ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน
โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม
ผู้วิจัย หมอกฟ้า ที่รัก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนา
ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิด การจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80) 3) ประเมินประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน โดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
เมืองพลพิทยาคม 3.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียน
ด้วยชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3.3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหา
เป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียน
เมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามนักเรียน 2)แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน 3)ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน จำนวน 6 ชุด 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน
ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) t-test (One-Sample) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม พบว่า เห็นสมควรให้มีการพัฒนาชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน
2. ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL)
ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.14/82.39 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนดคือ 80/80
3. ผลการประเมินประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน โดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
เมืองพลพิทยาคม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดการเรียนรู้สื่อประสม
เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้สื่อประสม เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด