ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

นางสาวภิญญาภัสส์ ทิพย์โยธา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

ผลการวิจัยพบว่า

1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)

2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก

3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)

4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณลักษณะของผู้มีวิจารณญาณในระดับสูง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง

1. บทนำ

นโยบายการปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้กำหนดนโยบายด้านการศึกษาคือจัดใหมีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อลงสู่การปฏิบัติ รัฐบาลจึงกำหนดจุดเนน 6 ยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยตองปฏิรูปการศึกษาใน 5 ด้าน 1) การเขาถึง โอกาสทางการศึกษา 2) ความเทาเทียมคุณภาพ 3) การตอบโจทยบริบทที่เปลี่ยนแปลง 4) ความมีประสิทธิภาพ 5) สังคมแหงการเรียนรู และคุณธรรม มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และทักษะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่ง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559) การขับเคลื่อนปฏิรูปการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายของการศึกษา คือ การสรางกระบวนการเรียนรูเพื่อใหเยาวชนสามารถพัฒนาศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ (วิจารณ พานิช, 2555) และเดลินิวส (2559 : ออนไลน) ได้สรุปทักษะใน ศตวรรษที่ 21 ดังนี้ 1) องคความรู้สำคัญ ได้แก่ ความรูเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) ความรูเกี่ยวกับ การเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy) ความรูด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy) ความรูดานสุขภาพ (Health Literacy) ความรูดานสิ่งแวดลอม (Environmental Literacy) 2) ทักษะแหงศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรูและนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ทักษะการเรียนรูตลอดชีวิต ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู 3R × 8C 3R คืออานออก (Reading) เขียนได้ (W)Riting และคิดเลขเป็น (A)Rithemetics 8C คือ 1) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแกปญหา (Critical Thinking and Problem Solving) 2) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) 3) ทักษะด้าน

ความเขาใจความต่างวัฒนธรรม ตางกระบวนทัศน (Cross-cultural Understanding) 4) ทักษะด้าน

ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นํา (Collaboration, Teamwork and Leadership)

5) ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรูเทาทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) 6) ทักษะดานคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) 7) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู (Career and Learning Skills) และ 8) มีคุณธรรม

มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย (Compassion) (วัชรา เล่าเรียนดี, 2552) กล่าวถึง ความสำคัญของทักษะการคิดว่าในยุคศตวรรษที่ 21 ว่าทักษะที่สำคัญที่สุดคือ ทักษะการคิดของ บุคคลและทักษะชีวิต (Life Skills) เพื่อจะได้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติสุขในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน นอกจากนั้นนักการศึกษาหลายท่านเริ่มจะเชื่อกันว่า ความรู้ เฉพาะด้านจะไม่มีความสำคัญเท่ากับการที่บุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้และสร้างความหมาย และประโยชน์จากความรู้และข้อมูลใหม่ ๆ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดในการจัดการศึกษา ให้กับเด็กและเยาวชนในยุคปัจจุบัน คือ การส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการ เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ (Critical and Creative Thinking) จากสิ่งที่กล่าวมาแสดงให้เห็นได้ว่าการคิดและการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้นเป็นสิ่งที่ สำคัญจำเป็นสำหรับคนในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เป็นทักษะสำคัญที่ควรพัฒนาให้กับผู้เรียน เป็นลำดับแรกเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไกรยส ภัทราวาท และกําจร ตติยกวี (ไทยโพสต, 2559) กลาวถึง รายงานเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกตองการในป 2020 ดังนี้ 1) ทักษะการแกไขปญหาที่ทับซ้อน 2) การคิดวิเคราะห์ 3) ความคิดสร้างสรรค์ 4) การจัดการบุคคล 5) การทำงานร่วมกัน 6) ความฉลาดทางอารมณ 7) รูจักประเมินและการตัดสินใจ 8) มีใจรักบริการ 9) การเจรจาตอรอง 10) ความยืดหยุนทางความคิดสอดคลองกับผลสํารวจความตองการแรงงานของนายจ้าง คาดหวังใหพนักงานมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิด สร้างสรรค์ (Creativity) แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยในยุคนี้ (ดิจิทัล) Thailand 4.0 นโยบายนายกรัฐมนตรีปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2559)

ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 มาตรา 22 กําหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสําคัญที่สุด และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศให้ดำเนินการ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) โดยกําหนดเป้าหมายว่า ภายในปี 2561 คนไทยยุคใหม่จะมีคุณลักษณะสําคัญ คือ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรมและสามารถก้าวทันโลกได้ ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดยุทธศาสตร์ การปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง เรียกว่า การปฏิรูปในสิ่งใหม่ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการใหม่ โดยหัวใจสําคัญของการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สองนี้ คือ การพัฒนาคนไทยยุคใหม่ที่มีนิสัยใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิตมีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นพลานุภาพและพลังที่สําคัญของการพัฒนาประเทศในอนาคต (ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์, 2546)

จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้นการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะต้องคํานึงถึง ประสิทธิผลหรือผลการเรียนอย่างรอบด้านของผู้เรียน ทั้งในมิติของด้านการรู้คิด ทักษะปฏิบัติ และด้านคุณลักษณะ เนื่องจากรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเหมาะกับผู้เรียน ในแต่ละระดับเฉพาะรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งนั้นยังไม่ปรากฏชัดเจนว่ามีแนวทางหรือกลวิธีใด รูปแบบใดบ้างที่สามารถนํามาใช้ให้บรรลุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ควรได้รับการสนับสนุนให้ครูพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูขึ้นมาใช้กับผู้เรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย และพัฒนาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้เกิดกับผู้เรียน โดยหวังว่างานวิจัยนี้จะเป็นรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และนําทักษะที่ได้จากรูปแบบการเรียนการสอนและมีแนวทางการคิดใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

2. ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

2. เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

3. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้าน

หนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

4. เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

3. ขอบเขตการวิจัย

3.1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

องค์ประกอบของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ได้จากการสังเคราะห์ ดังนี้

1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา

2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา

3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ

4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้

5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา

3.2. ขอบเขตประชากร กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล

1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด โดยการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน

2) การศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทาง ในการส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 79 คน

3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน

4. นิยามศัพท์เฉพาะ

การพัฒนารูปแบบการสอน หมายถึง กระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการนำแบบแผนการวิจัยและพัฒนาประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ระยะที่ 2 การศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน หมายถึง ลักษณะของข้อความที่อธิบาย สภาพการณ์หรือสภาพปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับ ปรัชญาการศึกษา หลักสูตรการสอน จิตวิทยาการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อกระตุ้นให้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นำศาสตร์การเรียนการสอนมาใช้เป็นพื้นฐานของการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือหาคำตอบอย่างมีวิจารณญาณ

รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน หมายถึง แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา

ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา สามารถวัดเป็นคะแนนความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้โดยใช้แบบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ และตรวจให้คะแนนโดยใช้เกณฑ์ระดับคุณภาพ 5 ด้าน

คุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง พฤติกรรมการแสดงออกของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในด้าน 1) ความกระตือรือร้นและแรงจูงใจที่จะค้นหาข้อเท็จจริง 2) ความสามารถแสดงความคิดเห็นโดยอาศัยหลักการเหตุผล 3) ความสามารถทำความเข้าใจวิเคราะห์ ประเมินข้อโต้แย้งและความคิดเห็นที่แตกต่าง 4) ความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ

ที่ปรากฏ 5) ความเชื่อมั่นในสติปัญญาและคระหนักถึงข้อจำกัดของตนเอง 6) การรับฟังความคิดเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ความเชื่อ และสมมติฐานในมุมมองที่แตกต่าง 7) การเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงและหลักฐานมากกว่าความชอบหรือความสนใจส่วนตัว 8) ความระมัดระวังการเกิดอคติในการรับรู้หรือพิจารณามุมมองต่างๆ 9) การมีอิสรภาพทางความคิดโดยไม่วิตกกังวลกับความไม่เห็นด้วยของกลุ่ม 10) ความสามารถเข้าถึงประเด็นปัญหาได้โดยไม่สับสนกับรายละเอียดปลีกย่อย 11) ความกล้าทางปัญญาที่จะเผชิญและเข้าถึงความคิดแตกต่างจากความคิดของตนเอง 12) ความอยากรู้อยากเห็นและอยากค้นหาความจริง 13) ความมานะพยายามที่จะสืบค้นเพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 14) ความรับผิดชอบต่อผลการคิดของตนเอง สามารถวัดได้โดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะของ ผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งมีลักษณะเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัย พัฒนาขึ้นสำหรับประเมินพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อความเหมาะสมของรูปแบบการสอนในด้านเนื้อหาสาระด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อประกอบรูปแบบ และด้านประโยชน์และความพึงพอใจที่ได้รับ สามารถวัดได้โดยใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หมายถึง นักเรียนที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ปีการศึกษา 2563

5. กรอบแนวคิดการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนการวิจัย โดยใช้วิธีการเชิงระบบเพื่อนำสู่กรอบแนวคิดของการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังภาพประกอบ 1

6. วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

ระยะที่ 2 การศึกษา สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน

ในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อ ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น

7. ผลการวิจัย

1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)

2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก

3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development)

4 ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณลักษณะของผู้มีวิจารณญาณในระดับสูง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง

8. อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อภิปรายผลการวิจัยตามข้อค้นพบตามความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้

1 องค์ประกอบและตัวชี้วัด ของรูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development) มีความสอดคล้องกับ

ทิศนา แขมมณี (2543) ได้ใช้แนวคิดเหล่านี้ในการจัดการเรียนการ สอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construction of knowledge) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้ว ยังต้องพึ่งการปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับเพื่อนบุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยรวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการ (process skills) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้นอกจากนั้นการเรียนรู้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้ดีหากผู้เรียนอยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการรับรู้ และเรียนรู้มีประสาทการรับรู้ที่ตื่นตัวไม่เฉื่อยชา ซึ่งสิ่งที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพดังกล่าวได้ก็คือ การให้มีการเคลื่อนไหวทางกาย (physical participation) อย่างเหมาะสมกิจกรรมที่มีลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง และความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจะมีความลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้นหากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ (application) ในสถานการณ์ที่หลากหลายด้วยแนวคิดดังกล่าวจึงเกิดแบบแผน “CIPPA” ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้น ดังนี้ 1) การทบทวน 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ 3) การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม 5) การสรุปและจัดระเบียบความรู้ 6) การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน 7) การประยุกต์ใช้ความรู้

2. สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ สิริพร ดีน้อย (2560) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดกิจกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ด้วยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน พบว่าทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมการคิดอย่างมีวิจารณญาณในรูปแบบต่างๆ กันลักษณะการจัดกิจกรรมเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง อภิปราย นำเสนอผลงาน รายงานศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การฝึกรับฟังความเห็น เหตุผลของผู้อื่น การฝึกการสังเกต กล้าคิด กล้าแสดงออกกล้าตัดสินใจ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการมากที่สุด โดยสอดแทรกกระบวนการคิดในกิจกรรมการเรียนของวิชาหลัก ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นกิจกรรมการอ่านจับใจความสำคัญ การคิดคำนวณ และการเขียนสรุปเนื้อเรื่อง สอดคล้องกับการศึกษาของ ศิริกานต์ คุสินธุ์ (2549) และดวงพร เกี่ยวข้องพันธุ์ (2553) ที่พบว่า การจัดการเรียนการสอนไม่ได้เน้นการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณแต่เน้นการพัฒนาความสามารถในการคิดหลายๆ ด้าน เช่น การคิดคำนวณ การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ เป็นต้น นักเรียนจึงไม่ได้รับการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยตรง เนื้อหาวิชาที่สอนส่วนใหญ่มุ่งเน้นความรู้ในเชิงวิชาการเพื่อให้นักเรียนสามารถสอบแข่งขันได้ และการประเมินคุณภาพการสอนไม่มีการประเมินการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสอดคล้องกับ อารยา ช่ออังชัญ (2553) ที่กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากการจัดการเรียนรู้ยังยึดครูเป็นศูนย์กลาง มุ่งสอนแต่เนื้อหาวิชาเป็นหลัก เทคนิควิธีสอนไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิด ขาดการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่มีการฝึกแก้ปัญหา ไม่สามารถนาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริง และสถานศึกษาส่วนมากมีการนานโยบายไปสู่การปฏิบัติและมีผลของการปฏิบัติตามนโยบาย แต่ไม่มีกระบวนการหรือแนวทางในการดาเนินการที่ชัดเจนหรือเป็นระบบ

3. รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ชื่อว่า PGAA Model ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบของกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมสถานการณ์ปัญหา (Prepare the Problem) 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหา (Gather information on issues) 3) ขั้นวิเคราะห์สาเหตุสำคัญเพื่อวางแผนการปฏิบัติ (Analyze the cause important to plan action) 4) ขั้นลงมือปฏิบัติตามทางที่เลือกไว้ (Take action according to the chosen option) 5) ขั้นติดตาม ประเมินผล วางแผนพัฒนา (Follow-up evaluation, plan development) มีความสอดคล้องกับ ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง (2553) ได้ทำการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู มีชื่อว่ารูปแบบการสอนพีซีเอสเอสซี (PCSSC Model) มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการเรียนการสอน (4) เงื่อนไขของการนํารูปแบบการสอนไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการเรียนรู้(Preparation) (2) ขั้นนําสู่กรณีศึกษา (Case Presentations) (3) ขั้นสรรค์หาวิธีการแก้ไข (Selection of Solutions) (4) ขั้นแบ่งปันประสบการณ์(Sharing with Groups) (5) ขั้นสืบสานสร้างความรู้ใหม่ (Construction for New Knowledge) สอดคล้องกับ ศิวภรณ์ สองแสน (2557) ได้พัฒนารูปแบบ MAPLE สำหรับพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษา สาขาการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย 6 หลักการ คือ (1) หลักการเสริมแรง (2) หลักการกระบวนการคิดทางสติปัญญา (3) หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (4) หลักการประเมินค่า (5) หลักการปติสัมพันธ์ (6) หลักการเรียนรู้ ขั้นตอนการสอน 5 ขั้น คือ ขั้นสร้างแรงจูงใจ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นนำเสนอ ขั้นเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นประเมินผล

4. ผลการทดลองใช้รูปแบบ PGAA Model พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้การประเมินด้านคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้านความสามารถสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคุณลักษณะของผู้มีวิจารณญาณในระดับสูง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในระดับสูง สอดคล้องกับ ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง (2553) ได้ทำการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนพีซีเอสเอสซี นักศึกษาวิชาชีพครูมีความสามารถด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ด้านการประเมินและตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักศึกษาวิชาชีพครูมีคุณลักษณะของผู้ที่มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ด้านการ รับฟังความคิดเห็น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ ความเชื่อ สมมติฐานในมุมมองที่แตกต่าง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด นักศึกษาวิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมในระดับมาก ทั้งนี้ด้านประโยชน์และความพึงพอใจที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด สอดคล้องกับ ศิวภรณ์ สองแสน (2557) ได้ทำการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยรวม และรายด้านของกลุ่มตัวอย่างหลักการทดลองมีระดับสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับจิตรลดา ทองอันตัง (2559) ได้ทำการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่า ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น (1) จิตสาธารณะของนักเรียน

กลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 (2) จิตสาธารณะของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (6) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นไม่แตกต่างกันกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ สอดคล้องกับ สิริพร ดีน้อย (2560) ได้พัฒนารูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า การทดลองใช้รูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมี วิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การประเมินรูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง ต่อการพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียน ประถมศึกษาในระดับมากที่สุด

ข้อเสนอแนะ

1. ก่อนการจัดกิจกรรมตามรูปแบบพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ควรตรวจสอบความรู้ และทักษะทางภาษาของนักเรียนแต่ละคนด้านความสามารถในการอ่าน เพราะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจกรณีศึกษาที่กำหนดให้

2. การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณต้องมีการปลูกฝังคุณลักษณะของการเป็นนักคิดโดยกระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกซักถาม กล้าโต้แย้ง รับฟังความคิดผู้อื่น และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่หลากหลายเพื่อเป็นการฝึกฝนให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาหรือติดตามประเมินผลระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา

2. ควรมีการศึกษาการจัดกิจกรรมส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา ให้มากยิ่งขึ้นในระดับประถมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นพื้นฐานให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่เหมาะสมตามบริบทและสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

จิตรลดา ทองอันตัง (2559) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดการ

เรียนรู้ โดยการรับใช้สังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยหลักสูตรและการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

ดวงพร เกี่ยวข้องพันธ์. (2553). การประยุกต์ใช้ชุดกิจกรรมการคิดเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด

วิจารณญาณและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5-6 :

การวิเคราะห์ตัวแปรพหุนาม.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

________. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

(พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาวิชาชีพครู.

วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบันฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม :

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิริกานต์ คุสินธุ์. (2549). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและแนวทางการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวภรณ์ สองแสน. (2557). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษา

ปฐมวัย โดยรูปแบบ MAPLE. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏไลยอลงกรณ์.

สิริพร ดีน้อย. (2560) การพัฒนารูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนประถมศึกษา.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบันฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด

และแผนพัฒนาการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและ

แผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด

แก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โพสต์โดย Kru Phinyapass : [7 ส.ค. 2564 เวลา 10:00 น.]
อ่าน [2621] ไอพี : 180.180.32.144
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 23,590 ครั้ง
“อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น”
“อ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขเป็น”

เปิดอ่าน 235,429 ครั้ง
ตอบข้อข้องใจ...เงิน ช.พ.ค. ที่ผู้ตายจะได้รับ
ตอบข้อข้องใจ...เงิน ช.พ.ค. ที่ผู้ตายจะได้รับ

เปิดอ่าน 12,705 ครั้ง
คุณภาพการศึกษาดูจากหลักฐานขยะเท่านั้นหรือ!
คุณภาพการศึกษาดูจากหลักฐานขยะเท่านั้นหรือ!

เปิดอ่าน 34,515 ครั้ง
Verbs ( Types )
Verbs ( Types )

เปิดอ่าน 27,531 ครั้ง
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน

เปิดอ่าน 20,255 ครั้ง
ลักษณะของช้างดี
ลักษณะของช้างดี

เปิดอ่าน 33,733 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 15 การเตะโทษ ณ จุดโทษ

เปิดอ่าน 45,796 ครั้ง
การหาพื้นที่ผิวของร่างกาย
การหาพื้นที่ผิวของร่างกาย

เปิดอ่าน 11,981 ครั้ง
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ดาวน์โหลด! คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

เปิดอ่าน 68,895 ครั้ง
วิธีลดธงครึ่งเสาที่ถูกต้อง
วิธีลดธงครึ่งเสาที่ถูกต้อง

เปิดอ่าน 308,769 ครั้ง
สำนวนภาษาอังกฤษที่น่ารู้
สำนวนภาษาอังกฤษที่น่ารู้

เปิดอ่าน 15,787 ครั้ง
คลิป โอบามา เต้นกังนัมสไตล์
คลิป โอบามา เต้นกังนัมสไตล์

เปิดอ่าน 313,170 ครั้ง
สูตรการหาพื้นที่และปริมาตรต่างๆ
สูตรการหาพื้นที่และปริมาตรต่างๆ

เปิดอ่าน 10,563 ครั้ง
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน
ขับรถอย่างฉลาด ปลอดภัย และประหยัดน้ำมัน

เปิดอ่าน 34,558 ครั้ง
ฝึกอ่านอังกฤษกับนิทานโดยครูเชอรี่ English Bright
ฝึกอ่านอังกฤษกับนิทานโดยครูเชอรี่ English Bright

เปิดอ่าน 19,537 ครั้ง
(ก.ค.ศ.)การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพครู
(ก.ค.ศ.)การศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพครู
เปิดอ่าน 31,585 ครั้ง
เจาะลึกนาซา องค์การด้านอวกาศเพื่อมวลมนุษยชาติ
เจาะลึกนาซา องค์การด้านอวกาศเพื่อมวลมนุษยชาติ
เปิดอ่าน 11,885 ครั้ง
ปวดข้อให้กินแอปเปิล แกล้มด้วยเหล้าไวน์แดงวันละแก้วทุกวัน
ปวดข้อให้กินแอปเปิล แกล้มด้วยเหล้าไวน์แดงวันละแก้วทุกวัน
เปิดอ่าน 210,481 ครั้ง
สงครามครูเสด
สงครามครูเสด
เปิดอ่าน 26,846 ครั้ง
"พลู" สมุนไพรไทย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
"พลู" สมุนไพรไทย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