Advertisement
ชาผลไม้...บำรุงร่างกาย สูตรทำเองก็ได้...ง่ายดี
เรื่อง : สุธารัชฎ์ รัตนารามิก
ลองหยิบยืมวัฒนธรรมอันคลาสสิคของชาวเมืองผู้ดีมาใช้ นั่นคือ การจิบชา แต่เราอาจดัดแปลงสูตรชาให้ดีกับสุขภาพมากขึ้น โดยใช้ความหวานธรรมชาติของผลไม้แทนน้ำตาล และเลือกผลไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะในการบำบัดโรค จึงเป็นเรื่องดีที่เราควรหันมาลองทำน้ำชาในสูตรของตัวเองใช้จิบเพื่อบำรุงร่างกายที่ดีกว่าการกินยาปฏิชีวนะ และด้วยวิธีทำชาผลไม้ที่ง่าย ขั้นตอนการเตรียมไม่มาก อาจให้คุณรู้สึกสนุกกับการทำเครื่องดื่มบำรุงร่างกายไว้ดื่มเองในครอบครัว
สารโพลีฟีนอล และฟลาโวนอยด์ในใบชา ทำให้เราสามารถดื่มได้ทุกวัน
ด้วยคุณสมบัติสารโพลีฟีนอลในใบชา ช่วยป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่คอยดักจับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ไม่มีไขมันอุดตัน ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า สารประกอบเหล่านี้ในชามีประโยชน์ต่อการคงสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อ ที่ส่งผลให้ชะลอความแก่ได้
"ชาผลไม้" ทางเลือกใหม่ของคนรักชา
ชาผลไม้ (Fruit Tea) เป็นชาที่ดัดแปลงมาจากชารสดั้งเดิม ด้วยการนำผลไม้ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งผลไม้สด ผลไม้แห้ง และน้ำผลไม้มาช่วยเติมแต่งรสชาติที่ได้จากใบชาอยู่แล้ว ให้มีรสชาติถูกปากยิ่งขึ้น ผลไม้ที่นิยมมาทำเป็นชาผลไม้คือ น้ำส้ม และน้ำแอปเปิ้ล เพราะเป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เมื่อเติมใส่ในน้ำชาแล้ว รสชาติดั้งเดิมของน้ำชาไม่เพี้ยนไปจากเดิม ที่สำคัญคือ ช่วยดึงรสชาติชาให้มีรสชาติที่เฉพาะตัวยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะนิยมนำผลไม้มาผสมในชาแล้ว ยังสามารถนำเครื่องเทศและสมุนไพรมาทำเป็นชาได้อีกด้วย
Tea-Break กระตุ้นร่างกาย บำบัดโรคพาร์กินสัน
ชาผลไม้จะช่วยรักษาโรคได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางการแพทย์ของผลไม้นั้น ๆ ด้วย เช่น ชามะละกอดีต่อผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ด้วยเอนไซม์พาเพนช่วยย่อยโปรตีน เพราะในเซลล์สมองของผู้ป่วยโรคนี้จะสร้างโปรตีนชื่อ อัลฟาซินนิวคริน (Alphasynuclein) ซึ่งสมองของคนปกติจะไม่มีโปรตีนชนิดนี้ ทำให้เซลล์สมองผลิตสารโดพามีน (Dopamine) บกพร่องลงกว่าปกติ แพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้ผู้ป่วยลดการบริโภคอาหารที่มีโปรตีน และวิธีการรักษาที่สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่งก็คือการบริโภคผลไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยย่อยโปรตีน หากผู้ป่วยไม่สามารถบริโภคผลไม้สดได้ก็อาจทำเป็นชาผลไม้ชงบำรุงร่างกายได้อีกทางหนึ่ง
"โรคพาร์กินสัน" เกิดการที่เซลล์สมองในส่วนที่สร้างโดพามีนบกพร่อง กว่าร้อยละ 80 ในอวัยวะสมอง ซึ่งมีสารโดพามีนทำหน้าที่ควบคุมระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ดังนั้นหากสมองขาดโดพามีน ร่างกายจึงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ
เตรียมทำชาผลไม้ให้ได้รสดี
ชาผลไม้ที่ดีต้องมีรสชาติกลมกล่อม เข้ากันได้ทั้งรสชา และรสจากผลไม้ ดังนั้นสิ่งสำคัญของการทำชาผลไม้จึงอยู่ที่การเลือกรสชาติผลไม้ที่เข้ากันได้ดีกับรสน้ำชา เพราะจะช่วยให้น้ำชาที่ได้ไม่ต้องใส่น้ำตาลเพิ่ม และเพื่อความหวานพอดีของชาผลไม้ ควรตวงปริมาณที่ได้สัดส่วนกันคือ ผลไม้หั่น 1 ถ้วยตวงต่อชา 2 ถุง
ขั้นตอนที่ 1 แช่ถุงชาในน้ำร้อนประมาณ 2 ถุง พักไว้ให้ชาเย็นตัวลง แล้วรินใส่กาเซรามิก ไม่แนะนำให้รินใส่กระบอกน้ำพลาสติก เนื่องจากน้ำชาเมื่อเย็นตัวลงจะมีกลิ่นพลาสติกติดมาด้วย
ขั้นตอนที่ 2 ขณะรอให้น้ำชาเย็นตัวลง ให้คั้นน้ำผลไม้เพื่อผสมลงในน้ำชาทีหลัง คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ให้รสชาติเข้ากันประมาณ 2-3 ชั่วโมง ชาผลไม้ที่ได้จะออกรสทั้งใบชาและผลไม้
วิธีทำชาผลไม้เบื้องต้น
หากชาฝรั่ง หรือชาจีนของคุณมีรสชาติธรรมดาไป ลองวิธีทำชาผลไม้เบื้องต้น เพื่อเติมความแปลกใหม่ให้กับช่วง Tea-break เพื่อสุขภาพในยามบ่ายของคุณ
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.ชา
2.ผลไม้
3.ผ้ากรอง
วิธีทำ
1.ตวงใบชาประมาณ 2-3 ช้อนชา หรือแช่ถุงชา 2 ถุงในน้ำอุ่น แล้วกรองเอาน้ำ ทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 6-8 ชั่วโมง
2.เลือกผลไม้ที่ชอบ เช่น พีช แอปเปิ้ล ส้ม ราสป์เบอร์รี และสับปะรด แล้วนำไปคั้นเอาน้ำให้ได้ประมาณ 2 ถ้วยตวง แล้วกรองเอาเศษออก เสร็จแล้วนำไปชงกับชาที่แช่เตรียมไว้
3.ไม่แนะนำให้เติมน้ำตาลเพิ่ม หากชาผลไม้ที่ได้มีรสชาติออกหวานแล้ว แต่สามารถเติมความเย็นสดชื่นด้วยสมุนไพร เช่น มิ้นท์ แนะนำว่าควรจิบแบบร้อนจะดีต่อสุขภาพ ช่วยกระตุ้นการไหล่เวียนโลหิต แต่หากชอบดื่มแบบเย็น แนะนำให้ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย คนให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำแข็ง
สูตรชาผลไม้รวม
จิบเติมพลังยามบ่าย ไม่เลี่ยน แม้กินคู่กับคุกกี้ หรือบิสกิต
ส่วนประกอบ
1.ชารสชาติรสดั้งเดิม 2 ถุง
2.น้ำเปล่า 1 ½ ถ้วยตวง
3.น้ำผึ้ง 1 ถ้วยตวง
4.น้ำเลมอนคั้นสด ½ ถ้วยตวง
5.น้ำส้มคั้นสด 1 ถ้วยตวง
6.ผิวเลมอนขูด 1 ผล
วิธีทำ
1.แช่ถุงชาประมาณ 4 นาที ใส่ผิวเลมอนที่ขูดเตรียมไว้เพื่อเติมรสชาติ (อาจแบ่งใส่ทีละน้อยเพื่อไม่ให้ชาขมจนเกินไป) คนให้เข้ากัน
2.เติมน้ำส้มคั้น น้ำเลมอนคั้น และน้ำผึ้งลงไป หากยังไม่หวานให้เพิ่มปริมาณน้ำผึ้งแทนน้ำตาล
ขอบคุณที่มาจาก นิตยสารสุขกายสบายใจ
Advertisement
เปิดอ่าน 30,075 ครั้ง เปิดอ่าน 14,588 ครั้ง เปิดอ่าน 12,988 ครั้ง เปิดอ่าน 14,750 ครั้ง เปิดอ่าน 14,031 ครั้ง เปิดอ่าน 21,713 ครั้ง เปิดอ่าน 12,142 ครั้ง เปิดอ่าน 8,991 ครั้ง เปิดอ่าน 84,661 ครั้ง เปิดอ่าน 13,688 ครั้ง เปิดอ่าน 1,266 ครั้ง เปิดอ่าน 40,892 ครั้ง เปิดอ่าน 19,241 ครั้ง เปิดอ่าน 36,652 ครั้ง เปิดอ่าน 20,382 ครั้ง เปิดอ่าน 37,032 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,956 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,185 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,465 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,898 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,277 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 446,752 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,067 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,604 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,556 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,291 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,627 ครั้ง |
|
|