การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ๑) พัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ ๒) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ โดยระยะแรกเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบ ระยะที่สองเป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบโดยครูเสมือนกลุ่มเป้าหมายและผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สามเป็นการนำรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริง และระยะที่ ๔ เป็นระยะของการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยในปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๑ คน ครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ จำนวน ๖ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน ๘ คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ ๑-๓ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ จำนวน ๑๒๑ คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๕ คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๕ คน ครูเสมือนกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนเทศบาล ๒ เชิงชุมอนุชนวิทยา จำนวน ๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยระยะที่ ๑ คือ ๑) แบบวิเคราะห์เอกสาร ๒) ประเด็นสำหรับการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ๓) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ระยะที่ ๒ ใช้แบบตรวจสอบร่างคู่มือรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ และแบบตรวจสอบเครื่องมือประเมิน ระยะที่ ๓ เป็นระยะของการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย ๑) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒) แบบประเมินความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ ๓) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ๔) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ๕) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ๖) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๗) แบบประเมินของแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ด้านอยู่อย่างพอเพียง ๘) ประเด็นสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ๙) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ ถึงพัฒนาการการจัดการเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะปฏิบัติ และระยะที่ ๔ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยประเด็นการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้และปรับปรุงรูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ พบว่า รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า OADPSAR Model มีองค์ประกอบ ๗ ประการ ได้แก่ ๑) แนวคิด ๒) หลักการ ๓) วัตถุประสงค์ ๔) องค์ประกอบของรูปแบบ ๕) กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ๗ ขั้นตอน คือ (๑) การวิเคราะห์องค์กร (O: Organization Analysis) (๒) การหาความรู้ สร้างความตระหนัก (A:Acknowledging) (๓) การกำหนดเป้าหมายพัฒนา (D:Defining Goals) (๔) การนำความรู้ไปปฏิบัติ (P:Performing) (๕) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (S:Sharing) (๖) การประเมินผล (A :Assessing) และ (๗) การรายงานผล (R :Results Report) ๖) การวัดผลและประเมินผล และ ๗) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนา พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = ๔.๕๒, S.D.= ๐.๕๐) และความเป็นไปได้ ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๑, S.D.=๐.๕๐) และผลการตรวจสอบคุณภาพของคู่มือการใช้รูปแบบในภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ( = ๔.๔๖, S.D.=๐.๕๐) และความเป็นไปได้ในระดับมาก ( = ๔.๔๗, S.D.=๐.๕๐)
๒. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารด้านการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลท่าแร่ พบว่า
๒.๑ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม มีคะแนนความก้าวหน้า ร้อยละ ๓๘.๖๗
๒.๒ ครูมีความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๑, S.D.=๐.๕๒)
๒.๓) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๒, S.D.=๐.๕๑)
๒.๔) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๗, S.D.=๐.๕๐)
๒.๕) ครูมีความคิดเห็นต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๗, S.D.=๐.๕๑)
๒.๖) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๒.๕๖, S.D.=๐.๔๙)
๒.๗) นักเรียนที่ได้เรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๑๗ ระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๘๓
๒.๘) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าสามารถนำไปสอนได้จริงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน