ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้บัตรภาพ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง

รายงานวิจัยในชั้นเรียน การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้

บัตรภาพ

ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง

ผู้วิจัย นางสาวกรรณิกา เบ็ญกาเส็ม ตำแหน่งครู

สถานศึกษา โรงเรียนบ้านฉลุง ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

ปี พ.ศ. 2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง จำนวน 1 คน เพื่อรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์เป็นเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ จับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า

การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบกิจกรรมจับคู่บัตรภาพ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นและอยู่ในระดับดีเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น

ความสำคัญและความเป็นมา

การจัดการศึกษาต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วง 5 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญมากในการ วางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ ทั้งนี้เพราะการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพมีผลมาจากการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่ปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว การกระตุ้น ทางหู ตา จมูก ลิ้น และกาย ให้ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส และได้เรียนรู้โดยการเล่นตั้งแต่ปฐมวัย และการได้รับความรักจากพ่อแม่จะช่วย ให้ใยประสาทในเซลล์สมองงอกงาม ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ง่าย รู้เหตุผล คิดเป็น บนพื้นฐานการพัฒนาเด็กให้สมบูรณ์มากที่สุด เด็กเล็กๆ จะเรียนรู้ทุกอย่างในวัยที่เขายังเล็กอยู่ แต่ถ้าหากเด็กในวัยนี้ไม่ได้รับการ เอาใจใส่เมื่อพ้นวัยนี้ไปแล้วเด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วยความยากลำบากในบางอย่างก็ไม่สามารถเรียนรู้ได้อีกเลย (เยาวพา เดชะคุปต์ 2549 : 15 )

ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรมรวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ( กรมวิชาการ. 2546 : 39) กิจกรรมที่จัดให้เด็กแต่ละวันมีหลายรูปแบบที่เรียกแตกต่างกัน ประสบการณ์ที่จัดต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญ 15ประการตามหลักสูตร จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 – 5 ปีตามหลักสูตรปฐมวัยพุทธศักราช 2546 ที่ผ่านมาพบว่านักเรียนปฐมวัยก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จะมีความพร้อมทางการเรียนที่แตกต่างกัน นับแต่ปัจจัยพื้นฐานทางครอบครัว ความรู้และประสบการณ์โดยเฉพาะคุณภาพชีวิตของพ่อแม่วัยทำงานที่ทิ้งภาระหน้าที่ในการดูแลไว้กับผู้สูงอายุและผู้รับจ้างทำให้ไม่สามารถพัฒนาเด็กได้เต็มที่ และจากการจัดประสบการณ์ของครูผู้สอนไม่น่าสนใจ มีสื่ออุปกรณ์น้อย สื่อที่มีอยู่ก็เก่าไม่ทันสมัย เหตุที่เป็นดังนี้ เพราะเด็กมีความซุกซนครูจะต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลาจึงไม่ค่อยมีเวลาในการจัดทำสื่อ ดังนั้นครูผู้สอนจึงมีส่วนสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ครูผู้สอนจะผลิตเด็กให้มีคุณภาพ คือ การจัดการเรียนการสอน โดยใช้วิธีสอนใหม่ๆเพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะการนำชุดกิจกรรมมาใช้ เป็นการนำวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเรียนรู้มาไว้ด้วยกัน

คณิตศาสตร์เป็นระบบการคิดของมนุษย์เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ธรรมชาติของคณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม และมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน การออกแบบกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องพัฒนาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของสมองเด็ก โดยเมื่อสมองคนหาแบบแผนและสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสด้วยกิจกรรมที่สนุกและมีความหมายต่อเด็ก สิ่งที่เป็นนามธรรมจะพัฒนาขึ้นมาจากรูปธรรมได้โดยไม่ยากเกิดเป็นแบบแผนการเรียนรู้ที่เด็กสร้างขึ้นด้วยความเพลิดเพลิน และในปัจจุบันได้มีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย จากการศึกษางานวิจัยพบว่า ได้มีผู้นำวิธีการสอนแบบต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น การจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ขวัญนุช บุญยู่ฮง (2546) การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สรรพมงคล จันทร์ด้ง (2544) การจัดประสบการณ์แบบโครงการ เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ อำพวรรณ์ เนียมคำ (2545) เป็นต้น จะเห็นได้ว่าวิธีการสอนคณิตศาสตร์มีความหลากหลาย แต่ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งพบว่ามีการกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยความเพลิดเพลิน และความสนใจของเด็กต่อมาระยะหนึ่งได้มีผู้นำศิลปะมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น การจัดกิจกรรมศิลปะศิลปะการวาดภาพนอกห้องเรียนเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็ก จิตทนาวรรณ เดือนฉาย (2541) การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่มเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก กรรณิการ์ โยธาวินทร์ (2545) ศิลปะช่วยให้เด็กสื่อสารและบูรณาการประสบการณ์ที่มี เด็กสามารถผสมผสานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สังคม คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ลงในศิลปะที่เด็กแสดงออกเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้อย่างอิสระ สื่อศิลปะเป็นรูปแบบโดยธรรมชาติที่ทําให้มีการแสดงออกและค้นคว้าที่นําไปสู่การเรียนรู้ของเด็กและเข้าใจโลก

