ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการประเมินโครงการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการน้อยโรงเรียนบ้านป่าทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการน้อย โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ใน 4 ด้านตามรูปแบบ CIPPIEST ได้แก่ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต โดยพิจารณารวมอีก 4 ด้าน คือ 4.1) ด้านผลกระทบ 4.2) ด้านประสิทธิผล 4.3) ด้านความยั่งยืน และ 4.4) ด้านการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน เป็นครู จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 25 คน และผู้ปกครองนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 25 คน รวมจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาโครงการเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Five Rating Scales) โดยประเมินความเหมาะสม ความเพียงพอ ระดับการปฏิบัติ ความพึงพอใจมากที่สุดถึงน้อยที่สุดและประเมินระดับคุณภาพ

มีจำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอบถามความคิดเห็น ที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านบริบท (Context) เป็นการประเมินความเหมาะสมของสภาพแวดล้อม

ในการดำเนินงานโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นการประเมินความเพียงพอของปัจจัยเบื้องต้น

ในการดำเนินงานโครงการ ฉบับที่ 2 สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านกระบวนการ (Process) เป็นการประเมินระดับการปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการ โดยใช้กระบวนการ PDCA ในการประเมินฉบับที่ 3 สำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับด้านผลผลิต (Product) คือ 1)ความพึงพอใจในภาพรวมของการดำเนินการ และระดับคุณภาพของคุณลักษณะกลุ่ม

ยุวเกษตร และ 2) แบบสัมภาษณ์ด้านผลผลิต ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มยุวเกษตรกรหลังการดำเนินโครงการในด้านคุณลักษณะกลุ่มยุวเกษตรกร ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำด้านการเกษตร 2) ทักษะในการแก้ปัญหาการทำเกษตร 3) ทักษะในการออกแบบกิจกรรมด้านการเกษตร 4) ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 5) ทักษะด้านการเกษตร และฉบับที่ 4 สำหรับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นคำถามเกี่ยวกับ ด้านผลผลิตต่อเนื่อง คือ ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และ

การถ่ายโยงการเรียนรู้ ผู้ประเมินเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ (%) และค่าความถี่ (f)

ผลการประเมินพบว่า 1. ด้านบริบท (Context) พบว่าระดับความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69

,S.D= 0.15) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปน้อย วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์โครงการสามารถวัดและประเมินได้ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนและชุมชน โครงการมีความสอดคล้องกับการแก้ปัญหาด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและบริบทของโรงเรียน โครงการสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง 2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ระดับความเพียงพอโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.43, S.D= 0.23) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความเพียงพอของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ความพร้อมและความรู้ความสามารถต่อการบริหารจัดการโครงการของผู้บริหารสถานศึกษาและครูบุคลากร และอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทัศคติในการดำเนินงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ และความเพียงพอ ความเหมาะสมของระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ระดับปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.55, S.D= 0.29) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 20 ข้อ เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ การประชุมเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รองลงมา คือ การประเมินก่อนการดำเนินกิจกรรมโครงการ การคัดเลือกสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งตามโครงสร้างกลุ่มยุวเกษตรกร การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการอย่างชัดเจนมอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเหมาะสมกับความสามารถเป็นรายบุคคล การกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมโครงการไว้อย่างชัดเจนก่อนการนำไปปฏิบัติ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานโครงการเผยแพร่สู่สาธารณะ กิจกรรมเลี้ยงปลา (ปลาดุกและปลานิล) การจัดทำแบบสำรวจความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง ก่อนการวางแผนกิจกรรมโครงการ กิจกรรมปลูกพืชผักและพืชผล การปรับปรุงและพัฒนาโครงการตามข้อเสนอแนะ การประเมินหลังการดำเนินการกิจกรรมโครงการ กิจกรรมการเลี้ยงเป็ด (เป็ดไข่และเป็ดเนื้อ) และการเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครองเครือข่ายและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาโครงการ การรับสมัครสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า การประชุมสภากลุ่มยุวเกษตรกรเพื่อคัดเลือกกิจกรรมในการดำเนินการ กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่โดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม การรายงานผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะของผู้รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง การสรุปผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ พิจารณารายข้ออยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ได้แก่ กิจกรรมแปรรูปผลผลิต การร่วมกันออกแบบกิจกรรมและเครื่องมือประเมินโครงการร่วมกันก่อนการนำไปปฏิบัติ การนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง การสรุปแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาโครงการ การจัดกิจกรรมอนุรักษ์นาข้าวโดยนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และการประเมินระหว่างการดำเนินการกิจกรรมโครงการตามลำดับ

4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ระดับความพึงพอใจด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.47, S.D = 0.30) ) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด 2 ข้อ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ รองลงมา คือ การจัดให้มีโครงการนี้ในปีงบประมาณถัดไป อยู่ในระดับมาก 3 ข้อ คือ ภาพรวมของการแสดงออกซึ่งคุณลักษณะของกลุ่มยุวเกษตรกร การให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการของสถานศึกษา และความสุขที่ได้รับการจากดำเนินโครงการ ส่วนระดับคุณภาพของคุณลักษณะกลุ่มยุวเกษตรกรในภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 4.38, S.D= 0.23) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ระดับคุณภาพของคุณลักษณะกลุ่มยุวเกษตรกร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี จากมากไปน้อยตามลำดับ คือ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการแก้ปัญหาการทำเกษตร ทักษะในการออกแบบกิจกรรมด้านการเกษตร ทักษะด้านการเกษตร และข้อที่มีค่าเฉลี่ย ลำดับสุดท้ายคือ ภาวะผู้นำด้านการเกษตร 4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี ( = 4.41, S.D =0.39) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การเป็นแบบอย่างในด้านการทำเกษตรให้กับครอบครัว และชุมชนของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ การเป็นผู้นำในด้านการเกษตรให้กับโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายและโรงเรียนอื่น ๆ ของครู และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการเกษตร 4.2 ด้านประสิทธิผล (Effective) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม (= 4.56, S.D = 0.35) เมื่อพิจารณา รายข้อ พบว่า การยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยดีเยี่ยม รองลงมา คือ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูและข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การมีคุณลักษณะยุวเกษตรกรของนักเรียน 4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี (= 4.40, S.D = 0.34) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกข้อ คือ ความต่อเนื่องในการใช้ทักษะด้านการเกษตรในวิถีชีวิตของผู้เรียนสูงที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนดำเนินการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร สู่การเป็นผู้ประกอบการน้อยอย่างต่อเนื่อง และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้าย คือ การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตของครู 4.4 ด้านการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transportability) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม (= 4.56, S.D = 0.37) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การขยายผลสำเร็จของโครงการให้โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายและโรงเรียนอื่น ๆ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ โรงเรียนเป็นสถานที่ศึกษาดูงานการจัดกระบวนการกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรให้กับโรงเรียนทั้งในและนอกสังกัด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายเท่ากัน 2 ข้อ คือ ครูได้เป็นวิทยากรฝึกอบรมการจัดกระบวนการกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรให้กับโรงเรียนทั้งในและนอกสังกัด และการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อส่งต่อการดำเนินการกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรให้โรงเรียนอื่น ๆ 5. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการพัฒนากลุ่มยุวเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการน้อย โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ปรากฏข้อเสนอแนะที่สำคัญดังนี้ 1) ให้สถานศึกษาดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง ปรากฏค่าความถี่ 18 คิดเป็นร้อยละ 25.71 และ 2) ให้โรงเรียนนำผู้เรียนกลุ่มยุวเกษตรกรไปพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายนอกอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ปรากฏค่าความถี่ 12 คิดเป็นร้อยละ 17.14 6. ผลการสัมภาษณ์ ปรากฏว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญร้อยละ 80 ให้ความเห็นตรงกันว่า โครงการนี้สามารถทำให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญร้อยละ 86.67 ให้ความเห็นตรงกันว่าโครงการนี้สามารถทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหาการทำเกษตร 3) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ร้อยละ 75.25 ให้ความเห็นตรงกันว่า โครงการนี้สามารถทำให้มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมด้านการเกษตร 4) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ร้อยละ 85.45 ให้ความเห็นตรงกันว่า โครงการนี้สามารถทำให้นักเรียนมีทักษะด้านการเกษตร และ 5) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ร้อยละ 73 ให้ความเห็นตรงกันว่า โครงการนี้สามารถทำให้นักเรียนมีภาวะผู้นำด้านการเกษตร

