ชื่อเรื่อง การพัฒนายุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
ผู้วิจัย นางเจียมจิตร สีสันต์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนายุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
2) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 4) เพื่อประเมินคุณภาพของโรงเรียนสอนคิดตามยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความต้องการในการพัฒนา การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร และสภาพการนิเทศการสอนคิดในปัจจุบัน ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) และการประชุม และยกร่างยุทธศาสตร์ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ระยะที่ 4 การประเมินคุณภาพของโรงเรียนสอนคิดตามยุทธศาสตร์
การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 32 คน โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ที่ร่วมกิจกรรม นิเทศ
การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selected) โดยใช้ครูทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) คู่มือการใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 2) แบบประเมินผลการใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 64 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 - 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 3) แบบประเมินคุณภาพของโรงเรียนสอนคิดตามยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 - 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการนิเทศ คือ การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เป็นการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ ครูยังขาดเจตคติ แรงจูงใจ ความรู้ ทักษะ ศึกษานิเทศก์มีจำนวนจำกัด ครูมีภาระงานอื่นมาก ผู้นิเทศ ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดความชัดเจน ทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ ขาดการ ไม่มีรูปแบบ สื่อ หรือเครื่องมือการนิเทศที่ชัดเจน ไม่มีการนำผลการนิเทศภายมาใช้
2. ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ยุทธศาตร์ จำนวน 9 ข้อ
และกลยุทธ์ จำนวน 45 ข้อ มีผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม
และความถูกต้อง ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60, = 0.51)
3. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม พบว่า วิสัยทัศน์ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.62, = 0.56)
พันธกิจ อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.54) เป้าประสงค์ อยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.55, = 0.46) และยุทธศาสตร์ อยู่ในระดับ มาก ( =4.65, = 0.53)
4. ผลการประเมินคุณภาพของโรงเรียนสอนคิดตามยุทธศาสตร์การนิเทศการสอนคิด
ตามแนวทาง Thinking School เพื่อพัฒนาครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ตามแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมการคิด ประกอบด้วย 1) การบริหารวิชาการที่ส่งเสริมการคิด 2) การบริหารงบประมาณที่ส่งเสริมการคิด 3) การบริหารงานบุคคลที่ส่งเสริมการคิด และ 4) การบริหารทั่วไป
ที่ส่งเสริมการคิด ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75, = 0.62)