ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมและสภาพปัจจุบัน 2) พัฒนารูปแบบ 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบ และ 4) นำเสนอรูปแบบ การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมและสภาพปัจจุบัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ภาคีเครือข่าย โดยใช้แบบสอบถาม ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ขั้นที่ 3 ทดลองใช้และประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้คู่มือการใช้รูปแบบ และแบบสอบถาม และขั้นที่ 4 นำเสนอรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่า รูปแบบ มี 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ 3) การทดลองใช้และประเมินรูปแบบ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม นำไปใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 4) รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีชื่อเรียกว่า PDIBE MODEL

บทนำ

สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเชื่อมโยงกันใกล้ชิดมากขึ้น การแข่งขันด้านเศรษฐกิจจะเข้มข้นมากขึ้น สังคมโลกจะมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกันมากขึ้น เป็นสภาพไร้พรมแดนการพัฒนาเทคโนโลยีจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างมาก ขณะที่ประเทศมีข้อจำกัดของปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์เกือบทุกด้านและจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาที่ชัดเจนขึ้นซึ่งประเทศต้องปรับตัวขนาดใหญ่ โดยจะต้องเร่งพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกด้านเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนั้นต้องเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานของกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มที่อยู่ในตลาดแรงงานในปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาการผลิต และการบริการ โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนไทยให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะมีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยรวมทั้งสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ พื้นฟูใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560 : 32)

นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา รัฐบาลได้กำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยง ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข นอกจากดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกัน และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกมส์ การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครู ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, มปป : 1-2)

ปัญหายาเสพติดที่เกิดจากนักเรียนในสถานศึกษา มักจะมีสาเหตุมาจากความอ่อนแอของ สถาบันครอบครัว ชุมชน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนซึ่งส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพ ครอบครัวที่แตกแยก ทำให้ขาดความรักความอบอุ่น ความเข้าใจ ขาดการเอาใจใส่ในการอบรมเลี้ยงดู ทำให้เด็กมีความอ่อนไหวทางอารมณ์และขาดที่พึ่งทางจิตใจ ทำให้เด็กต้องไปแสวงหาสิ่งทดแทนจาก เพื่อน เมื่อเพื่อนหยิบยื่นสิ่งเสพติดให้แม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีแต่ก็มีความอยากรู้อยากลอง และเป็น การเรียกร้องความสนใจจากครอบครัว กลุ่มเพื่อนกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้นักเรียนยังมี ส่วนในการเป็นผู้ค้ารายย่อยให้กับกลุ่มเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง มีทั้งลักษณะของการขายเพื่อเป็น การหารายได้สำหรับไว้ซื้อยาเพื่อจะนำมาเสพเองและการเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการค้ายาเสพติดรายย่อยที่ปลอมตัวเป็นนักเรียนเข้ามาในสถานศึกษา การกระทำดังกล่าวนั้นได้ทำให้เกิดปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ภาคีเครือข่ายคือความเป็นหุ้นส่วนร่วมกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรหรือคณะบุคคล ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนงาน/โครงการการจัดการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในแต่ละพื้นที่ จังหวัด ภูมิภาค และระดับชาติ และการมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการวิธีการที่หน่วยงานหรือองค์กร กำหนดให้บุคคลหรือกลุ่มคนที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรวมตัวกันเป็นคณะบุคคล ชมรมหรือองค์กร เพื่อช่วยเหลือการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา พื้นที่ จังหวัด ภูมิภาคและระดับชาติ ด้วยการส่งเสริมเสนอแนะ ทำนุบำรุงรักษา ฟื้นฟู ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการและการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนและนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2562 : 7-8)

ดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีหลักการในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ให้เติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม มีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่ง ต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการ ให้นักเรียน นักศึกษาเป็นคนเก่ง คนดี ดำรงตนให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษา ที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคม ที่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด การแก้ไขปัญหาตามกระบวนการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยใช้แนวคิดและหลักการของ “4 ประสาน 2 ค้ำ” ซึ่ง 4 ประสาน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนครูอาจารย์ ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนนักเรียน นักศึกษา และส่วนของ 2 ค้ำ เดิมเป็นผู้แทนชุมชน แต่พื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จึงได้ กำหนดใหม่เพื่อให้มีบุคลากรสำคัญที่จะเข้ามาช่วยสถานศึกษาในการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ได้แก่ ตำรวจ ทหาร ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วยสถานศึกษาให้มีมาตรการป้องกันและการปราบปรามผู้จำหน่าย/ผู้เสพ มาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจ ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา ดังนั้น เพื่อให้สถานศึกษามีระบบการป้องกันที่เข้มแข็ง ต่อเนื่องและยั่งยืน จึงให้มีการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ ได้แก่ มาตรการป้องกัน มาตรการค้นหา มาตรการรักษา มาตรการเฝ้าระวัง มาตรการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ คือ ต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย และ 2 ไม่ คือ ไม่ปกปิดข้อมูลและ ไม่ไล่ผู้เรียนออก เป็นแนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549 : 15-16) (

โรงเรียนบ้านบางกรัก เป็นโรงเรียนขนาดกลางตั้งอยู่ในชุมชนมุสลิม เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สภาพชุมชนมีปัญหาเรื่องยาเสพติด จัดเป็นพื้นที่สีแดงของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา การดำเนินงานด้านยาเสพติดของโรงเรียนบ้านบางกรัก มุ่งกลุ่มเป้าหมายนักเรียนในโรงเรียนบ้านบางกรักเป็นหลัก โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน มูลนิธิ และบุคคลที่เป็นแกนนำในชุมชน ได้แก่ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอตะกั่วป่า องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน สถานีตำรวจภูธรอำเภอตะกั่วป่า กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒๕ โรงพยาบาลตะกั่วป่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียน มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มูลนิธิสว่างเมฆา ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียน โดยยึดหลักกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ในการป้องกันและดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดในโรงเรียน เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมตามที่กำหนด เป็นการระดมความคิดและ ศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่มาร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตาม ประเมินผล และร่วมกันแก้ไข ปัญหา เพื่อปรับปรุง พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมี ประสิทธิภาพ คือการสร้างผู้เรียนที่ปลอดยาเสพติดและอบายมุข เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของโรงเรียนและชุมชน และยังเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่รับมอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาเพื่อเอาชนะยาเสพติด จัดเป็นพื้นที่เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด โดยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งนักเรียนในระดับนี้มีโอกาสที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดค่อนข้างสูงและเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งสามารถที่จะแพร่ระบาดยาเสพติดในกลุ่มนักเรียนด้วยกันได้โดยง่าย โดยผลกระทบของปัญหาการใช้ยาเสพติดในกลุ่มนักเรียน นำมาซึ่งความเสียหายและการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ สถานศึกษาในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ จึงต้องให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในการเฝูาระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่าง เข้มแข็ง ต่อเนื่องและจริงจังเพื่อลดและควบคุมไม่ให้นักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมถึงการดูแลช่วยเหลือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้โอกาสกลับมาศึกษาต่อในสถานศึกษา และสามารถดำรงชีวิตเป็นคนดีในสังคมได้

จากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้บริหารโรงเรียน จึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ว่ามีรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานอย่างไร และมีข้อเสนอแนะในการดำเนินงานอย่างไรเพื่อที่จะนำ ไปพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

3. เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

4. เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

1. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ความหมายของการมีส่วนร่วม ประโยชน์ของการมีส่วนร่วม ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม และกระบวนหรือขั้นตอนของการมีส่วนร่วม

2. แนวคิดเกี่ยวกับภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย ความหมายของภาคีเครือข่าย การสร้างภาคีเครือข่ายประเภทและรูปแบบของภาคีเครือข่าย องค์ประกอบของภาคีเครือข่าย กระบวนการปฏิบัติงานและหลักการบริหารภาคีเครือข่าย และประโยชน์ของภาคีเครือข่าย

