ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
บทความการศึกษา 28 ธ.ค. 2563 เปิดอ่าน : 51,222 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
Advertisement

อนาคตของนักเรียน: ทักษะแรงงาน รายได้จากการทำงาน และโอกาสจากหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

ดร. ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
jithitikulchai@hsph.harvard.edu


ประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องยกระดับเครื่องจักรทางเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมสูง ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องรองรับด้วยการมีกำลังแรงงานที่มีทักษะการทำงานในระดับสูง (labor force with advanced skills) และยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนมโนทัศน์หรือกระบวนทัศน์ (paradigm) ในการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ผ่านระบบการศึกษา เพื่อไม่ให้ประเทศและประชาชนต้องล้าหลังในอนาคต

เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำไปข้างหน้า แรงงานที่มีทักษะการทำงานในระดับสูง ด้านการคิดวิเคราะห์ (analytical) และการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ (interpersonal) จะสามารถพัฒนาและปรับตัว เพื่อทำงานร่วมกันกับหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ในทางกลับกัน แรงงานราคาถูกที่มีทักษะต่ำ (low-skilled and low-wage workers) จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

การมุ่งเน้นพัฒนาแรงงานที่มีทักษะการทำงานในระดับสูง จะช่วยพัฒนาการเศรษฐกิจระดับมหภาค ในขณะที่ การมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการทำงาน จะมีความสำคัญสำหรับแต่ละคนที่จะมีโอกาสทำงานในอาชีพที่มีอนาคตมั่นคง และช่วยให้คนที่มาจากครอบครัวยากจน สามารถหลุดจากวัฏจักรของความยากจนได้

งานวิจัยของผู้เขียนซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงให้เห็นว่า จังหวัดที่มีสัดส่วนอาชีพที่มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่า จะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ GDP ของจังหวัดเฉลี่ยต่อหัว นั่นคือ รายได้เฉลี่ยของจังหวัดสูงกว่า

ในขณะที่เมื่อพิจารณาในระดับปัจเจกบุคคล อาชีพที่มีทักษะทั้งสองด้านมากกว่า จะมีรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ จะเป็นทักษะสำคัญมากในการกำหนดรายได้ในระดับสูง

ในทางกลับกัน อาชีพที่ใช้ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในระดับต่ำ ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนที่ด้อยโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาคุณภาพ เช่น ต้องเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูไม่ครบชั้นไม่ครบวิชา และไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง นั่นคือ ผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นแรงงานไร้ทักษะ จะมีโอกาสสูงมากที่จะถูกแย่งงานโดยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชีพที่ทำงานใช้ทักษะไม่ค่อยซับซ้อนและมีลักษณะงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้อัลกอริทึ่มมาทำงานได้แม่นยำมากกว่า และมีเทคโนโลยีที่กำลังมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จะเข้ามาทำงานแทนได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ไทยได้ลดจำนวนสาขาและการจ้างงาน แต่มุ่งลงทุนในด้านเทคโนโลยี เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุค digital disruption ในขณะที่ เราได้เห็นตัวอย่างในต่างประเทศที่ระบบคลังสินค้าใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนแรงงานมนุษย์ทั้งหมด และระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ต้องมีคนขับ เราได้เห็นข่าวนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทย พัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถทำอาหารแบบง่าย เช่น ข้าวผัดหรือไข่เจียว หรือ ข่าวของผู้ประกอบไทยพัฒนาหุ่นยนต์ชงชานมไข่มุกที่สามารถกดคำสั่งเลือกประเภทชานมและระดับความหวาน บางคนเคยมีประสบการณ์ซื้อขายหุ้นผ่านระบบอัจฉริยะ high-frequency algorithm trading และ เกือบทุกคนมีประสบการณ์เลือกซื้อของออนไลน์ เลือกดูหนังฟังเพลง streaming หรือ แสดงผลการค้นหา ด้วยคำแนะนำของปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

ถึงแม้ในขณะนี้ยังไม่ทราบชัดเจนว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างแรงงานไทยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผลการวิเคราะห์ของผู้วิจัยพบว่า แรงงานไทยเกือบร้อยละ 10 หรือ 3 ล้านกว่าคน มีโอกาสมากกว่า 95% ที่อาชีพของตนจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

หากนิยามอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง คือ มีโอกาสมากกว่า 70% ในการถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ จะพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานไทย หรือ กว่า 17 ล้านคน ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงที่จะว่างงาน อันเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ผลงานวิจัยโดย ดร. เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และ ดร. วรประภา นาควัชระ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะมีความแม่นยำมากกว่าผลวิเคราะห์ของผู้วิจัย เพราะเป็นการคำนวณโดยปรับแบบจำลอง Machine Learning ให้สอดคล้องกับลักษณะแรงงานไทย ได้แสดงให้เห็นว่า หากตลาดแรงงานไทยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงานและมีองค์ประกอบทักษะแรงงานเหมือนอย่างปัจจุบัน จำนวนแรงงานที่จะเสี่ยงต่อภาวะการไร้งาน (joblessness) คิดเป็นจำนวนสูงถึง 12 ล้านคน หรือ ประมาณ 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานไทยทั้งหมด

ดังนั้น การพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (analytical) และทักษะการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ (interpersonal) เพื่อให้มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ จึงมีผลต่อโอกาสที่จะมีงานทำหรือมีอาชีพที่มั่นคงของคนไทยในอนาคต และมีความสำคัญมากต่ออนาคตของประเทศ

หากประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวได้ทัน แรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานที่มีการศึกษาต่ำ หรือ แรงงานอายุน้อยที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานและไม่ได้เรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขา STEM หรือ แรงงานอายุมากที่ไม่สามารถปรับตัวพัฒนาทักษะได้ จะไม่สามารถมีงานในสาขาอาชีพที่ทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงได้

จากการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาและการพัฒนาทักษะ ผู้เขียนพบว่า ทักษะที่สำคัญในอนาคตมีหลายประการ เช่น Higher-order cognitive skills, Socioemotional skills, และ Digital literacy (World Bank, 2019) หรือ Analytical thinking and innovation, Active learning, Creativity, Technology design & programming, และ Critical thinking and analysis เป็นต้น (World Economic Forum, 2018)

แม้ผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา แต่ก็อยากจะขอกล่าวถึงมุมมองพื้นฐานบางประการเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาทักษะของนักเรียนในอนาคต

คุณครูและผู้บริหารการศึกษา สามารถที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนในการคิดวิเคราะห์ โดยผ่านทางวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แบบมุ่งเน้นให้ชวนคิดอย่างเป็นเหตุผล เป็นลำดับขั้นตอน เพื่อแก้ปัญหา แทนที่จะเป็นการท่องจำสูตร

วิชาทางสังคมศาสตร์ ก็ควรจะเป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือ การสอนเพื่อสร้างทักษะการคิดและการมองโลกแบบหลากหลายมิติ โดยมีกระบวนการวิเคราะห์แบบองค์รวม เข้าใจเหตุผล และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ไม่ใช่เพียงแค่การท่องจำว่า ใครทำอะไรที่ไหน แล้วบันทึกในสมองระยะสั้น เพื่อไปทำข้อสอบปรนัยหวังเพียงเอาคะแนนสอบเท่านั้น

วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเป็นฐานของการพัฒนาทักษะและเข้าถึงความรู้ในระดับสูงของนักเรียนในอนาคต ก็เช่นกัน ควรมุ่งเน้นให้สามารถใช้ภาษาในการเขียน พูด อ่าน ฟัง ไม่ใช่เพียงทำข้อสอบวัดความรู้ทางไวยากรณ์ โดยมีเป้าหมายให้สามารถสื่อสารในระดับการทำงานได้ อันเป็นพื้นฐานของทักษะการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์

การศึกษาที่ท่านได้ขับเคลื่อนวางรากฐานในชีวิตของเด็กนักเรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อไปในภายภาคหน้า จะช่วยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะกำหนดอนาคตของพวกเขาและประเทศ.


บรรณานุกรม

เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู และ วรประภา นาควัชระ. 2562. บทบาทของการค้าและเทคโนโลยีต่อการปรับเปลี่ยนของโครงสร้างตลาดแรงงานของไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นำเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). มิถุนายน 2562. https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG6110019

Jithitikulchai, T. 2020. Labour Skills, Economic Returns, and Automatability in Thailand. Southeast Asian Journal of Economics, 8(2): 51-90. https://www.researchgate.net/publication/339443381_Labour_Skills_Economic_Returns_and_Automatability_in_Thailand
 


Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ปฏิรูปการศึกษา ?

