ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
บทความวิจัย เรื่อง ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนนวมินทราช

บทความวิจัย

ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ดร.วินนารัชน์ ชัยวิทยนันต์*

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ผลจากการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 นั้น คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การจะให้การจัดการศึกษาในโรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายต้องอาศัยทรัพยากรที่จำเป็น 4 อย่าง คือ คน เงิน วัสดุ การจัดการ ซึ่งการใช้ทรัพยากรทั้ง 4 ให้เกิดประโยชน์ต้องคำนึงถึง 3 หลัก คือ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ และหลักประสิทธิผล

ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มี 5 ยุทธศาสตร์หลัก 20 ยุทธศาสตร์รอง 20 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือต้องมีการพัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงให้กับคณะครู ผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3

* รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

มีการส่งเสริม พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความตระหนักถึงภารกิจหน้าที่และการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม และปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ศึกษาเห็นว่าการจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ที่ดี ควรมีทิศทางหรือแนวทางการปฏิบัติเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ทั้งนี้โรงเรียนสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการประเมินผลงานประจำปี งบประมาณ และใช้ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้

คำสำคัญ : ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์, การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Strategic proposals for the development of learning resources management

based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency

educational institution criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School

Dr.Winnarat Chaiwittayanan*

Abstract

This is a quantitative study to examine strategic proposals for the development of learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the Sufficiency education criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School. The sample included the faculty members of Nawaminthrachinuthit Satriwithaya 2 School. The results showed that the development of learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School was of the highest level of quality and achieving the school education management goals requires four essential resources: people, money, materials, and management, where the utilization of all four resources should give an important consideration into three main pillars; equality, effectiveness, and efficiency.

Strategic proposals for the development of the learning resources the management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School are comprised of five primary strategies and twenty secondary strategies. Namely, Strategy 1: develop the planning and management regarding the promotion of learning resources

*Deputy Director, Senior Professional Level Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School

Doctor of Education (Educational Administration) Bangkokthonburi University

the management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 2: develop the understanding of curriculum preparation and learning activities through supervision/monitoring/evaluation for learning resources the management b based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria for academic personnel, stakeholders, and community. Strategy 3: promote and develop a learner assistance system in problem-solving and student development following sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 4: raise awareness of obligations, develop and promote personnel who are responsible for the development of the learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 5: promote and culture sufficiency attributes among concerned parties to have knowledge and understanding of sufficiency economy philosophy. The author thought that an effective strategic proposal should be comprised of the direction or practice guideline following the vision of learning resources development. In addition, the schools may apply the strategic plan as a framework for annual performance appraisal and budget, and as a framework for formulating an action plan for the annual expenditure budget preparation.

Keywords: Strategic Proposal, Learning Resources Management based on the Sufficiency Economy Philosophy

บทนำ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขนาดเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี คือ ความสมดุลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

โดยการเดินทางสายกลางของความพอเพียง นั้นคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามเงื่อนไข 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรมซื่อสัตย์ อดทน เพียร มีสติ ปัญญา ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 25 ที่กล่าวว่ารัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบและอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพตรงตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ในมาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ว่า “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552 : 5) เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารการศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร 5) ด้านผลลัพธ์

การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้และสาระที่กำหนด ไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ และโดยโรงเรียนต้องมีการจัดแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นภารกิจที่โรงเรียนต้องรับผิดชอบ โดยเริ่มจากการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เป็นระบบ วางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ จัดตั้งบุคลากรรับผิดชอบดูแล มีการควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ รวมทั้งแสวงหาแหล่งเรียนรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของครูในฐานะผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ, 2551 : 135)

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2535 โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้ทำการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยเป็นการนำแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ภายในโรงเรียนมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้จากสภาพจริงโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ครู เพื่อนในห้องเรียน เพื่อนต่างห้องเรียน บุคลากรภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ศูนย์อาหารนวมินทราชินูทิศ ร้านกาแฟนวมินทราชินูทิศ ห้องน้า ห้องเรียน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศิลปะ ศูนย์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ใบไม้ ก้อนหิน ดิน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สวนเกษตร สวนสมุนไพร สนาม สวนดอกไม้ สวนหย่อม สวนผักแนวตั้ง เป็นต้นจากการประเมินสถานศึกษาพอเพียงของคณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปีการศึกษา 2562 ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 พบว่า ในด้านของผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านผลลัพธ์ อยู่ในระดับ ดีมาก และนอกจากนี้คณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่ ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับในการประเมินรอบต่อไป คือมีด้านใดบ้างที่การพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมมีคุณภาพมากขึ้น และจะมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในการประเมินสถานศึกษาพอเพียงในครั้งต่อไปอย่างไร

