ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

นิชนันท์ ทิมทอง

บทคัดย่อ

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือผสมผสาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

บทนำ

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของผู้เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผนตัดสินใจแก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น คณิตศาสตร์จึงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 , หน้า 1) อีกทั้งคณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณค่า (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2545 , หน้า 1)

สำหรับปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน จากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน อย่างหนึ่งคือ ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ เศษส่วน และทศนิยมที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการทดสอบขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (O-Net) ปีการศึกษา 2560 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และ ใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา ที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบค่อนข้างต่ำสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนต้อง ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความ เหมาะสม และมีความหลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการ เรียนรู้ (กรมวิชาการ, 2545, หน้า 191) จากการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์มีความยาก ต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์ ฝึกฝน และสติปัญญาเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียน ขาดความสนใจกระตือรือร้น และไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน มีสาเหตุเกิดจากหลายประการ เช่น ด้านเนื้อหา เนื้อหาที่นักเรียนเข้าใจยากที่สุด คือ เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ปัญหา เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ ต้องใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาในด้านคุณภาพผู้เรียนที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ผู้เรียนยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทั้งคุณลักษณะในด้านความรู้ ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2554 , หน้า 101 – 102)

การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีวิธีการสอนมากมายแต่ครูผู้สอนต้องรู้จักเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา เวลา เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมากที่สุด การจัด การเรียนการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ ร่วมกันเป็นกลุ่ม เล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่ อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องร่วม รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) สามารถ นำมาใช้ได้กับการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นและจะมีประสิทธิผลยิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้การคิดแบบหลากหลาย การปฏิบัติ ภารกิจที่ซับซ้อน การเน้นคุณธรรมจริยธรรม การเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน ทักษะทางสังคม การสร้างวินัยความรับผิดชอบร่วมกัน และความร่วมมือภายในกลุ่ม (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542 , หน้า 34) ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL นั้นเป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาจากเทคนิค KWL ของโอเกิล (Ogle, 1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน คือ นักเรียน ต้องมีความสามารถทางการอ่านก่อนจึงจะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพได้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 K :เรารู้อะไร (What we know) หรือโจทย์บอกอะไรเราบ้าง ขั้นที่ 2 W : เราต้องการอะไรต้องการทราบอะไร (What we want to know) โจทย์ให้อะไรหรือโจทย์บอกอะไรบ้าง ขั้นที่ 3 D : เราทำอะไรอย่างไร (What we do) และหาคำตอบหรือเรามีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นที่ 4 L : เราเรียนรู้อะไรจากการดำเนินการ ขั้นที่ 3 (What we learned) ซึ่งคือค าตอบสาระความรู้และวิธีการศึกษาคำตอบ (วัชรา เล่าเรียนดี, 2554, หน้า 130) วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้นครูสามารถนำมาใช้จัด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้เทคนิค KWDL ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยให้เกิดแนวคิดในการอ่านโดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หาคำตอบของคำถามสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จากเรื่องนั้น ๆ และเมื่อนำKWDL ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพา และเกื้อกูลกัน มีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะ การทำงานกลุ่ม และการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน ส่งผลดีต่อ การเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น และสามารถพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูให้มีประสิทธิภาพ (ทิศนา แขมมณี, 2554, หน้า 105 – 106)

จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความสำคัญในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสนใจนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานโดยนำรูปแบบเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL มาแก้ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนา ศักยภาพของตนเองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานขึ้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

ขอบเขตของการวิจัย

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีขอบเขต ดังนี้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5

3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน

2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ได้แก่

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p.608) โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม

2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive)

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขต ดังนี้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

1. การตรวจสอบความเหมาะสมของวิธีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ

2. การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน จำนวน 8 ห้องเรียน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด

เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำการทดลองแบบรายบุคคล

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด

เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบกลุ่มเล็ก

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด

เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบภาคสนาม

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานมีขอบเขต ดังนี้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

1. ศึกษาผลการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดย ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน

2. ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้แก่ ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 254 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมีผล การเรียนคละกัน

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขตดังนี้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดย ดำเนินการทดลอง และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน

เทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 294 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมีผล การเรียนคละกัน

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ มีรายละเอียด ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ

2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล แหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยสัมภาษณ์ ครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้

1. การสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะความต้องการและผลการสัมภาษณ์

2. ร่างรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

3. การตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณา เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม โดยเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแล้วนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไป

4. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์

5. นำแผนจัดการเรียนรู้ ไปทดลองใช้ (Try-out) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม จำนวน 42 คน

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน

2. ทำการทดสอบก่อนเรียน โดยก่อนจัดการเรียนรู้ ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้แต่ละแผน ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละเรื่อง