3. แนวคิดเกี่ยวกับโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประกอบด้วย นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา แนวดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มาตรการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข

4. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย ความหมายของรูปแบบ ประเภทของรูปแบบองค์ประกอบของรูปแบบ และขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามลักษณะของกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีรายละเอียดตามขั้นตอนของการดำเนินการวิจัย ดังต่อไปนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง /กลุ่มเป้าหมาย

1.1 ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ภาคีเครือข่าย ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนบ้านบางกรัก จำนวน 18 คน และบุคลากรจากภาคีเครือข่าย จำนวน 60 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 78 คน

1.1.2 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ภาคีเครือข่าย ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan, (1970 อ้างถึงใน มาเรียม นิลพันธ์, 2558 : 120) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 65 คน

1.2 พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน

1.3 การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน

1.4 การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เป็นทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน

2. เครื่องมือวิจัย

2.1 แบบสอบถามสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

2.2 แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

2.3 คู่มือการใช้รูปแบบและแบบประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

2.4 ประเด็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

3. ขั้นตอนการเก็บข้อมูล

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เก็บข้อมูลกับภาคีเครือข่ายของโรงเรียนบ้านบางกรัก โดยใช้แบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เก็บข้อมูลกับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการสัมภาษณ์

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เก็บข้อมูลกับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้คู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข และแบบประเมินประเมินรูปแบบ

ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เก็บข้อมูลกับผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group)

4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 วิเคราะห์สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม

4.3 วิเคราะห์การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัย

1. สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงาพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย (1) ด้านการวางแผน (Planning) (2) ด้านการตัดสินใจ (Decision Making) (3) ด้านการปฏิบัติการ (Implementation) (4) ด้านการติดตามประเมินผล (Evaluation) (5) ด้านผลประโยชน์ (Benefits) 2) การพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประกอบด้วย (1) มาตรการด้านป้องกัน (2) มาตรการด้านค้นหา (3) มาตรการด้านรักษา (4) มาตรการด้านเฝ้าระวัง

(5) มาตรการด้านบริหารจัดการ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ

3. การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม นำไปใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

4. นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

สรุปและอภิปรายผล

1. สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ผลการศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเนื่องจากโรงเรียนบ้านบางกรักได้เปิดโอกาสให้บุคลากรจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับการดำเนินงานการบริหารงานและการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ ของรงเรียน แต่อาจยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในทุกด้าน ซึ่งการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ความคิดเห็นถูกรับฟังและนำไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนา จึงทำให้สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ปรัชญา เวสารัชช์ (2561 : 72) กล่าวว่า การที่ประชาชนได้ใช้ความพยายามหรือใช้ทรัพยากรบางอย่างของตน เช่น ความคิด ความรู้ ความสามารถ แรงงาน เงินทุน วัสดุ ในกิจกรรมการพัฒนานั้นการมีส่วนร่วมจะทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากการเป็นผู้รับผลจากการพัฒนาและเป็นผู้กระทำให้เกิดระบวนการพัฒนา การมีส่วนร่วมเป็นได้ทั้งวิธีการที่นำไปสู่การพัฒนาและเป็นผู้กระทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาด้วย สอดคล้องกับแนวคิดของกัญตยา คนเที่ยง (2557) ได้ศึกษา รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายพัฒนาศึกษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่พบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายพัฒนาศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิด หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหา ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย (1) ด้านการวางแผน (Planning) (2) ด้านการตัดสินใจ (Decision Making) (3) ด้านการปฏิบัติการ (Implementation) (4) ด้านการติดตามประเมินผล (Evaluation) (5) ด้านผลประโยชน์ (Benefits) 2) การพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ประกอบด้วย (1) มาตรการด้านป้องกัน (2) มาตรการด้านค้นหา (3) มาตรการด้านรักษา (4) มาตรการด้านเฝ้าระวัง (5) มาตรการด้านบริหารจัดการ ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยได้นำผลจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข การพัฒนารูปแบบ รวมไปถึงศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และสภาพปัจจุบันการดำเนินงานสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ทำให้ได้รูปแบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ น้ำฝน กันมา, (2560) ได้ศึกษา การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาพะเยาโมเดล ที่พบว่า รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษา พะเยาโมเดล ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ วัตถุประสงค์ของเครือข่ายความร่วมมือ คณะกรรมการบริหารเครือข่ายความร่วมมือและบทบาทหน้าที่ และกระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่ายความร่วมมือ และสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริวรรณ ขวัญมุข และอนุชา กอนพ่วง, (2562) ได้ศึกษา รูปแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาในจังหวัดสุโขทัย ที่พบว่า1) รูปแบบภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ 1 เงื่อนไขความสำเร็จ องค์ประกอบที่ 2 ระบบเสริมสร้างสมรรถนะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา

3. การทดลองใช้และประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม นำไปใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ทั้งนี้อาจเนื่องจากรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในทางการปฏิบัติมีการเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายมีสิทธิในกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ทั้งในด้านการให้และการรับรู้ข่าวสารการให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะการร่วมตัดสินใจ ทั้งในขั้นตอนการเริ่มนโยบาย การจัดทำแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ให้เกิดการทำงานร่วมกับกลุ่ม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความตั้งใจ โดยดำเนินการอย่างถูกจังหวะและเหมาะสมทั้งด้วย ความรู้สึกผูกพันและสามารถเชื่อถือได้ จึงทำให้ผลการประเมินเหมาะสม นำไปใช้ได้จริง สอดคล้องกับงานวิจัยของ สยาม เวชกามา (2557) ได้ศึกษา รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านสร้างแต้ จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายโสธร เขต 2 ที่พบว่า ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชนในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งรายด้านและภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากทุกด้าน

4. นำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า รูปแบบมีชื่อเรียกว่า PDIBE MODEL ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ และนำร่างรูปแบบเสนอผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ และประสบการณ์ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข เพื่อให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงร่างรูปแบบจนได้รูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพความจริงและบริบทของโรงเรียนบ้านบางกรัก ส่งผลให้ผลการประเมินผลรูปแบบอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับแนวคิดของ ชิรวัฒน์ นิจเนตร (2560 : 86 - 87) ที่กล่าวว่า การพัฒนารูปแบบ เริ่มจากการศึกษารวบรวมข้อมูลสถานการณ์บริบทและปัญหาที่เกี่ยวข้องและยกร่างหรือสร้างรูปแบบที่รวบรวมได้จากการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม สร้างรูปแบบด้วยการวิเคราะห์เส้นทางเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมายกร่างรูปแบบส่วนในขั้นตอนการตรวจสอบรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นก็ใช้เทคนิควิธีได้หลายแบบโดยอาจจะให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยวิเคราะห์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ทั้งเชิงปริมาณและคุณลักษณะใช้วิธีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิเช่นการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญวิธีการแบบชาติพันธุ์วรรณนาการรับฟังความคิดเห็นจากเวทีสาธารณะ การตรวจสอบรูปแบบที่น่าเชื่อถือมากที่สุดคือการนำรูปแบบไปทดลองใช้และวัดประสิทธิภาพของรูปแบบว่าใช้ได้ผลจริงหรือไม่ สอดคล้องกับงานวิจัยของ กัญตยา คนเที่ยง (2557) ได้ศึกษา รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายพัฒนาศึกษา อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่พบว่า รูปแบบที่ค้นพบว่า พาร์พัฒน์โมเดล (ParPat Model)

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัย การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. โรงเรียนควรจัดประชุมชี้แจงให้ภาคีเครือข่ายได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

2. โรงเรียนควรให้ภาคีเครือข่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