ผู้ศึกษาในฐานะที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จึงมีความสนใจศึกษาสภาพบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน และกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในการประเมินสถานศึกษาพอเพียงในครั้งต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

2. เพื่อหาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

3. เพื่อกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

วิธีการวิจัย

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ประชากร

คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จำนวนทั้งหมด 105 คน ปีการศึกษา 2562

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่รับผิดชอบการนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 98 คน

เครื่องมือการวิจัย

ใช้แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านผลลัพธ์

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาเหตุและปัจจัยเพื่อพัฒนาการบริหำรจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตมเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คนหัวหน้างานบุคคล จำนวน 1 คน หัวหน้าวิชาการ จำนวน 1 คน หัวหน้าอาคารสถานที่ จำนวน 1 คน ครูผู้ดูแลรับผิดชอบงานแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามทางที่โรงเรียนแต่งตั้ง จำนวน 1 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้

แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)

ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้โดยซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการงานด้านวิชาการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และหัวหน้างาน 4 งาน (งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป) ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้

แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง

สรุปผลการวิจัย

จากผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง สรุปได้ดังนี้

1. สภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้ดังนี้

1.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ ดำเนินการตาม แผนงาน/ โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ตามลำดับ

1.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ มีแผนจัดการเรียนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ

1.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ แผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียน “อยู่อย่างพอเพียง” รองลงมาคือ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสำและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ

1.4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ให้ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามลำดับ

1.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง ตามลำดับ

1.6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการดำเนินงาน ที่ได้มากกว่าด้านอื่น คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่น คือ ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์คณะครูผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับการนาหลักทรัพยากรทางการบริหาร 4 M’s คือ 1) ด้านบุคลากร (Man) 2) ด้านงบประมาณ (Money) 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Materials) 4) ด้านการจัดการ (Management) มาบริหารจัดการได้ดังนี้

2.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

การบริหารจัดการสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

2.1.1 บุคลากรหรือคน (Man) จัดโครงสร้างการบริหารงาน เพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรให้ชัดเจนมีการวางแผนการดำเนินงานโดยมีนโยบายในแผนการปฏิบัติงาน มีการบูรณาการกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนในแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการดำเนินการจัดกิจกรรมตามหลักปรัชญาตามแผนงานหรือโครงการพร้อมทั้งมีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีการติดตามผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

2.1.2 เงินหรืองบประมาณ (Money)โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้มีการกำหนดนโยบายการวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในด้านการจัดทำสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรที่ชัดเจน มีการสนับสนุนด้านอำนวยความสะดวกในเรื่องของงบประมาณ ทำให้เกิดการบริหารงบประมาณได้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ และส่งผลดีต่อการตั้งงบประมาณในการพัฒนาในปี การศึกษาต่อไป สนับสนุนงบประมาณในรูปแบของโครงการ กิจกรรมการพัฒนาการปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.1.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) มีการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ มีการตกแต่งอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.1.4 การจัดการ (Management) มีระบบการบริหารองค์การและแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้พร้อมต่อการบริการสำหรับผู้เรียนหรือบุคคลที่เข้ามาศึกษาดูงานโดยให้ครูมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยการ ดำเนินการตามแผนงานการสอนตามโครงการได้ให้นโยบายให้กับบุคลากรในการสอดแทรกเนื้อหาของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยบริหารงานโดย ดร.กัมพล ไชยนันท์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา และโรงเรียนได้ดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

2.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

2.2.1 บุคลากรหรือคน (Man)

มีการจัดครูและบุคลากรสนับสนุนในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมให้เต็มตามความสามารถของบุคลากร โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน นักเรียนและครูมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีการใช้สื่อที่ผลิตเองในการสอนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม มีการจัดครูและบุคลากร สนับสนุนในการเรียนการสอน/ การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามความสามารถของบุคคล

2.2.2 เงินหรืองบประมาณ (Money)

