายๆ แนวมาให้ร่วมกันเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเมื่อได้ปฏิบัติจริง มีความรู้ความเข้า สามารถวิเคราะห์ได้โดยให้ครูเป็นผู้แนะนำซึ่งสอดคล้องกับ Ruthven and Others (2006) ได้ทำการศึกษาเรื่องผลการปรับปรุงสะเต็มศึกษาเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีส่วนร่วมในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการพัฒนาความรู้ของนักเรียนที่อยู่ในระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติของนักเรียนในการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีขึ้น และการพัฒนาความรู้ของนักเรียนเป็นในทางที่ดีขึ้น

จากที่มาและความสำคัญของปัญหาการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นักเรียนควรได้รับการฝึกฝนพัฒนาให้มีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร กิจกรรม สะเต็มศึกษาเป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมาบูรณาการเพื่อหาคำตอบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมที่ก่อประโยชน์ต่อการศึกษา หรือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม การร่วมกันคิด ระดมสมอง การใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลในการหาคำตอบ หรือการโต้แย้งและการประเมินผลงาน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1ภายใต้บรรยากาศกิจกรรมสะเต็มศึกษาเนื้อหาวิชา สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนคือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่คงทนตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามหลักสูตรและมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลอย่างแท้จริง

คำถามการวิจัย

1. ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80หรือไม่

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่

3. ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อยู่ในระดับใด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สมมติฐานของการศึกษา

1. ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อยู่ในระดับมากที่สุด

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา วิทยาศาสตร์ 2 ปีการศึกษา2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 101 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ม.1/1 จำนวน 26 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

2.1ตัวแปรต้นคือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.2 ตัวแปรตามได้แก่

2.2.1 ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.2.3 ความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียน

แบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

3. ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์วิชาวิทยาศาสตร์ 2 ว21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เรื่อง แรงและพลังงาน มีการกำหนดเนื้อหาลงใน ชุดกิจกรรมแต่ละชุด เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องแรงในชีวิตประจำวัน แรงสร้างสรรค์ พลังงานในชีวิตประจำวันพลังงานสะอาด ทำให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบให้กับปัญหาและทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด และนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหาหาคำตอบให้กับปัญหาได้ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนคือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้การสอนที่มีประสิทธิภาพส่งผลทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นซึ่งมีระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนแต่ละขั้นตอนมีความสมบูรณ์ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่มาตรฐาน ว 4.1เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม สาระที่ 5พลังงานมาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิตการเปลี่ยนรูปพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงานผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์สาระที่ 8ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตรฐาน ว 8.1กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวน 16 ชั่วโมง เรื่องที่ 1 แรง จำนวน 8 ชั่วโมง เรื่องที่ 2 พลังงาน จำนวน 8 ชั่วโมง ซึ่งนักเรียนจะสามารถสร้างชิ้นงาน หรือวิธีการนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

การดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ใช้เวลาทดลองจำนวน 16 ชั่วโมงระหว่างวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2. ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1 ผู้วิจัยใช้สูตรหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์โดยเฉลี่ย / สำหรับการศึกษาครั้งนี้ใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2. ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน (Pretest) และการทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (Posttest) โดยใช้สถิติทดสอบ t-test Dependent

3.ทดสอบสมมติฐานข้อที่ 3 วิเคราะห์ผลคะแนนระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สถิติพื้นฐานด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

