Advertisement
จากหัวเรื่องให้ได้คิดกัน คิดกันว่าจะสอนอย่างไรให้เด็กคิดเขียนเรื่อง เพราะถ้าครูสามารถถอดรหัสตัวนี้ได้ ครูก็จะฝ่าด่านการปวดหัวในเรื่องที่เด็กเขียนไม่เป็นเรื่องได้ ผมเองนั้นชอบที่จะศึกษาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ แล้วบันทึกไว้ในสมุดบันทึกการสอนระหว่างทำการสอนหรือ บันทึกไว้ในสมุดผลงาน หรือ "หนังสือเรียนเขียนด้วยเด็ก" (ผมเรียกผลงานของเด็กที่เขียนเป็นเล่มส่งผมว่าอย่างนี้) หากพบสิ่งน่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถบันทึกได้ ผมจะบันทึกไว้เมื่อพบเห็นบ่อยๆ สังเกตบ่อยๆ คิดหาเหตุ - ผลบ่อยๆ แล้วจึงมานำสรุป ผมก็จะได้ความรู้เคล็ดลับในเรื่องนี้ เจ้าเคล็ดลับนี่แหละที่ผมต้องการจะได้ เพราะนี่คือวิชาครู
เมื่อผมเรียนวิทยากล ผมต้องลงทุนจ่ายค่ารถเดินทางจากยะลา เข้ากรุงเทพฯ จ่ายเงินแสวงหาเคล็ดลับของการเล่นกล จนผมพอจะเล่นได้ เมื่อผมเป็นครูผมต้องลงทุนในเรื่องทุ่มเทเวลาให้กับการเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กผู้เรียน จดบันทึกไว้ แล้วค่อยๆ นำมาประมวลเป็นหลักการ นำหลักการไปทดลองซ้ำๆ จนเห็นว่าใช่แล้ว ก็สรุปได้ว่าใช่จริง ผมถือเป็นกฎ เมื่อพบปัญหาคล้ายๆ หรือเหมือนกันผมก็จะนำกฎนั้นมาแก้ปัญหา พบความสำเร็จบ่อยๆ ก็สรุปเป็นทฤษฎี ผมฝึกของผมอย่างนี้
|
ภาคเรียนนี้ผมเพิ่งกลับเข้าสู่โรงเรียน กลางเดือนมิถุนายน 2544 ผมสอนชั้น ป.3 ร่วมกับน้องๆ เพื่อนครู นักเรียน ป.3 ปีนี้น่ารัก ตัวเล็กๆ อ่านหนังสือได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เขียนได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นไปตามประสาเด็ก แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่ดื้อรั้นเหมือนรุ่นก่อนๆ ผมคิดว่าคงจะเหนื่อยกับการควบคุมชั้นน้อยหน่อย ถ้าจะเหนื่อยก็เหนื่อยกับการกระตุ้นให้รีบเรียน เร่งค้นหาความรู้ เด็กๆ ที่ซุกซนจะสนใจเรื่องหลายทิศทาง ส่วนเด็กที่ไม่ซุกซนยากที่จะเดาใจ ผมไม่ชอบเด็กเซื่องๆ ซึมๆ ตามใจครูสั่ง ผมชอบเด็กที่ท้าทายคำสั่งครู เพราะเด็กเหล่านี้ฉลาดที่จะหาทางมาแกล้งครู เพื่อแอบซ่อน (จะไม่) ทำงาน ที่วงเล็บนั้นหมายความว่าเด็กจะทำงาน ต่อเมื่อครูชนะเขา เราต่อสู้ทางปัญญากันบ่อย และผมก็ชนะเขาบ่อยๆ แพ้เด็กก็มีนะครับ อย่าคิดว่าครูชนะทุกครั้ง แล้วเด็กก็จะพูดว่า "ครูครับ ผมชนะครู" และเขาก็จะไปทำงานให้ผมเหมือนกัน แต่บ่อยครั้งที่ผมแกล้งทำแพ้เด็ก เพื่อจะรู้ว่า "ลูกไม้" ต่อไปเขามีอะไรบ้าง
เกมสนุกที่ผมกับเด็กมีโอกาสได้ทดสอบปัญญากันนั้น ช่วยให้ผมได้เรียนรู้เรื่องราวของเด็กๆ มากมาย และแน่นอนทุกอย่างผมจะจดบันทึกไว้ให้เป็นความรู้สำหรับครู จดไว้มากๆ ผมก็นำมาขัดเกลาเขียนต่อให้เป็นเรื่องราว ก็จะได้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนโดยครูบ้านนอกอย่างผม
ปีนี้เด็กๆ ที่เข้ามาเรียนกับผม สังเกตดูอ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง ผมก็บันทึกไว้เป็นรายคน โดยเฉพาะวิธีการเรียนของเด็กแต่ละคน น่าสนใจมาก เด็กบางคนพอให้เขียนเรื่องจะมุ่งไปที่ตู้หนังสือที่รุ่นก่อนๆ เขียนไว้ แล้วมาเลือกเนื้อหาลอกส่งครู พอให้อ่านจะอ่านไม่ได้ แต่ถามว่าเขียนเรื่องอะไร ก็ตอบได้ว่าเรื่องปลา และเล่าเรื่องได้ ภาษาที่นำมาเขียน ข้อความที่นำมาใช้ ใช่เรื่องนั้นๆ แต่ให้อ่านๆไม่ออก พฤติกรรมของเด็กอย่างนี้มีทุกปีและหลายโรงเรียนเท่าที่ได้พบปะพูดคุยกัน ผมกำลังศึกษาอยู่ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กๆ มีวิธีการดึงข้อความนั้นมาได้อย่างไร ถ้าครูรู้เคล็ดลับ ตรงนี้ก็จะได้วิธีสอนอีกวิธีหนึ่ง และจะเรียนรู้ทฤษฎีการสอนอีกทฤษฎีหนึ่ง
