ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

คำนำ

เอกสารรายงานผล นวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย ๓ สร้าง ในชื่อผลงาน “นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย” จัดทำขึ้นเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งสรุปภาพความสำเร็จของการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารรายงานผลการปฏิบัติงาน นวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้นโยบาย ๓ สร้าง ในชื่อผลงาน “นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และขอขอบพระคุณคณะทำงานทุกท่านที่เสียสละเวลาในการจัดทำเอกสารฉบับนี้จนสำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้

สมจิต ยี่รัมย์

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

1. ความสำคัญของนวัตกรรม 1

2. จุดประสงค์และเป้าหมาย 3

3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน 5

4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ 8

5. ปัจจัยความสำเร็จ 10

6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) 11

7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ 11

8. ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 12

9. ภาคผนวก ข เกียรติบัตรและรางวัล 22

10. ภาคผนวก ค ภาพประกอบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมนวัตกรรม 3R Activity Based Learning ๒3

แบบรายงาน

นวัตกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)

3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย

เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (BEST PRACTICE)

ประเภทผลงาน ( ) ครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ข้อมูลทั่วไป

1. ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี

จังหวัดสุรินทร์ เครือข่ายโรงเรียนชุมพลบุรี 3

2. ชื่อครูผู้สอน นางสมจิต ยี่รัมย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

3. เรื่องที่สอน 3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

1. ความสำคัญของนวัตกรรม

การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอันดับแรกเพราะการอ่านออกเขียนได้เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ส่งผลต่อคุณภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน ปัจจุบันพบว่ามีนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเขียน ภาษาไทย มีทั้งอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง หรือถึงขั้นอ่านไม่ได้ เขียนไม่ได้ก็มีจำนวนไม่น้อย การจัดกระบวนการเรียนการสอนของครูจึงต้องเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกให้รู้จักอ่าน เขียน คิด ฝึกทำ และลงมือปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 กำหนดไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ,2545) และตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กำหนดหลักการ ข้อ 3 ซึ่งกำหนดไว้ว่า“ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตโดย ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)

จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ข้อที่ 6 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ(Active Learning) มีการวัด และประเมินผลในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียน (Assessment for Learning) ทุกระดับ : https:// www.kruupdate.com

จากโมเดลการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา 3 สร้างสู่ความยั่งยืน (OQM Model) O : Opportunty สร้างโอกาส Q : Quality สร้างคุณภาพ M: Moral สร้างคุณธรรมสู่เป้าหมายโรงเรียนคุณภาพ ห้องเรียนคุณภาพ คุณภาพผู้เรียน เก่ง ดี มีสุข 3R 8C

ปัจจุบันข้าพเจ้าสอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้สังเกตพฤติกรรมการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง “คำควบกล้ำ” พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนยังไม่น่าพึงพอใจ เนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวและภูมิลำเนาที่ไม่เน้นการใช้คำควบกล้ำ อีกทั้งชุมชนที่ตั้งอยู่พูดภาษาถิ่นโดยพูดภาษาไทยไม่ชัดเจนย่อมส่งผลให้นักเรียนเกิดปัญหาในการอ่านเขียนคำควบกล้ำ สับสนในการออกเสียง ทางแก้อยู่ที่ครูจะต้องปรับปรุงการสอนทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำของน่าเบื่อหน่ายให้น่าสนุก จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้าได้ดีขึ้น ดังที่ กรรณิการ์ พวงเกษม (2535 : 37) ได้เสนอแนวคิดว่า เด็กวัยประถมศึกษานั้นครูเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดสิ่งแวดล้อมหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน ให้มาสนใจการอ่านการเขียนมากขึ้น การฝึกทักษะการอ่านการต้องอาศัยการฝึกฝนอยู่เสมอ จึงจะสามารถอ่านได้ถูกต้องและเกิดความชำนาญ โดยอ้างถึงกฎแห่งการเรียนรู้ของ Thorndike เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัดว่า การกระทำซ้ำๆ ในพฤติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้พฤติกรรมนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ฝึกอย่างสม่ำเสมอ พฤติกรรมนั้นก็จะเลือนรางไป กฎแห่งความพร้อม คือนักเรียนต้องมีความพร้อมในการเรียนจะทำให้เกิดความพอใจ และ กฎแห่งผล คือ การฝึก ต้องมีเนื้อหาน่าสนใจ ความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและ สติปัญญา มีสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนพอใจ การประเมินผล กระทำอย่างรวดเร็วหลังจากผู้เรียนทำเสร็จ

