ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านม่อนปิ่น
ผู้ศึกษา : ศรัญญา วงษ์มาพันธ์
ปีการศึกษา : 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านม่อนปิ่น ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง เรขาคณิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนบ้านม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต จำนวน 18 แผน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรขาคณิต จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.83 แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ดำเนินการทดลองโดยทำการทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรขาคณิต จากนั้นทดลองใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต แล้วจึงทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า
ผลการศึกษา พบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ
83.78/81.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรขาคณิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.33 หลังเรียน 24.57 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 40.78
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิต ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68 จัดอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
โดยรายการที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์