ชื่อรายงาน การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา
โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565
ผู้รายงาน นายชัยกฎ พรหมอินทร์
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนดินแดง วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ปีที่รายงาน 2565
บทสรุปสำหรับการประเมินโครงการ
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1)ด้านสภาพแวดล้อม(Context Evaluation) 2)ด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) 3)ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ4)ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ซึ่งมีการประเมินความพึงพอใจและประเมินคุณธรรม จิตอาสา ของนักเรียนตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 กลุ่มประชากรรวมทั้งหมด 99 คน ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอน จำนวน 6 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน 3) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 43 คน และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินโครงการมีจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ฉบับที่ 6 แบบประเมินคุณธรรม จิตอาสาของนักเรียนโรงเรียนวัดแหลมดินสอ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .864,.899,.865,.809,.886 และ .858 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1) ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนา
คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกรายการประเมินมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด โดยผลการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุดเท่ากัน 2 รายการ คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 และผลสำเร็จของโครงการส่งผลดีต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 รองลงมา คือ รายการโครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครู ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และรายการวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เป็นลำดับสุดท้าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46)
2) ความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการที่มีผลการประเมินในระดับมากที่สุดลำดับแรก คือ การส่งเสริม สนับสนุนในการดำเนินงานตามโครงการจากผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 รองลงมา คือ มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 และรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก คือ มีระยะเวลาดำเนินการเหมาะสมกับโครงการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46
3)ความเหมาะสมด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 โดยครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากที่สุด คือ มีการกำหนดเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา ของนักเรียนชัดเจน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 รองลงมาคือ ผู้บริหารโรงเรียนมีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และรายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมากที่สุด คือ มีการวางแผนการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59
4) ความเหมาะสมด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนเป็นผู้ประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการประเมินที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมจิตอาสาก้าวไกล ผู้ใหญ่นำพา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 รายการที่มีผลการประเมินรองลงมาเท่ากัน 2 รายการ คือ กิจกรรมลูกเสือจิตอาสา และกิจกรรมอาสาสมัครคือผู้กล้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 และกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ กิจกรรมระบบหมู่ สู่จิตอาสา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64
4. ผลการประเมินความพึงพอใจทีมีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 โดยครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 โดยความพึงพอใจต่อคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสาของนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการแสดงออกถึงความคิดเห็นเพื่อส่วนรวม มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 และความพึงพอใจต่อความสำเร็จของโครงการมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เช่นกัน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับมากที่สุดเท่ากัน 2 รายการ คือ รายการผลเกิดตรงกับวัตถุประสงค์ และรายการการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 และรายการที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ รายการความพร้อมของสถานที่ในการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับมาก คือ รายการการมีส่วนร่วมในการวางแผน และการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44
5. ผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา ของนักเรียนโรงเรียนวัดแหลมดินสอ ตามโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา โดยใช้กระบวนการลูกเสือ โรงเรียนวัดแหลมดินสอ ปีงบประมาณ 2565 โดยครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน เป็นผู้ประเมินนักเรียน ในภาพรวมมีระดับคุณภาพในระดับดีเยี่ยม เฉลี่ยร้อยละ 84.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า รายการที่มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด คือ เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม เฉลี่ยร้อยละ 87.60 รองลงมา คือ อาสาทำสิ่งต่างๆให้บุคคลอื่นด้วยความเต็มใจอยู่เสมอ เฉลี่ยร้อยละ 81.79 และคะแนนร้อยละเฉลี่ยต่ำสุดมีระดับคุณภาพในระดับดีเยี่ยม คือ แสดงออกถึงความคิดเห็นเพื่อส่วนรวม เฉลี่ยร้อยละ 73.25