จากปัญหาและความสำคัญของการเรียนรู้ที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้า จึงสนใจที่จะพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคําควบกลํ้า เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะกระบวนการความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยที่ยั่งยืนพร้อมกับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ข้าพเจ้าจึงออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ในชื่อนวัตกรรม “3R Activity Based Learning ” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย” ซึ่งนวัตกรรม 3R Activity Based Learning เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนโดยแต่ละกิจกรรมจะสอดแทรกเนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะและกระบวนการตามจุดประสงค์การเรียนรู้โดยจัดการเรียนการสอนตามหลักการสอนแบบ ๓ R ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning; ABL) หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และมีบทบาทในการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียน ผ่านกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองผ่าน การเล่นเกม การร้องเพลง บทบาทสมมุติ และสถานการณ์จำลอง คุณครูทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมโดย การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีการวางแผนการใช้สื่อที่ดีเพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข มี การพัฒนาการฟัง การพูดภาษาไทยไปด้วยความมั่นใจ หลักการสอนแบบ 3R คือ Repetition คือ การสอนซ้ำไปซ้ำมาและใช้เวลาสอนมากกว่าปกติโดยใช้วิธีการสอนหลายๆวิธีในเนื้อหาเดิมดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการสอนไม่ให้เด็กเบื่อและสามารถเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น Relaxation คือ การสอนแบบไม่ตึงเครียดนักไม่สอนแต่เนื้อหาวิชาอย่างเดียวควรเปลี่ยนกิจกรรมจากการสอนวิชาการเป็นการเล่นเกม ร้องเพลงดนตรีหรือเล่านิทานบ้าง Roution คือ สอนให้เป็นกิจวัตรประจำวันคือเป็นกิจกรรมที่จะต้องทำเป็นประจำสม่ำเสมอในแต่ละวัน

๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

2.1 จุดประสงค์

2.๑.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ

2.1.2 เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียน คำควบกล้ำของผู้เรียนให้เพิ่มขึ้น

2.1.๓ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้นวัตกรรมการเรียน ๓R Activity Based Learning

2.2 เป้าหมายการดำเนินงาน

2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย จำนวน 1๗ คน

2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1) นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำควบกล้ำ เพิ่มขึ้น

2) นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีความสามารถในการอ่าน การเขียน คำควบกล้ำเพิ่มขึ้น

3) นักเรียนร้อยละ ๘๐ มีความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่องคำควบกล้ำในวิชาภาษาไทย

๓. กระบวนการดำเนินงาน

3.1 กรอบแนวคิดการพัฒนา

การดำเนินงานเพื่อสร้างนวัตกรรม “3R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒” ผู้สร้างนวัตกรรมได้ศึกษาสภาพบริบทและสภาพปัญหาของผู้เรียน เมื่อทราบปัญหาของผู้เรียนผู้สร้างนวัตกรรมได้ศึกษาหลักสูตรตลอดจนค้นคว้าเกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เรียนแล้วรู้สึกสนุก ไม่น่าเบื่อ ผู้สร้างนวัตกรรมจึงเลือกเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Activity Based Learning (ABL) เพราะการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลิน ทำให้การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ไม่น่าเบื่อ และมีความท้าทาย ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างได้ๆ ทำให้ได้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน ดังนี้

นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอน ซ้ำ ย้ำ ทวน ซึ่งแต่ละกิจกรรมได้สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ดังนี้

1. เกมลูกเต๋าหรรษา นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎ กติกา การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน การสะกดคำ และการออกเสียงคำควบกล้ำ

2. เกมบิงโกคำควบกล้ำหรรษา นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกฎ กติกา การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน การออกเสียง ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต

3. กิจกรรมค้นหาคำควบกล้ำ จากกระดานอักษรไขว้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการสังเกต การประสมคำ

4. กิจกรรมเซียมซี เสี่ยงโชค นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการสังเกต การสะกดคำ และการออกเสียง

3.2 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นวางแผน (Plan)

๑. วิเคราะห์สภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย

1.1 สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน

1.2 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรกลุ่มสาระ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดพร้อมทั้งศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการรู้

1.3 เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

2. ศึกษาและออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (นวัตกรรม)

2.1 ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ ABL เรื่องคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่๒

2.2 นำไปเสนอ ผู้เชี่ยวชาญตรวจ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ

3. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

3.1 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ โดยยึดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ABL เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

3.2 ผลิตสื่อหรือนวัตกรรมเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ABL

3.3 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

3.3.1 แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน

3.3.2 ประเมินการอ่าน การเขียน

3.3.3 ประเมินพฤติกรรมการทำงานรายบุคคลรายกลุ่ม

3.3.๔ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการ (Do)

ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

1. ทำการทดสอบผู้เรียนชั้น ป.๒ จำนวน 1๗ คน โดยใช้แบบประเมินการอ่าน การเขียน ก่อนเรียน

2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ดังนี้

2.1 ชั่วโมงที่ 1 เกมลูกเต๋าหรรษา

2.2 ชั่วโมงที่ 2 เกมบิงโกคำควบกล้ำหรรษา

2.3 ชั่วโมงที่ 3 กิจกรรมอักษรไขว้

2.4 ชั่วโมงที่ 4 กิจกรรมเซียมซีเสี่ยงโชค

3. ทำการทดสอบผู้เรียนชั้น ป.๒ จำนวน 1๗ คน โดยใช้แบบประเมินการอ่าน การเขียน หลังเรียน

ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินทบทวนตรวจสอบ (Check)

เมื่อดำเนินงานตามกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง ผู้สอนจะประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมประเมินพฤติกรรมการทำงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ตรวจสอบว่ามีปัญหาเกิดขั้นระหว่างการปฏิบัติหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการปฏิบัติกิจกรรม การติดตาม ตรวจสอบ จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนด

ประเมินทักษะการอ่าน ประเมินทักษะการเขียน นิเทศการห้องเรียนโดยผู้อำนวยการโรงเรียน

ขั้นที่ 4 ขั้นการปรับปรุง (Act)

ครูผู้สอนได้พิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ พบปัญหาในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงรวบรวมข้อมูลไว้มาวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ พร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขกิจกรรมทำให้งานสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิม และได้ดำเนินการพัฒนาผลงานไปใช้กับผู้เรียนระดับต่างๆ พร้อมเผยแพร่ผลงานให้กับครูผู้สอนที่สนใจในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

๔. ผลการดำเนินการ

นวัตกรรม 3R Activity Based Learning เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ที่หลากหลาย สอน ซ้ำ ย้ำ ทวน ซึ่งแต่ละกิจกรรมได้สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับคำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยใช้นวัตกรรม”๓R Activite Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย” ในครั้งนี้ ผู้รายงานได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นดังนี้

๑. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ดังนี้ X แทน ผลรวมคะแนนทั้งหมด

X แทน คะแนนเฉลี่ย

S.D แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

๒. ลำดับขั้นในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบทดสอบ แบบประเมินการอ่านออกเสียงและการเขียนคำควบกล้ำ

๓. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิเคราะห์การทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำควบกล้ำของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ด้วยแบบแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนและเพื่อประเมินทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ก่อนเรียนและหลังเรียน อีกทั้งประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม ๓R Activity Based Learning ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังตาราง

การทดสอบด้วยแบบข้อสอบ จำนวนนักเรียน ผลรวม X

ค่าเฉลี่ย X

ร้อยละ ค่า S.D

ก่อนเรียน 17 คน 71 4.18 41.76 0.81

หลังเรียน 17 คน 144 8.47 84.71 0.87

จากตารางสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยนวัตกรรม 3R Activity Based Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำควบกล้ำของนักเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.76 และเมื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมเสร็จสิ้น ผลปรากฏว่า นักเรียนจำนวน 17 คน ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ร้อยละ 84.71 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.94

การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคำควบกล้ำของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ด้วยแบบประเมินทักษะการอ่านคำควบกล้ำ ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังตาราง

การอ่าน จำนวนนักเรียน ผลรวม X ค่าเฉลี่ย X

ร้อยละ ค่า S.D

ก่อนเรียน 17 คน 325 19.12 63.73 3.48

หลังเรียน 17 คน 431 25.35 84.51 2.62

จากตารางสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยนวัตกรรม 3R Activity Based Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 6๓.73 และเมื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมเสร็จสิ้น ผลปรากฏว่า นักเรียนจำนวน 17 คน ทำแบบประเมินการอ่านหลังเรียนได้ร้อยละ 84.51 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.78

การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนคำควบกล้ำของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ด้วยแบบประเมินทักษะการเขียนคำควบกล้ำ ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังตาราง

การเขียน จำนวนนักเรียน ผลรวม X ค่าเฉลี่ย X

ร้อยละ ค่า S.D

ก่อนเรียน 17 คน 312 18.35 61.16 3.39

หลังเรียน 17 คน 422 24.82 82.83 3.19

จากตารางสรุปได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยนวัตกรรม 3R Activity Based Learning สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำควบกล้ำของนักเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 61.61 และเมื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมเสร็จสิ้น ผลปรากฏว่า นักเรียนจำนวน 17 คน ทำแบบประเมินการอ่านการเขียนหลังเรียนได้ร้อยละ 82.83 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.67

สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการสอน คิดเป็นร้อยละ 99.12 นอกจากนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning ยังก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1. ส่งเสริมการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจแก้ปัญหา

2.ส่งเสริมการเล่นร่วมกัน เป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่น เพราะในบรรยากาศการเล่นนั้นเป็นการฝึกฝนการยอมรับผู้อื่น และการที่ผู้อื่นยอมรับตนได้ เป็นการเรียนรู้การเข้าสังคม ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมจากการสนทนาถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกล้าในการแสดงออก กล้าพูด กล้าคิด โดยครูควรมีคำถามให้คิดเกี่ยวกับภาพในเกมหรือเรื่องราวจากเกม

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนยอมรับการแพ้ ชนะ การทำตามกติกา

5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลิน และผ่อนคลายจากกิจกรรม

6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัยในตนเองและหมู่คณะ ความอดทนอดกลั้น ความชื่อสัตย์ การเป็นผู้นำผู้ตาม เป็นต้น

7. ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าด้วยตนเองจากสื่อการเล่นและเรียนรู้ที่จะเล่นจากวิธีการเล่น

เกมการศึกษาเปิดโอกาสให้เด็กได้กระทำ ได้สำรวจ ค้นคว้า จึงเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็กเต็มใจรับด้วยความสนุก ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดนอกจากครูผู้สอนนำนวัตกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ แล้วยังนำนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำควบกล้ำมากขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย ตั้งใจเรียนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ครูและนักเรียนได้รับรางวัลต่างๆดังนี้

๑. เป็นครูผู้ฝึกสอนนักเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้นำนักเรียนเข้าร่วมประกวดโครงงานคุณธรรม “ปณิธานความดี ทำดีได้เริ่มที่ใจเรา”กิจกรรมน้ำหมักอินทรีย์ วิถีแห่งความพอเพียง ณ ห้องประชุมเมืองแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ ได้รับรางวัลเหรียญทอง อ้างอิงเกียรติบัตรเลขที่ ๕๒๒๗/๒๕๖๔ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๓

๒. เป็นคณะทำงานในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ชีวิตที่พอเพียง รอบคอบระมัดระวัง ทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น อดทน มีความเพียร มีวินัย มีสัมมาคารวะ รู้จักทำประโยชน์ให้กับสังคม เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยมเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งส่งผลให้ปีการศึกษา ๒๕๖๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วยได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาแบบอย่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “ สถานศึกษาพอเพียง ”

๓. เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้เข้าร่วมประกวดห้องเรียนคุณภาพในระดับโรงเรียน ระดับเครือข่ายโรงเรียน ระดับอำเภอ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา จนได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทห้องเรียนคุณภาพระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ระดับอำเภอชุมพลบุรี การประกวดห้องเรียนคุณภาพสู่ TO BE THE FIRST ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ได้รับเกียรติบัตร และ โล่รางวัล จากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๒ เกียรติบัตรเลขที่ ๓๙๕๓/๒๕๖๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๕ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๓ ๔. ครูผู้สอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเกมกลุ่ม ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เรียนรู้อย่างมีความสุขและพึงพอใจต่อการเรียน เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน ส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับรางวัล ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีคะแนนสอบ RT ปีการศึกษา ๒๕๖๓ สูงกว่าระดับประเทศ ได้รับเกียรติบัตรเลขที่ ๑๕๐/๒๕๖๓ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔

๕. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ในรูปแบบ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมต่างๆทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เรียนรู้อย่างมีความสุขและพึงพอใจต่อการเรียน เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน ส่งผลให้ครูผู้สอนได้รับรางวัล ครูดีเด่น สาขา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ได้รับเกียรติบัตรจากประธานเครือข่ายชุมพลบุรี ๓

๖. ครูผู้เสนอผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างได้ในโครงการติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)

๗. เด็กหญิงลลนา ปะนาโท ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานคุณธรรม “ปณิธานความดี ทำดีได้เริ่มที่ใจเรา” ระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา 256๓

๘. เด็กหญิงนภัสสร ลีทอง ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานคุณธรรม “ปณิธานความดี ทำดีได้เริ่มที่ใจเรา” ระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา 256๓

๙. เด็กหญิงกนกพรรณ มูลทองเนียม ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานคุณธรรม “ปณิธานความดี ทำดีได้เริ่มที่ใจเรา” ระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา 256๓