อภิปรายผล

1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จากผลการวิจัย พบว่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีค่าเท่ากับ93.77/94.50เกณฑ์ที่กำหนด / คือ 80/80 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามสมมติฐานข้อ 1 และสามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้จริง ทั้งนี้อันเนื่องมาจากการสร้างชุดฝึกทักษะควรมีหลักในการสร้าง คือ การสร้างชุดฝึกทักษะต้องยึดหลักการสร้างตามทฤษฏี และมีจิตวิทยาในการสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล มีจุดมุ่งหมายที่ฝึกทักษะด้านใดด้านหนึ่ง กำหนดชัดเจนแน่นอนเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก ตรงตามจุดประสงค์ มีคำชี้แจงง่ายๆ สั้นๆ อ่านแล้วเข้าใจ พร้อมทั้งมีตัวอย่างประกอบ ชุดฝึกทักษะมีภาพประกอบ เพื่อดึงดูดความสนใจ และมีประสิทธิภาพมีความเชื่อมั่น จะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ของนักเรียนพัฒนาดีขึ้นซึ่งชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่สร้างขึ้น มีองค์ประกอบครบถ้วน มีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในใบกิจกรรม ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การนำองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับแรงและพลังงาน ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การนำเสนอชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหา และการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนแต่ละขั้นตอน มีความสมบูรณ์ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภายใต้บรรยากาศกิจกรรมสะเต็มศึกษาเนื้อหาวิชา สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหา และหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนคือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้การสอนที่มีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะ สอดคล้องกับแนวคิดของเบญจวรรณ ใจหาญ (2550: 18) ที่ได้กล่าวถึง ประโยชน์ของชุดกิจกรรม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลายจากชุดกิจกรรม ทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายที่จะเรียน แต่มีความกระตือรือร้นที่จะค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามศักยภาพของแต่ละคน และประโยชน์ของชุดการสอนทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่าย กระตือรือร้น สร้างความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่าที่เกิดกับผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชน สำหรับชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการกำหนดเนื้อหาลงในชุดกิจกรรมแต่ละชุด เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเรื่องแรงในชีวิตประจำวัน แรงสร้างสรรค์ พลังงานในชีวิตประจำวัน พลังงานสะอาด ทำให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อหาคำตอบให้กับปัญหาและทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด และนำไปสู่การสร้างชิ้นงานหรือวิธีการที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ความเข้าใจในการแก้ปัญหาตามทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ การนำองค์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาเรื่อง แรง และพลังงาน ได้จริงในชีวิตประจำวัน การนำเสนอชิ้นงานหรือวิธีการแก้ปัญหาสะท้อนการสร้างนวัตกรรมได้ในอนาคต ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่ มาตรฐาน ว 4.1สาระที่ 5พลังงาน มาตรฐาน ว 5.1และสาระที่ 8ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรฐาน ว 8.1 ซึ่งองค์ประกอบในชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา มีดังนี้ 1) คำชี้แจงการใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงาน 2) มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง 3) จุดประสงค์การเรียนรู้ 4) สาระสำคัญ 5) ใบความรู้ 6)ใบกิจกรรม7) แบบทดสอบก่อนเรียน–หลังเรียน 8) แบบประเมินต่าง ๆ 9) แบบเฉลย 10) บรรณานุกรม11)คำรับรองของผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพที่นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับนักเรียนได้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับ โดยสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชนกนันท์พะสุโร (2558: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหินจังหวัดยะลาผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.00/ 80.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ และยังสอดคล้องกับมานะอินทรสว่าง (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมชุดทดลองสำหรับจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาเรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรงพบการวิจัยพบว่านวัตกรรมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากนวัตกรรมมีประสิทธิภาพทางการศึกษา 82.65/80.18นอกจากนั้นนับว่าเป็นนวัตกรรมบูรณาการในศาสตร์วิชาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของนักเรียนได้อย่างเชิงประจักษ์ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้มาออกแบบวิธีการหรือกระบวนการเพื่อตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน โดยต้องออกแบบวิธีการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะในการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการได้ความรู้แบบองค์รวมที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ทำให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning) ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีลักษณะเป็นการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะ ที่จำเป็นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยตนเองเกิดความเข้าใจ อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่การท่องจำอย่างเดียว (ประสาท เนืองเฉลิม. 2557)สอดคล้องกับคำเพียร อุปรีทอง (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการสร้างชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง บรรยากาศ โดยใช้ผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศ โดยใช้ ผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 8 ชุด มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 79.94/72.52 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 ทุกชุด 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องบรรยากาศ โดยใช้ผังมโนทัศน์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากดังนั้น การใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 สามารถนำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้จริง

2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จากผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ14.69และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 28.35 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 13.65 ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ45.51ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็ม เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกคนมีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 9ถึง 17และหลังจากได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์ด้วยเจตคติที่ดี มีความพร้อมที่จะต้องอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งนักเรียนได้รับการฝึกฝนพัฒนาให้มีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร กิจกรรมสะเต็มศึกษาเป็นกิจกรรมที่นักเรียนจะต้องนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมาบูรณาการเพื่อหาคำตอบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมที่ก่อประโยชน์ต่อการศึกษา หรือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนจะได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม การร่วมกันคิด ระดมสมอง การใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลในการหาคำตอบ หรือการโต้แย้ง การประเมิน ผลงาน เพื่อให้ผลงานมีคุณภาพตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรมจนสำเร็จ ซึ่งในการออกแบบพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ เป็นการออกแบบการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการสอน 2 แบบบูรณาการกันคือ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษากับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เน้นการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มมีการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยที่สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงรวมทั้งเป็นกำลังใจให้กันและกันคนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องรับผิดชอบการเรียนของตนเองและรับผิดชอบการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม เพราะความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่มภายใต้บรรยากาศกิจกรรมสะเต็มศึกษาเนื้อหาวิชา สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ที่ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนคือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้การสอนที่มีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Artzt & Newman อ้างถึงในประพิศปัทมัตย์ (2551 : 22) ที่ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ว่า เป็นแนวทางที่เกี่ยวกับการที่ผู้เรียนทำการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆซึ่งสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบผลสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกันสมาชิกในกลุ่มทุกคนต้องระลึกเสมอว่าเขาเป็นส่วนสำคัญของกลุ่มความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกลุ่มเป็นความสำเร็จหรือ ความล้มเหลวของทุกคนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสมาชิกทุกคนต้องพูดอธิบายแนวคิดและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาครูไม่ใช่แหล่งความรู้ที่คอยป้อนแก่นักเรียนแต่จะมีบทบาทเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือจัดหาและชี้แนะแหล่งข้อมูลในการเรียนของนักเรียนตัวนักเรียนเองอาจจะเป็นแหล่งความรู้ซึ่งกันและกันในกระบวนการเรียนและจากผลการวิจัยของพลศักดิ์แสงพรมศรี, ประสาทเนืองเฉลิมและปิยะเนตรจันทร์ถิระติกุล (2558 : บทคัดย่อ) เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ พลศักดิ์ แสงพรมศรี (2558 : 401)ที่ไดศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษtกระบวนการทางวิทยาศาสตรขั้นบูรณาการ และเจตคติตอการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 5 ที่ไดรับการจัดการเรียนรูสะเต็มศึกษากับแบบปกติโดยวัดผลก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบวา นักเรียนที่ไดรับการจัดการเรียนรูสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรบูรณาการ และเจตคติตอการเรียนวิชาเคมี สูงกวานักเรียนที่ไดรับการจัดการเรียนรูแบบปกติอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ไดรับการจัดการเรียนรูสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรบูรณาการ และเจตคติตอการเรียนวิชาเคมี หลังเรียนสูงกวาก่อนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01ซึ่งวรรณารุ่งลักษะมีศรี (2551 : 62-76) ได้ศึกษาผลการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตผลการศึกษาพบว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์และคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์และคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานเฉลี่ยร้อยละ 75.58 และ 83.90และสอดคล้องกับงานวิจัยของบุญลอย มูลน้อยและคณะ (2559 : 287) ได้สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้ามี ประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/80.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิด สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุดและจากผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจสามารถทำกิจกรรม สร้างชิ้นงาน และนำความรู้ไปต่อยอด เพื่อใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องแรงและพลังงานในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น และมีความพร้อมที่จะสนใจเลือกเรียนและประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาระวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในอนาคตต่อไป

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

จากผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีผลรวมของคะแนนเฉลี่ย( )เท่ากับ 4.76และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.32 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ

มากที่สุดเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 3ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก ผู้วิจัยเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่ต้องทำให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งได้ให้ความหมายความพึงพอใจของผู้ปกครองไว้ว่า เป็นความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานเป็นความพึงพอใจที่ส่งผลต่อชุมชนบ้านศรีมงคล ที่มีความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ที่ใช้แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่อง แรงและพลังงานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา เพื่อฝึกทักษะการคิดการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และก่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นวิธีการหรือชิ้นงานที่เป็นคำตอบของปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ปกครองได้มีบทบาทในการสนับสนุน ให้ความร่วมมือในการแสวงหาคำตอบและให้ข้อมูลที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้ใหม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น สะท้อนความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อบทบาทครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำให้นักเรียนได้ประสบการณ์ตรง สามารถทำกิจกรรมและเกิดชิ้นงานที่นำไปสู่การพัฒนาได้ พอใจที่นักเรียนได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม สะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ๆ ทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีในวิชาวิทยาศาสตร์ และสนใจเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา พร้อมมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนทุกประการ และเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของนักเรียนที่มีต่อชุมชนรอบตัวนักเรียน เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม สนใจอาชีพในชุมชน และมีการนำเสนอข้อคิดใหม่ ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้นักเรียนสนใจในเรื่องการสร้างทักษะชีวิตที่ดีให้กับตนเอง เช่น สนใจเรียน สนใจการหาคำตอบอย่างมีเหตุมีผล สนใจการทำกิจกรรมให้สำเร็จ และยินดีในการเป็นส่วนหนึ่งของทีมเกิดผลสะท้อนในด้านสุขภาพ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การจัดกิจกรรมรูปแบบสะเต็มศึกษาทำให้นักเรียนได้เรียนรู้กิจกรรมรูปแบบใหม่ๆ ทันยุค ทันสมัยเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความพร้อมในการอยู่ในสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถทำกิจกรรมสร้างชิ้นงาน และนำความรู้ไปต่อยอด เพื่อใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องแรงและพลังงานในชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพ ต่อไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมต่อการเรียนรู้ไปในทางที่ดีขึ้น เช่น อยากรู้ อยากเรียน สนใจเรื่องราวรอบตัวมากขึ้น สนใจศึกษาค้นคว้าเพื่อหาคำตอบมากขึ้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น หลังจากผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาและดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันได้จริง สอดคล้องกับแนวคิดของปริญดาหอมสวัสดิ์ (2555:51) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่าผู้ปกครองมีความต้องการให้โรงเรียนมีการพัฒนาในด้านวิชาการหลักสูตรด้านบุคลากรคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนด้านการบริการนักเรียนด้านการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนเพื่อที่เด็กจะได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถมีการพัฒนาด้านร่างกายอารมณ์สังคมจิตใจและสติปัญญาตลอดจนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมตลอดไป และแนวคิดของบรรเจิดศุภราพงศ์ (2556 : 43) กล่าวถึงแนวคิดความพึงพอใจว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจอารมณ์ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สามารถมองเห็นรูปร่างได้นอกจากนี้ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกด้านบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความคาดหวังหรือเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นสามารถตอบสนองความต้องการให้แก่บุคคลได้ซึ่งความพึงพอใจที่เกิดขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามค่านิยมและประสบการณ์ของบุคคลทั้งนี้ความพึงพอใจจึงสามารถนำใช้ในการวัดระดับความพึงพอใจกับปัจจัยอื่นที่ใช้ในการศึกษาเช่นความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนซึ่งวรายุทธ แก้วประทุม (2556 : 60) ยังได้กล่าวว่าความพึงพอใจคือความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีของบุคคลเป็นไปตามความคาดหวังหรือมากกว่าสิ่งที่คาดหวังซึ่งจะทำให้เกิดความรู้สึกกระตือรือร้นและสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามได้ต่อไปความรู้สึกจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นหากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นได้รับการตอบสนองและถ้ามีความรู้สึกที่ดีต่อการทำงานจะมีผลทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงานมีการเสียสละอุทิศกายใจและสติปัญญาให้แก่งานซึ่งจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การได้ในที่สุดสอดคล้องกับผลงานวิจัยของชนกนันท์พะสุโร (2558: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหินจังหวัดยะลาซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 23 คนผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.00/ 80.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21ซึ่งบุญลอย มูลน้อยและคณะ (2559: 287) ได้สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้ามี ประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/80.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุดและผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในครั้งนี้ส่งผลให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนพัฒนาให้มีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะการคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร กิจกรรมสะเต็มศึกษาเป็นกิจกรรมที่นักเรียนสามารถนำความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมาบูรณาการ เพื่อหาคำตอบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ก่อประโยชน์ต่อการศึกษา หรือการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนได้รับประสบการณ์การทำงานเป็นทีม การร่วมกันคิด ระดมสมอง การใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผลในการหาคำตอบ หรือการโต้แย้ง และ การประเมินผลงาน ภายใต้บรรยากาศกิจกรรมสะเต็มศึกษาเนื้อหาวิชา สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถร่วมกันแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอนคือ ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่คงทนตามมาตรฐาน การเรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ บรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถต่อยอดถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และที่สำคัญก่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามหลักสูตรและมาตรฐานคุณภาพการศึกษาด้านผู้เรียนของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคลอย่างแท้จริง