ปฏิรูปการศึกษา ?
เปิดอ่าน 7,963 ครั้ง
แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด

แลหลัง ผ่าปมข้อสอบคัดเลือก ผอ.-รอง ผอ.เกิดความผิดพลาด
เปิดอ่าน 26,933 ครั้ง
โอเน็ต!ยัง โอเค?

โอเน็ต!ยัง โอเค?
เปิดอ่าน 8,694 ครั้ง
คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!

คุณภาพผู้เรียนวัดจาก NT-ONET เส้นทางที่ลางเลือน!
เปิดอ่าน 6,673 ครั้ง
ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา

ที่เกาหลีใต้? เขาฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจด้วยถนนแห่งปัญญา
เปิดอ่าน 7,932 ครั้ง
วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย

วิกฤต... "บัณฑิตแห่ตกงาน" อีกหนึ่งความล้มเหลว... อุดมศึกษาไทย
เปิดอ่าน 43,444 ครั้ง
อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ

อาลัยการศึกษาไทย เก่งเจ๋งในกระดาษ
เปิดอ่าน 18,877 ครั้ง
ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0

ถึงเวลาปลุก “จิตวิญญาณ” ความเป็น “ครู” ก่อนจะไปถึงการศึกษาไทย 4.0
เปิดอ่าน 73,496 ครั้ง
ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ

ทำไมจึงไม่ควรให้ผู้ไม่มีใบประกอบอาชีพครูมีสิทธิสอบครูได้ : โดย รศ.ดร.สมาน อัศวภูมิ
เปิดอ่าน 67,204 ครั้ง
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557

สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
เปิดอ่าน 8,623 ครั้ง
ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ

ข้อคิดเห็นต่อการปรับโครงสร้าง กระทรวงศึกษาธิการ
เปิดอ่าน 11,352 ครั้ง
Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์  มูลค่าของความสามารถ

Meritocracy กับการศึกษาสิงคโปร์ มูลค่าของความสามารถ
เปิดอ่าน 8,927 ครั้ง
4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน

4 สาเหตุที่เด็กๆ เบื่อโรงเรียน
เปิดอ่าน 8,594 ครั้ง
การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society

การศึกษาของเด็กไทยยุค Digital Society
เปิดอ่าน 10,145 ครั้ง
แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม

แบบเรียนที่ไม่ได้มีไว้เลียนแบบ : นิ้วกลม
เปิดอ่าน 9,259 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การศึกษาไทย 2.0
การศึกษาไทย 2.0
เปิดอ่าน 11,968 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
คนจีนบ้าเรียน"ภาษาอังกฤษ" ขณะที่ไทยติดหล่มอยู่รั้งท้าย!
คนจีนบ้าเรียน"ภาษาอังกฤษ" ขณะที่ไทยติดหล่มอยู่รั้งท้าย!
เปิดอ่าน 21,257 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
ปฏิรูปการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 ไปทางไหน
เปิดอ่าน 21,357 ☕ คลิกอ่านเลย

จัดอันดับทุนมนุษย์
จัดอันดับทุนมนุษย์
เปิดอ่าน 7,118 ☕ คลิกอ่านเลย

สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
สำคัญที่ผู้สอน (ครู, อาจารย์)
เปิดอ่าน 10,587 ☕ คลิกอ่านเลย

กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
เปิดอ่าน 18,244 ☕ คลิกอ่านเลย

ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
เปิดอ่าน 18,736 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ข่าวดี ! สกัด"ผักติ้ว-สนสามใบ" ยาสู้มะเร็ง ทีมวิจัยไทยเฮทำสำเร็จ
ข่าวดี ! สกัด"ผักติ้ว-สนสามใบ" ยาสู้มะเร็ง ทีมวิจัยไทยเฮทำสำเร็จ
เปิดอ่าน 16,659 ครั้ง

จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
จบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ ...เงินเดือน 25,000 จะทำไหม ?
เปิดอ่าน 9,355 ครั้ง

รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
เปิดอ่าน 23,327 ครั้ง

จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44
เปิดอ่าน 9,740 ครั้ง

ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้
ทำไมหยดน้ำจึงกลิ้งบนใบบัวได้
เปิดอ่าน 32,540 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