ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ชีวิตของจักจั่น : ชีววิทยา


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดอ่าน : 38,932 ครั้ง
Advertisement

ชีวิตของจักจั่น : ชีววิทยา

Advertisement

จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera ซึ่งเป็น กลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก

 

แมลงในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็นอีกสองกลุ่มย่อยๆ (Suborder) คือพวกที่เคลื่อนไหวเฉื่อยช้า กับพวกที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว แน่นอนที่สุดว่าจักจั่นที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในกลุ่มหลัง เพราะสามารถกระโดดหรือบินได้เป็นอย่างดี

 

จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดสั้นๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส

 

ช่วงชีวิตของจักจั่นเป็นดังนี้
ไข่ (4 เดือน) - วางไข่ใต้เปลือกไม้
ตัวอ่อน (4-6ปี) - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร
ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) - อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร
ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล
ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้

 

จักจั่นทำเสียงเพื่ออะไร
เสียงที่ก้องกังวานทั่วทั้งแนวไพรในยามใกล้พลบค่ำ คงไม่มีเสียงใดจะมากลบเสียงบรรเลงของจักจั่นไปได้ ทำไมจักจั่นจึงต้องทำเสียงดังขนาดนั้นทั้งๆ ที่ตัวของมันก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมาก

 

ในการศึกษาเรื่องเสียงของจักจั่นพบว่า ส่วนใหญ่การทำเสียงของจักจั่นจะเป็นไปเพื่อการหาคู่ครอง สำหรับจักจั่น "เสียง" ก็ไม่ ต่างไปจาก "รูปร่างหน้าตาและความสามารถ" ของคนเรา คุณภาพของเสียงบ่งบอกถึงงคุณภาพของร่างกาย และดุจเดียวกัน พลังเสียง ท่วงทำนอง ความไพเราะ คือลีลา เฉพาะของจักจั่นตัวผู้แต่ละตัว ที่จะประกาศหรือโชว์ให้ตัวเมียได้เห็น (ได้ยิน) ศักยภาพและพึงพอใจในที่สุด

 

นอกจากเสียงที่ใช้ในการประกาศหาคู่แล้ว จักจั่นยังสามารถทำเสียงเฉพาะกิจอื่น ๆ ได้อีก เช่น เสียงเพื่อคัดค้าน ประท้วง เสียงแสดงความพึงพอใจ เสียงข่มขู่
ถึงแม้ว่าตัวผู้หลายสิบตัวจะประสานเสียงจนกังวานไปทั่ว ดังขึ้นตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง จนเราสับสนและหาที่มาของเสียงไม่ได้ว่าจักจั่นเกาะอยู่ตรงไหน แต่สำหรับจักจั่นตัวเมียแล้ว มันสามารถแยกแยะแหล่งที่มาของเสียงจากตัวผู้ต่ละตัวได้ไม่ยากและเสียงดังเพียง 30-40 เดซิเบลก็พอแล้วสำหรับการตัดสินใจ ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกจากผู้เสนอหลายสิบตัว โดยจะยอมผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่มันพอใจมากที่สุดซึ่งก็ต้องเป็นตัวที่มีน้ำเสียงถูกใจมันมากที่สุดนั่นเอง การส่งเสียงของจักจั่นตัวผู้ไม่ต่างไปจากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่นๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม

การผลิตเสียง

เสียงที่ดังมากกว่า 100 เดซิเบล ของจักจั่นตัวผู้ ไม่ได้เกิดจากหลอดเสียงในลำคอเช่นสัตว์ทั่วๆ ไป
เสียงของจักจั่นดังมาจากส่วนท้องแหล่งที่มาของเสียงเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อ (tymbal) ที่อยู่ภายในร่างกายตรงช่องท้อง และมีซี่โครง (Folded membrane) สี่อันเรียงเป็นแนวขวางกับลำตัว ปลายซี่เชื่อมต่อกันกับแผ่นรูปไข่และเชื่อมติดกับกล้ามเนื้ออีกที เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้หดตัว - คลายตัว ซึ่โครงสี่อันนี้ก็จะขยับตาม ส่งผลให้แผ่นรูปไข่ขยับตามไปด้วย และเกิดเสียงขึ้นมา เสียงจะถูกส่ง ผ่านไปยัง tymbal โดย tymbal แต่ละข้างของช่องท้องสามารถผลิตเสียงได้ในความถี่ข้างละ 120 เฮิรตซ์ จากนั้นเสียงจะผ่านไปยังถุงลม (air sac - ถุงลมนี้จะมีขนาดใหญ่มาก มีความจุราว 1.8 มิลลิลิตร ประมาณร้อยละ 70 ของส่วนท้อง) อีกทีก่อนที่จะส่งผ่านไปยังเยื่อแก้วหู (eardrum)
eardrum จะทำหน้าที่ในการควบคุมและขยายเสียง ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่ภายนอก ซึ่งจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อให้ได้เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่มันจะพึงทำได้

