ชื่อเรื่อง การพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมบันไดงู
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสาวิตรี โคตรศรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และจำเป็นในการสื่อสารของมนุษย์ การสื่อสารของมนุษย์ใช้ทักษะที่สำคัญหลายทักษะที่จำเป็นได้แก่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะคนไทยที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ เป็นสิ่งที่ไกลตัวสำหรับนักเรียนเนื่องจากนักเรียนไม่ค่อยได้ใช้เป็นประจำ จึงทำให้ผู้เรียนไม่รู้จักคำศัพท์สำหรับพระภิกษุบางคำ ทำให้เป็นปัญหาในการสื่อสาร
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน การเขียน พัฒนาการอ่านคำศัพท์สำหรับพระภิกษุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้เกมบันไดงู ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้นักเรียนจำนวนทั้งหมด 20 คน ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 1 ชุดกิจกรรม โดยบันทึกคะแนนเป็นตาราง และสรุปผลการเปรียบเทียบเป็นร้อยละ
ผลการศึกษาครั้งนี้ ปรากฏว่าการใช้เกมบันไดงูเพื่อพัฒนาพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนสามารถอ่าน เขียน พูด และจดจำคำศัพท์สำหรับพระภิกษุได้ และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ค่อนข้างสูง คิดค่าเฉลี่ยไว้เป็นร้อยละ 76.5
ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมบันไดงู นักเรียนจะมีความสนุกสนานในการเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ได้ดี เมื่อมีการแข่งขันและเสริมแรงจากการใช้คำยกย่องชมเชยจากครู
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อการพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุให้ได้มากขึ้น และมีความสนุกสนานในการเรียน
ตัวแปรที่ศึกษา
จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 20 คน ผู้วิจัยได้ทำเกมบันไดงู เพื่อแบบฝึกอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ ซึ่งมีความยากง่ายกับระดับชั้นของนักเรียนจำนวน 1 ชุด กิจกรรม และใช้การเสริมแรงโดยใช้การยกย่องชมเชย และให้คะแนนระหว่างทำกิจกรรม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) นักเรียนอ่าน เขียน และจำคำศัพท์สำหรับพระภิกษุให้ได้ถูกต้องและมากขึ้น
2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน การเขียนสูงขึ้น
3) นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ขอบเขตการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างเกมบันไดงูเพื่อส่งเสริมพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุเพื่อส่งเสริมการอ่านสะกดคำวิชาภาษาไทย โดยใช้เกมบันไดงู เพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีขอบเขตการวิจัยครั้งนี้
1) จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน
2) คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ
วิธีดำเนินการวิจัย
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
1) 1 15 ส.ค.2563 - ศึกษาสภาพปัญหา และวิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหา
2) 16 31 ส.ค.2563 - เลือกลุ่มเป้าหมาย ตลอดเดือน สิงหาคม2562
- ทดสอบความสามารถในการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุ
โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน (ผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน)
4) 1 - 30 ก.ย.2563 - ใช้เครื่องมือ (เกมบันไดงู)
- วัดความสามารถในการอ่าน เขียน คำศัพท์ โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน
(ผู้วิจัยทำการบันทึกคะแนน)
5) 1 - 31 ต.ค.2563 - เก็บข้อมูล , สรุปวิเคราะห์ผลการวิจัย , จัดทำรูปเล่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๑. เกมบันไดงูคำศัพท์สำหรับพระภิกษุ
๒. การเสริมแรงระหว่างปฏิบัติกิจกรรม เช่น คำยกย่องชมเชย การให้คะแนน ของรางวัล
๓. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลของนักเรียนจำนวน 20 คน จากการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุโดยใช้เกมบันไดงู มีจำนวน 1 ชุด กิจกรรมที่ 1 อธิบายความหมายของคำ คิดเป็นร้อยละ .......
สรุปผลการศึกษาวิจัย
จากการศึกษา และวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทำชุดกิจกรรม เกี่ยวกับการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุโดยใช้เกมบันไดงู ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (ก่อนเรียน) คิดค่าร้อยละ ได้เท่ากับ
. และครั้งที่ 2 (หลังเรียน) คิดได้ค่าร้อยละ .............. แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาด้านการอ่าน การเขียน คำศัพท์สำหรับพระภิกษุโดยใช้เกมบันไดงู ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพิ่มขึ้นจากเดิม นักเรียนสามารถทำคะแนนได้ดีตามลำดับเป็นที่น่าพอใจ และจากการวิเคราะห์ผลการทดสอบเป็นรายบุคคลยังพบว่ามีนักเรียนที่เรียนอ่อนมาก ๆ เท่านั้น ที่คะแนนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายบุคคลต่อไป
การเสริมแรงขณะปฏิบัติกิจกรรมช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจ และทำงานได้คะแนนดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียน คำศัพท์ ควรมีความหลากหลาย โดยอาจจะทำได้ในรูปของการเขียนตามคำบอก จับคู่โยงคำก็ได้ตามแต่ผู้วิจัยจะจัดทำ
2. การให้กำลังใจ คำยกย่อง ชมเชย เข้าช่วยในการสอนอ่านสะกดคำ ทำให้นักเรียนสนุกกับการ
เรียนวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้น