สนับสนุนเงินหรืองบประมาณตามกิจกรรม หลักสูตรและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใช้ตอบรับกิจกรรมในหลักสูตรสถานศึกษาได้ใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงบประมาณในการผลิตสื่อและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สนับสนุนตามกิจกรรม/หลักสูตร/ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้ตอบรับกิจกรรมในหลักสูตรสถานศึกษา

2.2.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials)

จัดทำแผนการสอน หลักสูตร กิจกรรมที่ดำเนินการมีการใช้สื่อที่ผลิตเองในการสอนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีการจัดทำเครื่องมือวัดผลประเมินผลโดยใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่มีความหลากหลาย จัดตามแผนหลักสูตร กิจกรรมที่ดำเนินงาน และตกแต่งอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2.2.4 การจัดการ (Management)

การวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาตามศักยภาพของผู้เรียน การใช้แหล่งเรียนรู้ การดูแล การพัฒนามีทักษะดูแลอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องได้จัดทำหลักสูตรการเรียนหรือแผนการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการติดตามนิเทศและการประเมินผลบูรณาการการเรียนการสอนสู่ทุกระดับชั้นมีการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนตามศักยภาพ การเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ การดูแลการพัฒนามีการดูแลอย่างใกล้ชิด

2.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

2.3.1 บุคลากรหรือคน (Man) มีการให้ครูผู้สอนหรือบุคลากรที่รับผิดชอบสนับสนุนอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนให้เต็มความสามารถและจิตอาสำจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้เป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ ตามบริบทของโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพ ซึ่งมีการจัดทำหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

2.3.2 เงินหรืองบประมาณ (Money) จัดสรรงบประมาณให้กับทุกโครงการและทุกกิจกรรมการเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับคณะครูในโรงเรียนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ มีการตั้งงบประมาณตามแผนงานของโครงการ มีการจัดสรรงบประมาณให้กับทุกโครงการและทุกกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดงบประมาณตามแผนโครงการ

2.3.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) สร้างความเข้าใจกับคณะครูในโรงเรียนในเรื่องการจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ จัดตามแผนงานกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดทำโครงสร้างหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้

2.3.4 การจัดการ (Management) มีการติดตามในระบบ PDCA จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพ ซึ่งมีการจัดทำหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน แต่จะเน้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวิธีการคิดและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานของการใช้คุณธรรมนาความรู้

2.4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

2.4.1 บุคลากรหรือคน (Man)การจัดอบรม สร้างความตระหนักแก่คณะครูในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปพัฒนาให้เข้ากับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมนำความรู้ และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีคุณภาพ

2.4.2 เงินหรืองบประมาณ (Money) สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการในสถานศึกษา และงบประมาณในการศึกษาดูงานนอกสถานที่ สนับสนุนให้มีการอบรม หรือจ้างวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้ด้านงบประมาณควรมีการจัดเตรียมให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของบุคลากร มีการเตรียมความพร้อมวางแผนการจัดทำงบประมาณสำหรับการเบิกจ่ายของบุคลากรในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา

2.4.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) มีการควบคุมการทางานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย จัดทำแผนงานการพัฒนางานตามกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของบุคลากรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และให้ความสำคัญกับการสร้างขวัญและกำลังใจอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร เพื่อให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

2.4.4 การจัดการ (Management) มีการใช้ระบบการตรวจสอบกระบวนการ PDCA ได้จัดทำโครงการที่สร้างให้คณะครูและบุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาแหล่งเรียนรู้ การดูงานนอกสถานที่ และโรงเรียนยังส่งเสริมให้คณะครูและบุคลากรแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

2.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่ง แต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้

2.5.1 บุคลากรหรือคน (Man) มีบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะในการดำเนินกิจกรรม ส่งผลกับผู้เรียนให้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร นักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครองนักเรียนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน และจัดอบรมหรือจัดให้มีการออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาให้แก่บุคลากร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.5.2 เงินหรืองบประมาณ (Money) มีการตั้งงบ ประมาณในการพัฒนาในปี การศึกษาต่อไป ได้คำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างงบประมาณกับการจัดกิจกรรม และใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงบประมาณในการผลิตสื่อและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและงบประมาณที่ใช้พัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมโดยภายใต้เงื่อนไขนโยบายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา

2.5.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านวิทยากรในท้องถิ่น และทุนทรัพย์ในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ จึงทำให้มีแหล่งเรียนรู้ที่มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับผู้เรียนและเพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน มีการใช้สื่อที่ผลิตในการสอนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตกแต่งสถานที่ในโรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.5.4 การจัดการ (Management) การบริหารจัดการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้ดำเนินงานไปในทิศทางที่ดีสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์หลักสถานศึกษาและสามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และสามารถใช้ระบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน การสะท้อนของนักเรียนเพื่อนำมาพัฒนาด้านต่างๆ ต่อไป จัดกิจกรรมในสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาหรือสู่ชุมชน นำผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู บุคลากร นักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครองนักเรียนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน

3. ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โดยใช้กระบวนการบริหาร PDCA ประกอบด้วย P-Planning D-Do C-Check A-Act ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์หลัก 20 ยุทธศาสตร์รอง ดังนี้

ยุทธศาสตร์หลักที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา พัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

1.1 กำหนดทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ที่ต้องใช้ในการดำเนินงานการบริหารจัดการสถานศึกษา

1.2 ใช้แหล่งเรียนรู้ในการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างคุ้มค่า

1.3 ให้ความช่วยเหลือตรวจสอบ เพื่อความสะดวกของบุคลากรในการบริหารจัดการสถานศึกษา

1.4 ปฏิบัติตามแผนที่กำหนด แก้ไขวางแผนพัฒนาดำเนินงานต่อไป โดยเน้นการมีส่วนร่วม

ยุทธศาสตร์หลักที่ 2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตาม เกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงให้กับคณะครูผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชน

2.1 พัฒนาการเรียนการสอนและเทคนิคต่างๆ สำหรับคณะครูและบุคลากรเพื่อประสิทธิภาพในการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการพัฒนาตนเองในด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2.3 ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

2.4 เผยแพร่นโยบาย แผนงานและสร้างความเข้าใจตรงกันในการทางานที่เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้

ยุทธศาสตร์หลักที่ 3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่งเสริม พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

3.1 จัดโครงสร้างการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา

3.2 จัดอบรมให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา เรื่องพัฒนาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3.3 เปิดโอกาสบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

3.4 ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านงานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา

ยุทธศาสตร์หลักที่ 4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา สร้างความตระหนักถึงภารกิจหน้าที่ และการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

4.1 ส่งเสริมให้บุคลากรใช้แหล่งเรียนรู้ในการส่งเสริมการเรียนรู้

4.2 มีการจัดระบบทรัพยากรในด้านต่างๆมาสนับสนุนการดำเนินงานของบุคลากร

4.3 สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรที่สามารถดำเนินการได้บรรลุผลสำเร็จตามภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ

4.4 ประเมินและรายงานผลการดำเนินงานการบริหารงานของบุคลากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง

ยุทธศาสตร์หลักที่ 5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ส่งเสริม และปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.1 กำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จในเรื่องของคุณลักษณะสถานศึกษาพอเพียง

5.2 สร้างเครือข่ายการพัฒนาส่งเสริมคุณลักษณะความพอเพียงในสถานศึกษา

5.3 ปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียงที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.4 ติดตามประเมินผลการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพของคุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง

โครงการ/กิจกรรม

1. โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ บุคลากรในสถานศึกษา

2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในการจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. โครงการพัฒนาระบบบริหารสถานศึกษาแบบพอเพียง

4. โครงการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาพอเพียง

5. โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสำคัญ

6. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

7. โครงการนิเทศเพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้

8. โครงการส่งเสริมการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างรอบด้าน

9. โครงการส่งเสริมสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

10. โครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความพอเพียงรักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

11. โครงการพัฒนาการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

12. โครงการส่งเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

13. โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มศักยภาพ

14. โครงการพัฒนาครูและบุคลากรให้สามารถใช้สื่อ ICT และแหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน

15. โครงการพัฒนาครูให้ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

16. โครงการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในการใช้แหล่งเรียนรู้

17. โครงการพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญาและเป้าหมาย

18. กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะด้านความพอเพียง

19. โครงการฝึกทักษะชีวิต และปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียง

20. โครงการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

อภิปรายผล

จากการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 นั้น คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีสภาพการดำเนินการน้อยที่สุดคือ ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ทั้งนี้เพราะบุคลากรมีความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพราะเป็นผู้ที่ต้องนาแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับเหตุและปัจจัยของ สมศักดิ์ คงเที่ยง (2548 : ไม่ปรากฏเลขหน้า) กล่าวว่า ความสำคัญและความจำเป็นของการบริหารงานบุคคล การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ต้องคำนึงถึง 3 หลัก คือ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ และหลักประสิทธิผล โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและให้ความรู้แก่สมาชิกในสังคม ในโรงเรียนมีขอบข่าย ปัจจัยหลายอย่างที่ต้องดำเนินงาน ซึ่งทุกภารกิจมีความสำคัญ และจำเป็นที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนกัน ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆมีความสำคัญ คนนับว่ามีความสำคัญ เพราะคนเป็นผู้ใช้ปัจจัยในการบริหารอื่นๆ ดังนั้นการจัดการศึกษาจะมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผลเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับคนในองค์การ

ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มี 5 ยุทธศาสตร์หลัก 20 ยุทธศาสตร์รอง 20 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือต้องมีการพัฒนาระบบวางแผนและ การบริหารจัดการเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา(2544 : 14) ที่ได้เสนอแนวทางการบริหารแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีระบบการบริหารที่ดีโดยมีระบบวงจรควบคุมคุณภาพ PDCA ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนการดำเนินงานตามแผน การตรวจสอบความร่วมมือในการพัฒนาและการปรับปรุง เพื่อบริหารแหล่งเรียนรู้ และยังสอดคล้องกับของสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2546 : ไม่ปรากฏเลขหน้า) ที่กล่าวว่า การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้มีความสำคัญที่จะนาไปสู่การวิเคราะห์ (Analysis) ความสอดคล้องระหว่างแหล่งเรียนรู้กับหลักสูตรสาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัด บริบทของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงให้กับคณะครู ผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับชารี มณีศรี (2542 : 52-53) ที่กล่าวว่า การนิเทศเป็นการกระทาของผู้บริหารร่วมกับครูในการพัฒนาการเรียนการสอน โดยผู้บริหารโรงเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้การนิเทศบรรลุผลและเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอนในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ และยังสอดคล้องกับ บุญคำ ใจหนัก (2545 : 7) กล่าวว่า เป็นกระบวนการในการปฏิบัติงานร่วมกันของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่ครูหรือผู้สอน เพื่อให้เป็นครูที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนที่ เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนได้รับผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่จากการสอนของครู รวมทั้งบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโรงเรียนที่ตั้งไว้ทุกประการ ยุทธศาสตร์ที่ 3 มีการส่งเสริม พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับ อวยชัย ศรีตระกูล (2556 : 90-91) ที่ศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่าผู้บริหารครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมสำคัญ ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการพัฒนาและสรุปผลการทำงานร่วมกันอยู่สม่ำเสมอ การประสานงานเป็นหัวใจของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูต้องใช้ทักษะการประสานงานรอบด้าน ใช้เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการสร้างสัมพันธภาพอันดีเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความตระหนักถึงภารกิจหน้าที่และการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Livingstone Makondo (2014 : 179 - 186) โดยกล่าวว่า การพัฒนาระดับองค์กรจะต้องมุ่งพัฒนาคนให้เกิดความเชี่ยวชาญ ดังนั้นนโยบายและกลยุทธ์องค์กร เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อบุคลากรสายวิชาการโดยจะต้องเป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง จะต้องกำหนดเป็นนโยบายขององค์กร ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม และปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับของ Lopez, J. & Scott, J. (2000 : Unpaged) ที่กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในสถานศึกษา ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และสิ่งที่ท้องถิ่นมีส่วนช่วยเหลือในการศึกษาให้แก่สถานศึกษาได้ดี คือ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นให้ยั่งยืน และสอดคล้องกับของภาษิต บุษมงคล (2544 : ไม่ปรากฏเลขหน้า) การใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ควรมีการวางแผนร่วมกันควรประชาสัมพันธ์ให้เห็นความสำคัญ จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน ควรสำรวจ และจัดทำข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นประเภทต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน

ข้อเสนอยุทธศาสตร์เป็นแนวทางร่วมกันที่จะนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลดีกับสถานศึกษาเพื่อบรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ที่กำหนดในทางการศึกษา ดังนั้นผู้ศึกษาเห็นว่าการจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ที่ดี ควรมีทิศทางหรือแนวทางการปฏิบัติเป็นไปตามวิสัยทัศน์หรือเป้าประสงค์ขององค์การ

รายการอ้างอิง

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.

ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2557). หลักการบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : เพชร.

บุญคำ ใจหนัก. (2545) การนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

ภาษิต บุษมงคล. (2544). การใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

มัธยมศึกษา จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร:

ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. (2548). การวางแผนกลยุทธ์: ศิลปะการกำหนดแผนองค์การ

สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: อินโนกราฟฟิกส์.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง

แอนด์พับลิชชิ่ง.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2545). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

อวยชัย ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

Livingstone Makondo. (2014). Academic Advising in Universities: Concept Paper. Kamla-Raj 2014, ACADEMIC ADVISING, J Sociology Soc Anth, 5(2).

Lopez, J & Scott, J. (2000) Social Structure, Open Univ. Press

โพสต์โดย ปริญญฉัษฎ์ ชัยวิทยนันต์ : [29 พ.ค. 2564 เวลา 21:24 น.]
อ่าน [2748] ไอพี : 110.169.30.114
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,997 ครั้ง
เมนู "ปลาทู" ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3
เมนู "ปลาทู" ใกล้ตัวอุดมโอเมก้า-3

เปิดอ่าน 10,841 ครั้ง
แก้ปวดหัวด้วยน้ำ
แก้ปวดหัวด้วยน้ำ

เปิดอ่าน 13,277 ครั้ง
ทำไมตัวอักษรในแป้นพิมพ์ถึงไม่เรียงเป็น A B C??
ทำไมตัวอักษรในแป้นพิมพ์ถึงไม่เรียงเป็น A B C??

เปิดอ่าน 18,761 ครั้ง
อาการ ไอ แก้ได้ไม่ง้อยา
อาการ ไอ แก้ได้ไม่ง้อยา

เปิดอ่าน 66,454 ครั้ง
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม

เปิดอ่าน 20,415 ครั้ง
ฝนดาวตกสิงโต
ฝนดาวตกสิงโต

เปิดอ่าน 54,663 ครั้ง
กษัตริย์อาร์เธอร์ กับอัศวินโต๊ะกลม
กษัตริย์อาร์เธอร์ กับอัศวินโต๊ะกลม

เปิดอ่าน 18,116 ครั้ง
เฉาก๊วยทำมาจากอะไร
เฉาก๊วยทำมาจากอะไร

เปิดอ่าน 22,008 ครั้ง
วิธีจัดห้องเพื่อพัฒนาสมอง
วิธีจัดห้องเพื่อพัฒนาสมอง

เปิดอ่าน 13,983 ครั้ง
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"
ผู้เรียนและสังคมได้อะไร จากนโยบาย"ลดเวลาเรียน เพิ่มการเรียนรู้"

เปิดอ่าน 22,162 ครั้ง
บุญบั้งไฟ
บุญบั้งไฟ

เปิดอ่าน 13,363 ครั้ง
ฟ้าทะลายโจร ยอ หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรต้านอนุมูลอิสระ
ฟ้าทะลายโจร ยอ หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรต้านอนุมูลอิสระ

เปิดอ่าน 1,293,501 ครั้ง
อริยสัจ 4
อริยสัจ 4

เปิดอ่าน 14,991 ครั้ง
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"
ใช้เทคโนโลยีสร้าง "การคิดวิเคราะห์"

เปิดอ่าน 29,801 ครั้ง
อยากลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น อย่าพลาดผัก-ผลไม้เหล่านี้นะ
อยากลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น อย่าพลาดผัก-ผลไม้เหล่านี้นะ

เปิดอ่าน 9,360 ครั้ง
ปัญหาทั่วไปในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการแก้ไข
ปัญหาทั่วไปในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการแก้ไข
เปิดอ่าน 107,180 ครั้ง
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
เปิดอ่าน 32,426 ครั้ง
ศิลปะการเห่เรือ
ศิลปะการเห่เรือ
เปิดอ่าน 122,606 ครั้ง
ความหมายของวัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม
เปิดอ่าน 15,671 ครั้ง
ฮือฮา! ครูสาวสุดทุ่ม ตัดชุดบอดี้สูททั้งตัวสกรีนภาพเหมือนอวัยวะภายในร่างกายสอนวิชากายวิภาค
ฮือฮา! ครูสาวสุดทุ่ม ตัดชุดบอดี้สูททั้งตัวสกรีนภาพเหมือนอวัยวะภายในร่างกายสอนวิชากายวิภาค

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