3. ดำเนินการทดลองตามแผนจัดการเรียนรู้

4. เมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนแล้ว ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้

1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนหลัง (One – Group Pretest– Posttest Design) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 144)

2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้จากการตอบของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ ระดับความพึงพอใจ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินต้องมีค่าเฉลี่ย ของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป

การวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1. วิเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปใน การสร้างวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุป

2. การหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด คัดข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า .50 เป็นเกณฑ์ ตัดสินว่าแบบสอบถามข้อนั้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องสามารถนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ .89

3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดย หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนจากแบบสอบถาม

4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ โดยการนำคำตอบที่ได้รับจากการตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ละคน นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ ใช้หลักวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulate) คือผู้วิจัยบันทึกข้อมูลสำคัญจากการสนทนาลงในแบบบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือผู้วิจัยต้องวิเคราะห์ และตีความข้อมูลที่ได้ตลอดเวลา ขณะปฏิบัติภาคสนามมีการตรวจสอบความถูกต้องของการสนทนา โดยเมื่อ จบแต่ละประเด็นคำถาม ผู้วิจัยจะอ่านบทสรุป การสนทนาเพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าจะดำเนินการ 3 ประการ คือ การจัดประเภทข้อมูล (Category) การตีความ (Interpretation) และการสรุปความ (Summary)

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการ ดังนี้

1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหา ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียน หาความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรม การเรียน

2. การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยการทดสอบค่าที (t-test)

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้

1. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยวิเคราะห์จากผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้ จากการตอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินโดยควรมีค่าเฉลี่ยของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 196)

2. ในการปรับปรุงและขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน นั้น ผู้วิจัยนำแผนจัด การเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว ไปเผยแพร่ให้กับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อไป

สรุปผล

1. ความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล

จากการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้ 1. การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความต้องการใน การพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทาง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นไปตามองค์ประกอบที่สร้างขึ้น ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สาระการเรียนรู้การศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปจัดทำเป็นแผนจัดการเรียนรู้ โดยได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพมากขึ้น กระบวนการออกแบบการสอน อย่างเป็นระบบมีคุณภาพ สามารถช่วยให้ผู้วิจัยสร้างรูปแบบการสอนที่มีคุณภาพเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สอดคล้องกับบุญชม ศรีสะอาด (2553, หน้า 19) ที่กล่าวว่า โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ผู้วิจัยสามารถ ใช้รูปแบบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่มีในปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือ ในระบบต่าง ๆ อธิบายลำดับขั้นตอนขององค์ประกอบหรือกิจกรรมในระบบ สอดคล้องกับจอยซ์และเวล (Joyce and Weil, 2009, p.43) ที่กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบไปด้วยเป้าหมายของรูปแบบ ข้อตกลงเบื้องต้นและหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน โครงสร้างของรูปแบบเป็นการอธิบาย ถึงการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ โดยมีลำดับขั้นตอนของกิจกรรม ซึ่งแต่ละรูปแบบการสอนจะมีขั้นตอนการสอนที่แตกต่างกันไป และสอดคล้องกับงานวิจัยของชนาพร ทัพภูมี(2556) ที่ได้พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของกาเยและซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนตามแนวคิดของ กาเยและซิปปาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากกระบวนการ เรียนการสอนตามรูปแบบ

2. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการสร้างแผนจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สาระสำคัญและสาระการเรียนรู้ได้ ศึกษาความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งจากการสอบถามและสัมภาษณ์กับครูและนักเรียน ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบให้ตรงตามหลักวิชาการ แล้วนำไปจัดทำเป็นแผนจัด การเรียนรู้เพื่อให้ครอบคลุมรายละเอียด โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข ให้ถูกต้อง จึงทำให้ได้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้นำวิธีจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้ 3 กลุ่ม แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้สอดคล้องกับครูส (Kruse, 2007, p.1) ที่กล่าวว่า การออกแบบระบบการเรียนการ สอนให้มีประสิทธิผล ประกอบด้วย ขั้นตอน การวิเคราะห์ (Analysis) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) ในสถานการณ์จริง และขั้นการประเมิน (Evaluation) สอดคล้องกับจอยซ์และเวล (Joyce and Weil, 2009, p.43) ที่กล่าวว่า การนำรูปแบบไปใช้ (Application) เป็นการนำเสนอคำแนะนำ และข้อสังเกตต่าง ๆ เพื่อช่วยให้การสอนตามรูปแบบมีประสิทธิภาพ เช่น ประเภทของเนื้อหาวิชาที่เหมาะสมกับการสอนแต่ละรูปแบบ ระดับชั้นและอายุผู้เรียน สถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่จะต้องจัดให้เอื้อต่อการใช้รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบ สอดคล้องกับงานวิจัยของนิติยา ครอบบัวบาน (2556) ได้ทำการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปากับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปา (CIPPA) และแผนการ จัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.64/81.58 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3. ผลการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจ อาจเนื่องมาจากกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ เป็นกระบวนการจัดการให้ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีบทบาทหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนงานของกลุ่มที่ส่งผลให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านการคิดร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่ง Johnson และ Johnson (Hall and others. 2014 ,p 293 ; citing Johnson and Johnson. 1990) ได้ให้ ความสำคัญในการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือว่า ทักษะการเรียนรู้ต้องใช้การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมี ประสิทธิภาพผ่านการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อต้องการให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์การเรียน โดยมีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนและใช้ทักษะการร่วมมือของกลุ่ม ดังนั้นการ เรียนด้วยกลุ่มร่วมมือจึงเป็นการเรียนรู้ของกลุ่มย่อยที่สนับสนุนให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานของ กลุ่มประสบผลสำเร็จสูงสุด ขณะที่ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้เท่าเทียมกัน และ Slavin (Hall and others. 2014 , p 394 ; citing Slavin. 1993) ได้อธิบายการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือว่า เป็นการจัดโครงสร้างกลุ่มผู้เรียนเพื่อการทำกิจกรรมแก้ปัญหาให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยจัดกิจกรรม ให้เหมาะกับความรู้ความสามารถของกลุ่ม และให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้านบวก ตัวอย่างกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้ (Learning Together) ตามแนวคิดของ Johnson และ Johnson (Hall and others. 2014 ,p 396 ; citing Johnson and Johnson. 1999) ที่ประกอบด้วยขั้นตอนของกิจกรรมดังนี้ (1) ครูกำหนดหรือเสนองานให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเป็น การเฉพาะ (2) ผู้เรียนในกลุ่มสร้างความเข้าใจโดยใช้ทักษะทางสังคมสนับสนุนความพยายามของ สมาชิกแต่ละคนเพื่อช่วยให้งานสำเร็จ (3) ครูตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ของ งานและทักษะทางสังคมที่น ามาใช้ (4) กลุ่มปฏิบัติงานร่วมกันที่แสดงถึงการมีปฏิสัมพันธ์ทางภาษาใน ระดับสูง และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้านบวก (5) ครูประเมินตรวจสอบความรับผิดชอบของผู้เรียน แต่ละบุคคลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานการเรียน และการสร้างสรรค์ประเด็นการอภิปรายงานของกลุ่มในชั้นเรียน จากเงื่อนไขและปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นในระดับค่อนข้างสูง

4. การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการจัดการเรียนการสอนครูคอยตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิด เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดต่อ มีการจัดสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ นักเรียนเกิดความสนใจ คอยแนะนำและให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ กิจกรรมที่ทำมีความสนุกสนาน ยั่วยุให้นักเรียนอยากเรียน ครูมีการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้เกิดความไว้วางใจ ความกระตือรือร้น การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ให้การเสริมแรงทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้สำเร็จเป็นไปตามจุดประสงค์อย่าง ต่อเนื่องด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการจัดเรียงเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากง่ายไปหายาก และเนื้อหากิจกรรมไม่ยากจนเกินไปมีกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ เชิญชวนให้นักเรียนอยากลงมือปฏิบัติกิจกรรม ทำให้เข้าใจ บทเรียนได้ดีและไม่เบื่อหน่าย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสำลี ทองธิว (2555, หน้า 5) ที่กล่าวว่า ความพึงพอใจของมนุษย์ เป็นการแสดงออก ทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เราจะทราบว่า บุคคลมีความพึงพอใจ หรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และต้องมีสิ่งที่ตรงต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นการสร้างสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคลนั้นให้เกิดความพึงพอใจใน งานนั้น สอดคล้องกับงานวิจัยของนิภา พิศลืม (2556) ได้ทำการเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ LT มี ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของบุณยาพร สารมะโน (2559) ได้พัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

จากผลการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับครูผู้สอนที่จะนำไป พิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาอื่น ๆ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป

2. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลายมีการเฉลยกิจกรรมและให้นักเรียน สามารถค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดภาคภูมิใจที่ได้เรียนรู้และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

3. ผู้ที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ต้องศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอน เรียงลำดับเนื้อหา เพื่อกำหนดกิจกรรม ขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และตอบสนองในการเรียนตลอดเวลา และเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียน ต้องมีการออกแบบและพัฒนาอย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะนำไปใช้จริง

4. ผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีนโยบายให้ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีการนำวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ

ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

1. ควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นอื่น ๆ

2. ควรมีการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมความสามารถในการคิดแบบมีวิจารณญาณ

3. ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานกับวิธีการสอนรูปแบบอื่น ๆ ด้วย

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชนาพร ทัพภูมี. (2556). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเยและซิปปาเพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

นิติยา ครอบบัวบาน. (2556).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และความฉลาด

ทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปากับการจัด

กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ . วิทยานิพนธ์

ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิภา พิศลืม. (2556). การเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง

คณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่ม

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แบบร่วมมือ LT กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและ

ประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น

บุณยาพร สารมะโน. (2559). การพัฒนารูปแบบการประเมินตามสภาพจริงที่มีผลต่อความสามารถใน

การคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,

สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มาเรียม นิลพันธ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542 ก). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545).คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ คณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา

ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 –2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำลี ทองธิว. (2555). กลวิธีการเผยแพร่นวัตกรรมทางการศึกษาสำหรับผู้บริหารและครูก้าวหน้า.

กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Joyce, B. R. and Weil, M. (2009). Model of Teaching. (8ed ed). New York : Allyn & Bacon.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

โพสต์โดย แอ๊ด : [3 มิ.ย. 2564 เวลา 13:19 น.]
อ่าน [4361] ไอพี : 124.122.35.235
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 9,429 ครั้ง
How to Sync Keyboard Shortcuts with iCloud in iOS 6
How to Sync Keyboard Shortcuts with iCloud in iOS 6

เปิดอ่าน 28,345 ครั้ง
สรุปสูตรการเลื่อนแกนทางขนาน
สรุปสูตรการเลื่อนแกนทางขนาน

เปิดอ่าน 42,454 ครั้ง
14 วิธีการประยุกต์ใช้ลวดเสียบกระดาษ ที่คุณคาดไม่ถึง
14 วิธีการประยุกต์ใช้ลวดเสียบกระดาษ ที่คุณคาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 102,472 ครั้ง
เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)
เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)

เปิดอ่าน 28,856 ครั้ง
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)
SCORM (Shareable Content Object Reference Model)

เปิดอ่าน 25,542 ครั้ง
ไม้ดอกไม้ประดับ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30)
ไม้ดอกไม้ประดับ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30)

เปิดอ่าน 12,507 ครั้ง
มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม
มิติใหม่การศึกษา ... เดินหน้า TEPE Online พัฒนา “ครู” สนับสนุน “ครูตู้” พัฒนาเด็กไทยอย่างเท่าเทียม

เปิดอ่าน 11,913 ครั้ง
เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553
เจาะนวัตกรรม 4 ล้อ ในปี 2553

เปิดอ่าน 26,488 ครั้ง
วรรณคดีมรดก
วรรณคดีมรดก

เปิดอ่าน 15,098 ครั้ง
10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่
10 เคล็ดลับเลิกบุหรี่

เปิดอ่าน 124,020 ครั้ง
ลายมือที่มี กากบาทแห่งความสำเร็จ
ลายมือที่มี กากบาทแห่งความสำเร็จ

เปิดอ่าน 4,160 ครั้ง
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจ

เปิดอ่าน 14,308 ครั้ง
อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย
อย่าลืมเป้าหมายการศึกษา : โดย ดร.กมล รอดคล้าย

เปิดอ่าน 31,309 ครั้ง
ประโยชน์ของ e-Learning
ประโยชน์ของ e-Learning

เปิดอ่าน 11,304 ครั้ง
นิตยสาร SCIENCE WORLD  ขอเชิญชวนคนรักของเล่นวาดภาพออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ในจินตนาการ
นิตยสาร SCIENCE WORLD ขอเชิญชวนคนรักของเล่นวาดภาพออกแบบของเล่นวิทยาศาสตร์ในจินตนาการ

เปิดอ่าน 14,640 ครั้ง
มนัส บุญจำนงค์
มนัส บุญจำนงค์
เปิดอ่าน 12,708 ครั้ง
"ครู" ในศตวรรษที่ 21 จุดเปลี่ยนการศึกษาข้ามพรมแดน
"ครู" ในศตวรรษที่ 21 จุดเปลี่ยนการศึกษาข้ามพรมแดน
เปิดอ่าน 13,642 ครั้ง
ทำโยคะบนใบหน้าตนเอง เพื่อใบหน้าเต่งตึง
ทำโยคะบนใบหน้าตนเอง เพื่อใบหน้าเต่งตึง
เปิดอ่าน 446,127 ครั้ง
บางคนเกษียณแล้วร้องไห้หนักมาก เพราะไม่รู้สิบข้อนี้
บางคนเกษียณแล้วร้องไห้หนักมาก เพราะไม่รู้สิบข้อนี้
เปิดอ่าน 22,806 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