SMART Model เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารงานเพื่อพัฒนาโรงเรียน ดังต่อไปนี้
Specification of Content กำหนดเนื้อหา เป็นการเลือกเนื้อหาที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
Master ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญหรือคณะผู้เชี่ยวชาญภายในสังกัด เพื่อประเมินเอกสารทางวิชาการ รวบรวมข้อคิดเห็น และจัดทารายงานผลการประเมินเอกสารทางวิชาการ และส่งมอบให้สานักงานภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งประสานงานกับสานักงานในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือปัญหาเกี่ยวกับการประเมินเอกสารทางวิชาการ
Allocation of Time กำหนดเวลาเรียน การกำหนดเวลาหรือการใช้เวลาในการเรียนการสอนจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่ และความสนใจของผู้เรียน
Resources แหล่งการเรียน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีทั้งที่ อยู่ภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน หรืออาจจะเป็นบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละ ท้องถิ่น การใช้แหล่งการเรียนรู้ในการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ความรู้ทางสารสนเทศ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นได้ และยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนจากประสบการณ์จริง การทำงาน เป็นทีม และฝึกการจัดการความรู้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์การไตร่ตรอง และการสร้างสรรค์เพื่อนำเสนอ ข้อมูลจากการศึกษาให้ผู้อื่นได้รับทราบด้วยเช่นกัน
Teaching Method วิธีการสอน ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น เช่น
1. วิธีการสอนแบบบรรยาย คือ วิธีสอนแบบบรรยาย คือวิธีสอนที่ครูเป็นผู้บรรยาย ครูจะต้องเตรียมความรู้ที่จะสอนเป็นอย่างดี ให้เข้าใจเนื้อหาที่จะบรรยายจนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้อย่างคล่องแคล่ว เสียงดังฟังชัด มีระดับเสียงสูง ต่ำ เบาอย่างเหมาะสม ครูอาจบรรยายประกอบ เช่น PowerPoint , Video , ภาพประกอบ , แผนภูมิ เอกสารประกอบคำบรรยาย และเมื่อจบการบรรยายครูจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย ขั้นตอนวิธีสอนแบบบรรยาย ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม ครูค้นคว้า รวบรวมความรู้ที่จะนำมาสอนเป็นอย่างดี ลำดับการสอนเป็นหมวดหมู่ และตามความยากง่ายของเนื้อหา จัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมนำมาจัดไว้ให้พร้อมและเตรียมว่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในแต่ละขั้นตอนให้เหมาะสม ขั้นที่ 2 ขั้นสอน ครูนำเข้าสู่บทเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหา ที่จะสอน แล้วครูก็อธิบายช้า ๆ อย่างชัดเจน อาจอธิบายประกอบรูปภาพ แผนภูมิ หรือยกตัวอย่างประกอบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย ขั้นที่ 3 ขั้นสรุป ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุป เพื่อทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดและให้ผู้เรียนจดบันทึกไว้ ขั้นที่ 4 ขั้นวัดผล ครูสังเกตความสนใจ ความเข้าใจของผู้เรียน โดยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมเช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบ การทำแบบฝึกหัด การตรวจผลงาน เป็นต้น ข้อดีของวิธีสอนแบบบรรยาย ครูได้อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมจากหนังสือหรือแบบเรียนมากขึ้น ผู้เรียนเกิดทักษะในการฟังและการเขียน ผู้เรียนมีอิสระ ในการเขียนหรือตอบคำถาม ข้อเสียวิธีสอนแบบบรรยาย ผู้เรียนไม่ได้ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเอง ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะต้องฟังเป็นส่วนใหญ่ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อยผู้เรียนที่มีพื้นฐานการเรียนอ่อนหรือปานกลางจะเรียนไม่ค่อยทัน
2. วิธีการสอนแบบสาธิต คือ วิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง มีแนวทางในการสาธิต ดังนี้
- การสาธิตแบบบอกความรู้ เป็นการสาธิตที่แจ้งให้ผู้เรียนทราบก่อนการสาธิตว่าจะทำอะไร อย่างไรและจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วให้ผู้เรียนสังเกตการณ์สาธิต พร้อมอธิบายตามไปด้วย
-การสาธิตแบบค้นพบความรู้ เป็นการสาธิตที่ผู้สาธิตหรือครูตั้งคำถามให้ผู้เรียนคาดคะเนคำตอบ เพื่อเป็นการเร้าความสนใจแล้วจึงให้ผู้เรียนคอยสังเกตจาการสาธิตว่ามีอะไร เกิดขึ้นบ้าง อย่างไร
3. วิธีการสอนแบบอภิปราย คือ วิธีการสอนแบบอภิปราย หมายถึง วิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพิจารณาหัวข้อที่กลุ่มสนใจร่วมกัน วิธีการสอนแบบอภิปรายจึงเป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนคือ ได้คิด ได้ทำ ได้แก้ปัญหา ได้ฝึกการร่วมการทำงานแบบประชาธิปไตย ผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางของการเรียน มีลักษณะการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น เป็นฯการพัฒนาผู้เรียนทางด้านความรู้และด้านเจตคติ และด้านทักษะการเรียนรู้ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการพูด การฟัง การแสดงความคิดเห็น การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นต้น
4. วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม คือ เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาช่วยกันค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัด หรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกันตามวิถีแห่งประชาธิปไตย ทุกคนจะต้องดำเนินการตามที่มอบหมายให้ เป็นวิธีที่ช่วยในการฝึกฝนนักเรียนให้ได้รับประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงานแต่ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ ครูจะต้องวางแผนให้นักเรียนทุกคนในแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
5. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา คือ มุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษาและฝีกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นกระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์ อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่มสาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบกันในการแก้ปัญหานั้นๆ สำหรับขั้นตอนการสอนของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา
6. วิธีการสอนแบบโครงงาน คือ เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียน จะต้องฝึกกระบวนการท างานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการท างานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็น ประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้วีการสอนโครงงานสามารถ สอนต่อเนื่องกับวีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน
ซึ่งแต่ละวิธีก็มีวิธีการแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้ผู้สอนว่าจะเลือกใช้วิธีการสอนแบบใด