๕. ปัจจัยความสำเร็จ

5.๑ ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญต่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด มีวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต อยู่อย่างพอเพียงและมีจิตสาธารณะ

5.๒ ผู้เรียนตระหนักและเห็นความสำคัญในการเรียนภาษาไทย

5.๓ ผู้เรียนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย

5.๔ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ความกระตือรือร้น และมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

5.๕ ครูผู้สอนประเมินผลการดำเนินงานและปรับปรุงผลงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

5.๖ ผู้ปกครองดูแลการทำการบ้านของผู้เรียน

5.๗ ผู้บริหารสถานศึกษากำกับนิเทศติดตามการจัดกิจกรรมของครูผู้สอน

๖. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

การใช้วัตกรรม 3R Activity Based Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity Based Learning; ABL) โดยมุ่งเน้น ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนโดยแต่ละกิจกรรมจะสอดแทรกเนื้อหาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะและกระบวนการตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สามารถส่งผลต่อผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ผู้เรียนมีเจตคติและพฤติกรรมด้านบวกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของผู้เรียน นอกจากนี้การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนแสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนไม่ได้สนใจเพียงแค่การเล่นเกมแต่ยังมีความสนใจในการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมอื่นๆ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กระทำ ได้สำรวจ ค้นคว้า จึงเป็นประสบการณ์ตรงที่เด็กเต็มใจรับด้วยความสนุก ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด และเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปโดยที่ผู้เรียนไม่รู้ตัว รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการทำงานและอยู่ร่วมกัน และส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของผู้เรียนสูงขึ้น

การจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิคการจัดกิจกรรม ABL ครูผู้สอนต้องตระหนักว่า ผู้เรียนแต่ละคนมีพื้นฐานวิชาภาษาไทยไม่เท่ากัน ดังนั้นในการจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม ควรจัดกลุ่มแบบคละความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเนื่องจากเวลาในการจัดกิจกรรมมีจำกัด ดังนั้นในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งครูผู้สอนควรกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมแต่ละช่วงให้ผู้เรียนทราบอย่างแน่ชัด

การพัฒนานวัตกรรมทางด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ ABL ครั้งนี้ ทำให้ครูผู้สอนได้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning ซึ่งครูผู้สอนนำไปใช้กับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ และชั้นประถมศึกษาที่ 3 พบว่าผู้เรียนให้ความสนใจ สนุกสนานเพลิดเพลินกับการทำกิจกรรม และผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำควบกล้ำมากขึ้น

๗. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน

7.1 เผยแพร่ผลการดำเนินงานภายในโรงเรียนโดยการเผยแพร่เป็นเอกสารที่สร้างขึ้น

7.2 ประชาสัมพันธ์โดยจัดทำเป็นแผ่นพับสรุปผลการดำเนินงาน

7.3 เผยแพร่โดยการจัดทำเป็นวารสารประชาสัมพันธ์โรงเรียน

7.4 ประชาสัมพันธ์ผ่าน Line กลุ่มห้องเรียน

7.5 ประชาสัมพันธ์ผ่าน Line ของโรงเรียน

7.6 เผยแพร่โดยนำไปประกวดผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างได้ใน โครงการติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -๑๙)

ภาคผนวก ก

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

ชื่อ………………………………………….นามสกุล………………………………..ชั้น…………………..เลขที่…………………..

ตัวอย่าง

ลำดับที่ คำ ผลการอ่าน บันทึกผลการอ่าน

ได้ ไม่ได้

1 โคลง  อ่านออกเสียง “โคง”

2 กรง 

ลำดับที่ คำ ผลการอ่าน บันทึกผลการอ่าน

ได้ ไม่ได้

1 ประถม

2 โผล่

3 นกกระสา

4 น้ำเกลือ

5 ห้องครัว

6 กล้วย

7 กลิ่น

8 ความ

9 ควาย

10 ตรวจ

11 ปราบ

12 ปรึกษา

13 ปลูก

14 เปลี่ยน

15 สกปรก

17 ครบครัน

18 โปรยปราย

19 คว่ำขัน

20 ปลอดภัย

21 แผลงศร

22 สระผม

23 เศรษฐี

24 ปลาอินทรี

25 เศร้าสร้อย

26 พุทรา

27 ทราบ

28 สร้างบ้าน

29 ทราย

30 จริง

ประเมินผล จำนวนคำ 30 คำ

อ่านได้ถูกต้อง ……… คำ

อ่านไม่ถูกต้อง/อ่านไม่ได้ ……… คำ

พฤติกรรมเด็กขณะอ่านคำควบกล้ำ ………..……………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ชื่อ………………………………………….นามสกุล………………………………..ชั้น…………………..เลขที่…………………..

ตัวอย่าง

ลำดับที่ คำ ผลการเขียน บันทึกผลการเขียน

ได้ ไม่ได้

1 โคลง  อ่านออกเสียง “โคง”

2 กรง 

ลำดับที่ คำ ผลการเขียน บันทึกผลการเขียน

ได้ ไม่ได้

1 ประถม

2 โผล่

3 นกกระสา

4 น้ำเกลือ

5 ห้องครัว

6 กล้วย

7 กลิ่น

8 ความ

9 ควาย

10 ตรวจ

11 ปราบ

12 ปรึกษา

13 ปลูก

14 เปลี่ยน

15 สกปรก

17 ครบครัน

18 โปรยปราย

19 คว่ำขัน

20 ปลอดภัย

21 แผลงศร

22 สระผม

23 เศรษฐี

24 ปลาอินทรี

25 เศร้าสร้อย

26 พุทรา

27 ทราบ

28 สร้างบ้าน

29 ทราย

30 จริง

ประเมินผล จำนวนคำ 30 คำ

เขียนได้ถูกต้อง ……… คำ

เขียนไม่ถูกต้อง/เขียนไม่ได้ ……… คำ

พฤติกรรมเด็กขณะอ่านคำควบกล้ำ ………..……………………………………………………………………………………………………..

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม

คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด  ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน

ลำดับ ที่ ชื่อ-สกุล

ของผู้รับการประเมิน การแสดงความคิดเห็น การยอมรับ ฟังคนอื่น การทำงาน ตามที่ได้รับ มอบหมาย ความมีน้ำใจ การมี

ส่วนร่วมใน การปรับปรุงผลงานกลุ่ม รวม

15 คะแนน

3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1

1 เด็กชายวีรยุทธ ภูมิกอง

2 เด็กชายกฤษฎา เชื้อบุดดี

3 เด็กชายกันตินนท์ ตอสกุล

4 เด็กชายรชานนท์ นะลาหนองแวง

5 เด็กชายกัมปนาท โนมายา

6 เด็กชายกวิน เสียงดัง

7 เด็กชายกฤษณภัค ทบแก้ว

8 เด็กชายอาทิตย์ โนมายา

9 เด็กชายวิทยา อินทร์เลิศ

10 เด็กชายภัทรชานนท์ เทวารัมย์

11 เด็กชายธนภัทร ฝ่ายพรม

12 เด็กหญิงณัฐธิดา ลุนปัดถา

13 เด็กหญิงสุพิชชา ศรีพุมมา

14 เด็กหญิงปริยากร วันแก้ว

15 เด็กหญิงสุมิตรา ราชสุวรรณ์

16 เด็กหญิงนฤมล ยวงโปร่งแก้ว

17 เด็กหญิงศิริธร ธรรมกุล

ลงชื่อ .................................................... ผู้ประเมิน

................ /................ /................

เกณฑ์การให้คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน

ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน

แบบบันทึกคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน – หลังเรียน

เรื่อง คำควบกล้ำ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

เลขที่ ชื่อ - สกุล ก่อนเรียน หลังเรียน ค่าคะแนน

10 คะแนน 10 คะแนน พัฒนา

1 เด็กชายวีรยุทธ ภูมิกอง 4 8 +4

2 เด็กชายกฤษฎา เชื้อบุดดี 4 8 +4

3 เด็กชายกันตินนท์ ตอสกุล 4 8 +4

4 เด็กชายรชานนท์ นะลาหนองแวง 3 8 +5

5 เด็กชายกัมปนาท โนมายา 5 7 +2

6 เด็กชายกวิน เสียงดัง 4 9 +5

7 เด็กชายกฤษณภัค ทบแก้ว 4 10 +6

8 เด็กชายอาทิตย์ โนมายา 5 8 +3

9 เด็กชายวิทยา อินทร์เลิศ 4 8 +4

10 เด็กชายภัทรชานนท์ เทวารัมย์ 4 9 +5

11 เด็กชายธนภัทร ฝ่ายพรม 3 9 +6

12 เด็กหญิงณัฐธิดา ลุนปัดถา 4 10 +6

13 เด็กหญิงสุพิชชา ศรีพุมมา 4 7 +3

14 เด็กหญิงปริยากร วันแก้ว 3 9 +6

15 เด็กหญิงสุมิตรา ราชสุวรรณ์ 5 8 +3

16 เด็กหญิงนฤมล ยวงโปร่งแก้ว 6 9 +3

17 เด็กหญิงศิริธร ธรรมกุล 5 9 +4

เฉลี่ย 4.18 8.47

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 0.87

ร้อยละ 41.76

84.71

+42.94

แบบบันทึกคะแนนการประเมินด้านการอ่าน – เขียน ก่อนเรียน – หลังเรียน

เรื่อง คำควบกล้ำ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

เลขที่ ชื่อ - สกุล การอ่าน ค่าคะแนน การเขียน ค่าคะแนน

ก่อนเรียน 30 คะแนน หลังเรียน30 คะแนน พัฒนา ก่อนเรียน 30 คะแนน หลังเรียน30 คะแนน พัฒนา