โพสต์โดย นายสุวิทย์ หวัดแท่น : [12 ก.ย. 2565 เวลา 08:06 น.]
อ่าน [2031] ไอพี : 101.51.128.224
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,392 ครั้ง
ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ
ประกาศแล้ว..ผลประกวดคำขวัญกรุงเทพ​ฯ

เปิดอ่าน 10,932 ครั้ง
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน
"หมอช้าง" แนะวิธีไหว้เจ้าให้เฮงๆ พร้อมข้อห้ามในวันตรุษจีน

เปิดอ่าน 22,496 ครั้ง
ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ที่มาของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เปิดอ่าน 6,717 ครั้ง
NewProfilePic Picture Editor แอปฯ เปลี่ยนรูปภาพโปรไฟล์ให้เป็นภาพวาด
NewProfilePic Picture Editor แอปฯ เปลี่ยนรูปภาพโปรไฟล์ให้เป็นภาพวาด

เปิดอ่าน 9,501 ครั้ง
10 วิธีปลูกผักสวนครัวในกระถาง
10 วิธีปลูกผักสวนครัวในกระถาง

เปิดอ่าน 21,640 ครั้ง
สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน
สมุนไพร"บัวบก"คุณค่าที่มากกว่าแก้ช้ำใน

เปิดอ่าน 16,906 ครั้ง
ภัยเงียบ...มะเร็งลำไส้ใหญ่......
ภัยเงียบ...มะเร็งลำไส้ใหญ่......

เปิดอ่าน 106,909 ครั้ง
ดาวน์โหลดเกณฑ์ประเมิน วฐ.(เดิม) ว25
ดาวน์โหลดเกณฑ์ประเมิน วฐ.(เดิม) ว25

เปิดอ่าน 11,777 ครั้ง
ผลสำรวจชี้มนุษย์ทำงาน 63% เห็นว่าการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเรื่อง "ล้าสมัย"
ผลสำรวจชี้มนุษย์ทำงาน 63% เห็นว่าการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเป็นเรื่อง "ล้าสมัย"

เปิดอ่าน 30,158 ครั้ง
ความพิศวงของตัวเลข จำนวนเฉพาะตอนที่ 1
ความพิศวงของตัวเลข จำนวนเฉพาะตอนที่ 1

เปิดอ่าน 11,892 ครั้ง
15 ภาพ “หมาธรรมดา” กลายเป็น “หมายักษ์” ด้วยมุมกล้อง
15 ภาพ “หมาธรรมดา” กลายเป็น “หมายักษ์” ด้วยมุมกล้อง

เปิดอ่าน 18,389 ครั้ง
"ดอกอัญชัน" สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม
"ดอกอัญชัน" สมุนไพรบำรุงสายตา ดูแลเส้นผมให้เงางาม

เปิดอ่าน 25,427 ครั้ง
วิจัยชี้ 22ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง
วิจัยชี้ 22ตำหรับอาหารไทยต้านโรคมะเร็ง

เปิดอ่าน 32,166 ครั้ง
พืชกับศิลปะไทยโบราณ
พืชกับศิลปะไทยโบราณ

เปิดอ่าน 8,045 ครั้ง
กรมอนามัย แนะ 10 วิธี ช่วยผู้สูงอายุนอนหลับดี เสริมสร้างสุขภาพที่ดี
กรมอนามัย แนะ 10 วิธี ช่วยผู้สูงอายุนอนหลับดี เสริมสร้างสุขภาพที่ดี

เปิดอ่าน 14,274 ครั้ง
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ใช้พระนาม “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
เปิดอ่าน 20,814 ครั้ง
ประวัติการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ประวัติการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
เปิดอ่าน 93,499 ครั้ง
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด
เปิดอ่าน 15,752 ครั้ง
แอปเปิ้ลหลากสีหลากประโยชน์
แอปเปิ้ลหลากสีหลากประโยชน์
เปิดอ่าน 34,807 ครั้ง
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?
ซื้อรถปี 2559 ราคาแพงขึ้นเท่าไหร่ คลิกอ่าน?

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