3. โรงเรียนควรให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมตัดสินใจในการกำหนดเป้าประสงค์ของการพัฒนาผู้เรียนตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข

4. โรงเรียนควรให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขปัญหา ให้คำปรึกษา ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยการส่งเข้าร่วมอบรมที่ภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น

5. โรงเรียนควรควรให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ การส่งเสริม สนับสนุน การชื่นชมยินดีกับผู้เรียนที่ประสบผลสำเร็จในด้านการเรียน และการแก้ปัญหาส่วนตัว

โพสต์โดย ครูปาน : [1 ก.ย. 2565 เวลา 10:13 น.]
อ่าน [1429] ไอพี : 159.192.243.118
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,858 ครั้ง
วิธีกำจัดกลิ่น กระเทียมติดปาก
วิธีกำจัดกลิ่น กระเทียมติดปาก

เปิดอ่าน 48,885 ครั้ง
ตัวอย่างใบงานจากการ์ตูนความรู้
ตัวอย่างใบงานจากการ์ตูนความรู้

เปิดอ่าน 91,668 ครั้ง
วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง
วิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ที่ถูกต้อง

เปิดอ่าน 18,127 ครั้ง
อันตราย! ขวดนม 80% มีสารเคมีอันตราย กระทบระบบสืบพันธุ์
อันตราย! ขวดนม 80% มีสารเคมีอันตราย กระทบระบบสืบพันธุ์

เปิดอ่าน 40,214 ครั้ง
นักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 13,812 ครั้ง
 8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010
8 ข่าวสุขภาพที่ไม่ควรลืมประจำปี 2010

เปิดอ่าน 222,150 ครั้ง
Adjectives ( คำคุณศัพท์ ) Types (ชนิดของคุณศัพท์)
Adjectives ( คำคุณศัพท์ ) Types (ชนิดของคุณศัพท์)

เปิดอ่าน 7,727 ครั้ง
หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือรับรองการประกันคุณภาพภายนอก จาก สมศ.
หลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือรับรองการประกันคุณภาพภายนอก จาก สมศ.

เปิดอ่าน 215,625 ครั้ง
รายนามผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 ธันวาคม 2558
รายนามผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 4 ธันวาคม 2558

เปิดอ่าน 13,871 ครั้ง
ชีวิตหลังเกษียณ (1)
ชีวิตหลังเกษียณ (1)

เปิดอ่าน 11,292 ครั้ง
ทราบหรือไม่? "เฟซบุ๊ก"แอบเปลี่ยนอีเมลแอดเดรสของท่านเป็น "@facebook.com"
ทราบหรือไม่? "เฟซบุ๊ก"แอบเปลี่ยนอีเมลแอดเดรสของท่านเป็น "@facebook.com"

เปิดอ่าน 3,441 ครั้ง
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม

เปิดอ่าน 27,259 ครั้ง
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน

เปิดอ่าน 11,552 ครั้ง
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

เปิดอ่าน 19,142 ครั้ง
กฎกระทรวงการประกอบวิชาชีพควบคุม พ.ศ. 2549
กฎกระทรวงการประกอบวิชาชีพควบคุม พ.ศ. 2549

เปิดอ่าน 87,224 ครั้ง
แบบฟอร์มขอมีบัตรข้าราชการ ต่าง ๆ
แบบฟอร์มขอมีบัตรข้าราชการ ต่าง ๆ
เปิดอ่าน 9,572 ครั้ง
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
คนไทย80% กินอาหารเกินจำเป็นร่างกาย
เปิดอ่าน 8,440 ครั้ง
ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร
ยูฟ่าประกาศห้ามทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดบอลยูโร
เปิดอ่าน 17,565 ครั้ง
เกมส์วันเกิด 30 ปีของ PAC-MAN
เกมส์วันเกิด 30 ปีของ PAC-MAN
เปิดอ่าน 10,691 ครั้ง
สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ
สู่ความสำเร็จในการทำงานตามแนวพุทธ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