1 เด็กชายวีรยุทธ ภูมิกอง 16 22 +6 12 25 +13

2 เด็กชายกฤษฎา เชื้อบุดดี 15 22 +7 11 25 +14

3 เด็กชายกันตินนท์ ตอสกุล 15 23 +8 11 21 +10

4 เด็กชายรชานนท์ นะลาหนองแวง 22 28 +6 18 24 +6

5 เด็กชายกัมปนาท โนมายา 16 24 +8 12 23 +11

6 เด็กชายกวิน เสียงดัง 16 23 +7 12 24 +12

7 เด็กชายกฤษณภัค ทบแก้ว 24 30 +6 20 29 +9

8 เด็กชายอาทิตย์ โนมายา 15 21 +6 11 23 +12

9 เด็กชายวิทยา อินทร์เลิศ 15 22 +7 11 23 +12

10 เด็กชายภัทรชานนท์ เทวารัมย์ 21 28 +7 17 24 +7

11 เด็กชายธนภัทร ฝ่ายพรม 20 27 +7 16 27 +11

12 เด็กหญิงณัฐธิดา ลุนปัดถา 24 30 +6 20 28 +8

13 เด็กหญิงสุพิชชา ศรีพุมมา 18 26 +8 14 27 +13

14 เด็กหญิงปริยากร วันแก้ว 20 25 +5 16 27 +11

15 เด็กหญิงสุมิตรา ราชสุวรรณ์ 22 28 +6 18 28 +10

16 เด็กหญิงนฤมล ยวงโปร่งแก้ว 19 23 +4 15 22 +7

17 เด็กหญิงศิริธร ธรรมกุล 14 20 +6 10 21 +11

เฉลี่ย 18.35 24.82 14.35 24.76

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.39 3.19 3.39 2.51

ร้อยละ 61.16 82.83 +21.67 47.84 82.54 +34.71

34.71

34.71

สรุปแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้นวัตกรรมการเรียน

๓R Activity Based Learning เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย

เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย

ข้อมูลทั่วไป : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่

โรงเรียนบ้านโพธิ์ห้วย ต.เมืองบัว อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ สพป.สร.เขต ๒

เพศ ชาย จำนวน ๑๑ คน

หญิง จำนวน ๖ คน

คำชี้แจง ทำเครื่องหมาย √ ลงในช่องว่างที่ใกล้เคียงกับระดับความรู้สึกของท่านมากที่สุด

รายการประเมิน ระดับความคิดเห็น Mean S.D. ร้อยละ

มาก

(๔) ปานกลาง(๓) น้อย

(๒) ปรับปรุง(๑)

1.นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิมเรื่องคำควบกล้ำ 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

2.นักเรียนมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องคำควบกล้ำ 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

3.นักเรียนชอบและได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม 15 2 0 0 3.88 2.64 97.06

4.นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 15 2 0 0 3.88 2.64 97.06

5นักเรียนชอบการสอนภาษาไทยแบบใช้กิจกรรมเป็นฐาน 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

6. ทักษะการสอนซ้ำ ย้ำ ทวน สำคัญกับการเรียน 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

7.นักเรียนมีความรู้สึกสนุกสนานกับการทำกิจกรรมครั้งนี้ 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

8.นักเรียนมีความรู้ก่อนใช้นวัตกรรม3R Activity Based learning 15 2 0 0 3.88 2.64 97.06

9. นักเรียนมีความรู้หลังใช้นวัตกรรม3R Activity Based learning 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

10. นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ 17 0 0 0 4.00 3.00 100.00

จากตารางสรุปความพึงพอใจของนักเรียนได้ดังนี้ มากที่สุดร้อยละ 100.00 ได้แก่ นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิมเรื่องคำควบกล้ำ, นักเรียนมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องคำควบกล้ำ, .นักเรียนชอบการสอนภาษาไทยแบบใช้กิจกรรมเป็นฐาน ,ทักษะการสอนซ้ำ ย้ำ ทวน สำคัญกับการเรียน,นักเรียนมีความรู้สึกสนุกสนานกับการทำกิจกรรมครั้งนี้ ,นักเรียนมีความรู้หลังใช้นวัตกรรม3R Activity Based learning และ นักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ รองลงมา ร้อยละ 97.06 นักเรียนชอบและได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม,นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และนักเรียนมีความรู้ก่อนใช้นวัตกรรม3R Activity Based learning ตามลำดับ