 

แค่ลำพังท้องเล็กๆ ที่มีขนาดความจุไม่กี่มิลลิลิตรของจักจั่นก็สามารถผลิตเสียงที่ดังมหาศาลเกินกว่าที่เราจะคาดคิด แต่ไม่ว่าอย่างไร เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ของจักจั่นก็ใช่จะสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงทุกสำเนียงย่อมหมายถึงชีวิตและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์อันเป็นเป้าหมายสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกนี้
จากหนังสือสารคดี ปีที่ 14 ฉบับที่ 168 ก.พ. 2542 หน้า 171 - 172
ที่มา  http://www.school.net.th 


ชีวิตของจักจั่น : ชีววิทยาชีวิตของจักจั่น:ชีววิทยา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร

น้ำค้างเกิดขึ้นจากอะไร


เปิดอ่าน 133,277 ครั้ง
วิวัฒนาการมนุษย์

วิวัฒนาการมนุษย์


เปิดอ่าน 26,264 ครั้ง
วัสดุในชีวิตประจำวัน

วัสดุในชีวิตประจำวัน


เปิดอ่าน 35,763 ครั้ง
พืชอเนกประสงค์

พืชอเนกประสงค์


เปิดอ่าน 28,204 ครั้ง
ปะการัง

ปะการัง


เปิดอ่าน 16,233 ครั้ง
ระบบสุริยะจักรวาล

ระบบสุริยะจักรวาล


เปิดอ่าน 48,249 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลที่มีลักษณะเหมือนโลก

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลที่มีลักษณะเหมือนโลก

เปิดอ่าน 15,829 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
วิธีทำอุปกรณ์ง่าย ๆ ดูปรากฏการณ์สุริยุปราคา
วิธีทำอุปกรณ์ง่าย ๆ ดูปรากฏการณ์สุริยุปราคา
เปิดอ่าน 37,047 ☕ คลิกอ่านเลย

ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
ประโยชน์ของดวงอาทิตย์
เปิดอ่าน 46,847 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
ทำไมดวงอาทิตย์ตอนเช้าหรือตอนเย็นจึงดูดวงใหญ่
เปิดอ่าน 23,648 ☕ คลิกอ่านเลย

คู่ชิดวิทย์สร้างสรรค์ คู่ขวัญ  "สงกรานต์… ดินสอพอง"
คู่ชิดวิทย์สร้างสรรค์ คู่ขวัญ "สงกรานต์… ดินสอพอง"
เปิดอ่าน 1,944 ☕ คลิกอ่านเลย

ห่วงโซ่อาหาร
ห่วงโซ่อาหาร
เปิดอ่าน 28,984 ☕ คลิกอ่านเลย

สสวท. แจกแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีฟรี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 อย่ารอช้าจัดให้ครบครัน
สสวท. แจกแผนการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีฟรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 อย่ารอช้าจัดให้ครบครัน
เปิดอ่าน 4,671 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

น้ำแร่ ชะลอวัยได้จริงหรือ
น้ำแร่ ชะลอวัยได้จริงหรือ
เปิดอ่าน 9,566 ครั้ง

ดื่มนม ช่วยป้องกันโรคอ้วน อย่างนี้ก็มีด้วย
ดื่มนม ช่วยป้องกันโรคอ้วน อย่างนี้ก็มีด้วย
เปิดอ่าน 10,921 ครั้ง

30 ทริคออมเงิน ประหยัดรายจ่าย ปลดหนี้ก็ง่ายเว่อร์
30 ทริคออมเงิน ประหยัดรายจ่าย ปลดหนี้ก็ง่ายเว่อร์
เปิดอ่าน 15,611 ครั้ง

กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ
กินไข่สุก ๆ ดิบ ๆ มีโทษ
เปิดอ่าน 43,859 ครั้ง

ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก
ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก
เปิดอ่าน 36,655 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