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1.1 ครูผู้สอนควรอธิบายกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเรียนแบบร่วมมือ ด้วยชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและพลังงานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

1.2 ในขณะปฏิบัติกิจกรรม ควรมีการเสริมแรงและให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ความคิดของตนอย่างสร้างสรรค์ และอย่างอิสระ พยายามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในกิจกรรมต่างๆ เพราะจะทำให้นักเรียนหันเหความสนใจไปกับสิ่งแวดล้อมอื่นได้

1.3 เนื่องจากกิจกรรมส่วนใหญ่ เน้นการคิดแบบบูรณาการ วิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ มาสร้างสรรค์ชิ้นงานในกิจกรรมต่าง ๆ และความรับผิดชอบ ในหน้าที่ของตนเอง ครูควรออกแบบกิจกรรมและเตรียมสื่ออุปกรณ์ให้เหมาะสม

1.4 ครูควรสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการปฏิบัติกิจกรรมทั้งเดี่ยวและกลุ่ม เพื่อให้กิจกรรมดำเนินไปตามลำดับขั้นตอน

2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาผลการใช้ชุดฝึกทักษะสะเต็มศึกษา ในเนื้อหาอื่นในระดับช่วงชั้นอื่น หรือในรายวิชาอื่น เช่น วิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา เป็นต้น อันจะส่งผลให้นักเรียนมีการพัฒนาด้านการคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ สังเคราะห์มากขึ้น

2.2 ควรศึกษาตัวแปรอื่น ๆ เช่น การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การมีจิตวิทยาศาสตร์ โครงงานวิทยาศาสตร์ การสร้างสิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น

2.3 ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมอื่น ๆ เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ การสร้างสิ่งประดิษฐ์เป็นต้น เพื่อนำมาใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ.(2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

ภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.

กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

. (2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กัญญาพร แก้วรักษา. (2552).การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เรื่อง สระแก้วเมืองน่าอยู่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนซับม่วงวิทยา

อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ :

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

กาญจนา วัฒายุ. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธนพรการพิมพ์.

กาญจนา อรุณสุขรุจี. (2546).ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์

การเกษตรไชยปราการจำกัด อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ :

คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กิตตินันท์ แวงคำ. (2549). การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

ความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเงินและการหารของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความรู้สึก

เชิงจำนวนกับแผนการจัดการเรียนรู้การสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาในสถานศึกษา. (2559).ออนไลน์

จริยา สุจารีกุล. (2550).วิทยาศาสตร์คือกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ แปลจาก Science as

inquiry. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

จารีพร ผลมูล, ดร.สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และดร.เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2557).การพัฒนาหน่วยการ

เรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : กรณีศึกษา ชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัย มข.