เกียรติบัตรและรางวัล

ภาพประกอบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning (ลูกเต๋าหรรษา)

ภาพประกอบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning (บิงโกหรรษา)

ภาพประกอบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning (เซียมซีเสี่ยงโชค)

ภาพประกอบกิจกรรม

การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรม 3R Activity Based Learning (ปริศนาอักษรไขว้)

การนำเทคนิคการสอนแบบ ABL ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาภาษาไทยระดับต่างๆ

การเผยแพร่ผลงาน

โพสต์โดย ครูสิฎฐี : [8 มี.ค. 2565 เวลา 12:43 น.]
อ่าน [4299] ไอพี : 1.4.194.34
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 230,024 ครั้ง
การนับตัวเลข1-10(ภาษาจีน)
การนับตัวเลข1-10(ภาษาจีน)

เปิดอ่าน 8,669 ครั้ง
ประกันรถยนต์ช่วยคุณประหยัดเงินได้ยังไง
ประกันรถยนต์ช่วยคุณประหยัดเงินได้ยังไง

เปิดอ่าน 81,734 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลคนเป็นลม
วิธีปฐมพยาบาลคนเป็นลม

เปิดอ่าน 12,500 ครั้ง
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม
"ผักติ้ว" ผักพื้นบ้านชาวอีสานที่ไม่ควรมองข้าม

เปิดอ่าน 13,905 ครั้ง
แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551
แนวปฎิบัติการจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาสำหรับโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนพร้อมใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551

เปิดอ่าน 50,312 ครั้ง
พรบ.ครู(ฉบับที่2) 2551 มีผล 21 กุมภาพันธ์ 2551
พรบ.ครู(ฉบับที่2) 2551 มีผล 21 กุมภาพันธ์ 2551

เปิดอ่าน 15,293 ครั้ง
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา

เปิดอ่าน 11,298 ครั้ง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง
คอมพิวเตอร์ วิชั่น-ออฟฟิศ ซินโดรม โรคฮิตของคนเมืองทางแก้เริ่มที่ตัวเอง

เปิดอ่าน 71,235 ครั้ง
ตารางบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ตามร่างพ.ร.ฎ.ปรับเงินเดือน 5%
ตารางบัญชีอัตราเงินเดือนใหม่ ตามร่างพ.ร.ฎ.ปรับเงินเดือน 5%

เปิดอ่าน 19,113 ครั้ง
ชวนงดเหล้า..เข้าพรรษา
ชวนงดเหล้า..เข้าพรรษา

เปิดอ่าน 30,712 ครั้ง
สารทเดือนสิบ ประเพณีประจำภาคใต้ ร่วมระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
สารทเดือนสิบ ประเพณีประจำภาคใต้ ร่วมระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

เปิดอ่าน 47,527 ครั้ง
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งสู่อนาคต (Basic Education for Future) : ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย

เปิดอ่าน 109,874 ครั้ง
รำข้าว คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
รำข้าว คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง

เปิดอ่าน 9,358 ครั้ง
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่3
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่3

เปิดอ่าน 10,549 ครั้ง
จัดการผมยุ่งเหยิงยามเช้าตรู่อย่างไรดี
จัดการผมยุ่งเหยิงยามเช้าตรู่อย่างไรดี

เปิดอ่าน 14,769 ครั้ง
จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร
จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร
เปิดอ่าน 16,755 ครั้ง
คลิปฮือฮา-ชื่นชม "เณรน้อย" เทศนาสอนเรื่องแม่
คลิปฮือฮา-ชื่นชม "เณรน้อย" เทศนาสอนเรื่องแม่
เปิดอ่าน 41,687 ครั้ง
Animation สอนภาษาอังกฤษ (การทักทาย)
Animation สอนภาษาอังกฤษ (การทักทาย)
เปิดอ่าน 20,580 ครั้ง
อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย
อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในราชอาณาจักร ในลักษณะเหมาจ่าย
เปิดอ่าน 11,936 ครั้ง
คลิป ซึ้งๆ สอนให้รู้ว่า อย่าดูคนแค่ภายนอก
คลิป ซึ้งๆ สอนให้รู้ว่า อย่าดูคนแค่ภายนอก

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