ปีนี้ผมมีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อรอซานาเด็กน้อยผิวดำ นิสัยอ่อนโยนน่ารัก ชอบอ่านหนังสือ เล่าเป็นเรื่องได้แต่เขียนไม่ค่อยได้ ผมลองให้หนูน้อยสร้างสมุด "ธนาคารคำ" ขึ้นมา คำใดที่เธอเขียนไม่ได้จะต้องนำสมุดมาให้ครูเขียนให้ ผมหรือครูสุมน (ครูประจำชั้น) จะเขียนวันที่ที่เขียนคำใหม่ให้เด็ก เพื่อเป็นสถิติการเรียนรู้คำประจำวัน
รอซานาจะเขียนเรื่องด้วยวิธีการพูดพึมพำแล้วเขียน พูดไปเขียนไป เสียงดังพอประมาณ ผมชอบความคิดของรอซานามาก เวลาให้เขียนเรื่อง รอซานามักจะเลือกเรื่องแปลกกว่าเพื่อนในชั้นเรียนมาเขียน แต่เรื่องเหล่านั้นมักจะคิดเขียนได้สั้นๆ ผมจะให้รอซานานำเรื่องที่เขียนมาอ่านให้ผมฟัง เป็นการทบทวนและทดสอบว่า คำที่ผมบอกให้นั้น หนูน้อยอ่านออกไหม เขียนได้เพราะครูเขียนให้ดูแล้ว เขียนได้เองไหม อ่านออกไหม ผมเชื่อว่าคำใหม่ ถ้าเด็กเขียนได้ อ่านออกทดสอบ 2-3 ครั้งยังเขียนได้อ่านออก คำนั้นจะคงทน ในความรู้จำของเด็ก ถ้าใช้บ่อยๆ จะรู้จริง และเขียนได้อย่างถาวร
วันนี้รอซานาเขียนเรื่อง "คนดี" มาให้ผมอ่านด้วยลีลาการเขียนแบบเดิม คือ พึมพำไป เขียนไปเด็กน้อยเขียนได้ 2-3 บรรทัดก็นำเรื่องมาส่งครู ผมให้อ่านให้ฟังแล้วถามว่า
คำถามสั้นๆ จะกระตุ้นความคิดให้เด็กน้อยคิดข้อความมาเขียนเรื่องต่อ ในที่สุด รอซานา ก็เขียนได้ว่า
รอซานาเขียนเรื่อง "คนดี" โดยจัดทำเป็นหนังสือเล่มเล็กส่งผมในเย็นวันที่ 27 กรกฎาคม 2544 และในวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 รอซานาก็เขียนเรื่อง "วินัย" ส่งผมอีก เด็กน้อยจัดทำเป็นเล่มสวยงาม เธอเขียนว่า
จะเห็นได้ว่า รอซานาสามารถพัฒนาการคิดการเขียนขึ้นมาได้ จาการที่ครูต้องกระตุ้นเด็กด้วยคำถามและถามบ่อยๆ เพื่อให้เด็กน้อยคิดต่อ
เพื่อนครูจะเห็นได้ว่า ผมมีปัญหาตรงที่รอซานาขาดการคิดเขียนเรื่องยาวๆ ผมศึกษาสาเหตุ เมื่อค้นพบแล้วก็คิดวิธีแก้ไข ในที่สุดผมแก้ได้สำเร็จ ผมสามารถนำมาเขียนเป็นวิจัยในชั้นเรียนได้อีกเรื่องหนึ่ง
งานสอนของเพื่อนครูถ้าจัดทำให้เป็นกระบวนการเป็นระบบ ก็จะได้ผลงานที่ดี มีผลตอบแทนเป็นเนื้องานให้เพื่อนครูได้ทุกเวลาครับผม
โดย : ชาตรี สำราญ
|
ที่มาข้อมูล : http://www.newschool.in.th
ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com
|
🥰 น้อนน่ารัก 🥰 พร้อมส่ง ส่งฟรี โปรโมชั่น ตุ๊กตานุ่ม รูปการ์ตูน Tiktok Capybara Kapibara น่ารัก ของขวัญวันเกิด สําหรับเพื่อน แฟนสาว ในราคา ฿297 - ฿470 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/5AceZG8iGR?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 11,098 ครั้ง เปิดอ่าน 1,603 ครั้ง เปิดอ่าน 12,412 ครั้ง เปิดอ่าน 12,652 ครั้ง เปิดอ่าน 12,926 ครั้ง เปิดอ่าน 45,602 ครั้ง เปิดอ่าน 31,069 ครั้ง เปิดอ่าน 10,429 ครั้ง เปิดอ่าน 11,543 ครั้ง เปิดอ่าน 11,182 ครั้ง เปิดอ่าน 12,275 ครั้ง เปิดอ่าน 10,265 ครั้ง เปิดอ่าน 23,885 ครั้ง เปิดอ่าน 18,948 ครั้ง เปิดอ่าน 11,131 ครั้ง เปิดอ่าน 9,913 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,640 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 36,285 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,729 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,372 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,902 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,455 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,872 ครั้ง |
เปิดอ่าน 67,440 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,260 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,409 ครั้ง |
|
|