ภาคผนวก

ภาพกิจกรรมที่เกิดจากผู้เรียน

โพสต์โดย ลือชา คงรุ่ง : [31 ส.ค. 2562 เวลา 12:11 น.]
อ่าน [3345] ไอพี : 27.55.70.156
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,224 ครั้ง
บททดสอบก่อนเกษียณ
บททดสอบก่อนเกษียณ

เปิดอ่าน 10,471 ครั้ง
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน
การทำงานของ"รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์"ในสายตาประชาชน

เปิดอ่าน 13,085 ครั้ง
หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย
หลากเทคนิค ช่วยให้นอนหลับสบาย

เปิดอ่าน 10,643 ครั้ง
รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ
รถอัจฉริยะ-ไร้คนขับ

เปิดอ่าน 9,291 ครั้ง
เมื่อต้องลงโทษลูก
เมื่อต้องลงโทษลูก

เปิดอ่าน 13,279 ครั้ง
วิธีสำหรับทำให้ผิวขาวใส แบบไร้สารเคมี
วิธีสำหรับทำให้ผิวขาวใส แบบไร้สารเคมี

เปิดอ่าน 7,003 ครั้ง
ธอส.เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี พิมพ์เขียว แบบ "บ้านรักษ์โลก" งบไม่เกิน 1-2 ล้าน
ธอส.เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี พิมพ์เขียว แบบ "บ้านรักษ์โลก" งบไม่เกิน 1-2 ล้าน

เปิดอ่าน 1,265 ครั้ง
วิธีขอใบกำกับภาษี 7-Eleven เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่าน EASY E-Receipt
วิธีขอใบกำกับภาษี 7-Eleven เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีผ่าน EASY E-Receipt

เปิดอ่าน 18,716 ครั้ง
MPEG คืออะไร
MPEG คืออะไร

เปิดอ่าน 695,872 ครั้ง
บัณฑิตน้อย "ความบ้าใบ" ของการศึกษาไทย โดย ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง
บัณฑิตน้อย "ความบ้าใบ" ของการศึกษาไทย โดย ผศ.ดร.ประภาศ ปานเจี้ยง

เปิดอ่าน 45,584 ครั้ง
มารู้จักชื่อและหลักเกณฑ์การกำหนดเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหารกันบ้าง โดย พล.ท.ทวี แจ่มจำรัส
มารู้จักชื่อและหลักเกณฑ์การกำหนดเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการทหารกันบ้าง โดย พล.ท.ทวี แจ่มจำรัส

เปิดอ่าน 5,560 ครั้ง
วันเกิด...บอกนิสัยการทำงาน
วันเกิด...บอกนิสัยการทำงาน

เปิดอ่าน 10,390 ครั้ง
8 สิ่งต่อไปนี้ดีต่อผิวจริง ๆ
8 สิ่งต่อไปนี้ดีต่อผิวจริง ๆ

เปิดอ่าน 70,973 ครั้ง
คลื่นความร้อนหรือ "ฮีทเวฟ" (Heat wave)
คลื่นความร้อนหรือ "ฮีทเวฟ" (Heat wave)

เปิดอ่าน 12,613 ครั้ง
O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร คลิปแนะครูไทย เปลี่ยนวิธีสอนเด็กแบบ ท่อง-จำ
O-net ย่ำแย่ แก้ที่ใคร คลิปแนะครูไทย เปลี่ยนวิธีสอนเด็กแบบ ท่อง-จำ

เปิดอ่าน 11,094 ครั้ง
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมสัมมนาการรับนักเรียนปีการศึกษา 2556
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมสัมมนาการรับนักเรียนปีการศึกษา 2556
เปิดอ่าน 9,457 ครั้ง
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เสียงสะท้อนจากนิทานเรื่องมดน้อย ของลุงตู่ ต่อการปฏิรูปการศึกษา : โดย เพชร เหมือนพันธุ์
เปิดอ่าน 11,163 ครั้ง
ขนุนอินโดนีเซีย
ขนุนอินโดนีเซีย
เปิดอ่าน 14,333 ครั้ง
ค่านิยม 12 ประการ "MV ลูกทุ่ง"
ค่านิยม 12 ประการ "MV ลูกทุ่ง"
เปิดอ่าน 23,274 ครั้ง
วิเคราะห์อำนาจจำแนก
วิเคราะห์อำนาจจำแนก

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