ส่งเสริมให้เด็กได้สํารวจค้นคว้าเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจินตนาการอันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต ซึ่งสอดคลองกับพีระพงษ์กุลพิศาลที่กล่าวว่ากิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีรูปทรง รูปร่างพื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ำหนัก อ่อน – แกของสี การที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทําให้ทราบว่าเขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใดเป็นการเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง (พีระพงษ์ กุลพิศาล. 2536:9 – 29)

จากการที่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 3 มีนักเรียนจำนวน 1 คน บอกค่าของจำนวน 1 –10 ไม่ได้ จึงทำให้ ไม่สามารถทำแบบฝึกหัดได้ เช่น นับจำนวน 1 – 20 ไม่ได้ เติมจำนวนที่ขาดหายไปไม่ได้ บอกค่าของจำนวนที่น้อยกว่า และมากกว่าไม่ได้ แทนค่าจำนวนด้วยตัวเลขไม่ได้ วาดภาพตามจำนวนที่กำหนดให้ไม่ได้ บวกและลบเลขอย่างง่ายไม่ได้ จากปัญหาที่กล่าวข้างต้นผู้วิจัยในฐานะเป็นครูประจำชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 3 จึงจัดทำวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้ดีขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรที่ศึกษา

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่

ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง จำนวน 1 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

ระยะเวลาในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดทําใน ปีการศึกษา 2565 ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ๆละ 3 วัน วันละ 45 นาที

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ดังนี้

2.1. การนับปากเปล่า 1 – 20

2.2. การรู้ค่ารู้จํานวน 1 –20

2.3. การเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 20

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฉลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจําแนกเป็น 3 ด้านดังนี้

2.1 การนับปากเปล่า 1 – 20 หมายถึง ความสามารถในการนับเลข 1 ถึง 2หรือ 1 ถึง 10 หรือ 1 ถึง 20 ตามอายุเด็ก

2.2 การรู้ค่ารู้จํานวน หมายถึง ความสามารถในการเรียงลําดับ มากไปน้อย หรือน้อยไปมากลําดับที่ 1 ลําดับที่ 2 เป็นต้น

2.3 การเพิ่ม – การลด ภายในจํานวน 1 – 20 หมายถึง การอ่านค่าเงินบาท เหรียญ ธนบัตร อ่านป้ายราคา การประเมินเงิน การเพิ่มเป็นการรวมจํานวน รวมกลุ่ม มากขึ้น การลดได้แก่การแบ่งการแยก การนําออก น้อยลง

3. กิจกรรมการจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์ หมายถึง การปฏิบัติการสอนของครูที่ใช้รูปแบบการจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์

สมมุติฐานการวิจัย

เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมการจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์ มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์

2. บัตรภาพ

วิธีดําเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ดําเนินการทดลองมีลําดับขั้นตอนดังนี้

1. ผู้วิจัยทำการประเมินด้วยบัตรภาพคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ก่อนทดลองกับกลุ่มทดลอง เป็นเวลา 3 วัน ได้แก่ในวันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันละ 45 นาที

2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยการจัดกิจกรรมจับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์กับกลุ่มทดลอง 45 นาที โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15 นาที ในช่วงเวลา 09.00 - 09.45 น.

3. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองครบสัปดาห์ที่ 4 ผู้วิจัยทําการทดสอบให้จับคู่บัตรภาพคณิตศาสตร์ชุดเดียวกับที่ใช้ทดสอบครั้งแรกก่อนการทดลอง และนํามาตรวจคะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้

4. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองครบสัปดาห์ที่ 4 ผู้วิจัยทําการทดสอบบัตรภาพคณิตศาสตร์หลังเสร็จสิ้นการทดลองเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย

ภายหลังจากการแก้ไขพฤติกรรมของเด็กชายวัฒนธ์กร ชุมวงศ์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้บัตรภาพ พบว่าเด็กชายวัฒนธ์กร ชุมวงศ์ มีพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น สามารถรู้จักตัวเลข จำนวนของตัวเลข การนับจำนวนมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการศึกษาการนำกิจกรรมที่หลากหลาย ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ด้านต่างๆ

2. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์กับการจัดกิจกรรม รูปแบบอื่นๆ เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเด็กนับเลขไม่ถูก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำวิจัย

1. นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ดีขึ้น

2. นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

แผนการจัดประสบการณ์ทักษะทางคณิตศาสตร์

เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้บัตรภาพ

ความคิดรวบยอด

เด็กสามารถนับเลขได้ 1-20 เด็กรู้จักตัวเลข 1-20 เด็กสามารถบอกครูได้ว่าตัวเลขที่ครูชูบัตรภาพขึ้นมาให้เด็กๆดูเป็นเลขอะไร

จุดประสงค์

1. เด็กสามารนับตัวเลข 1- 20 ได้

2. เด็กสามารถนับจำนวนในบัตรภาพที่ครูชูให้ดูได้

3. เด็กสามารถจับคู่ตัวเลขกับบัตรภาพได้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1. ครูอธิบายจำนวนตัวเลขกับจำนวนภาพ

2.ครูให้เด็กนับนิ้วของตัวเอง

ขั้นสอน

1. ครูนำบัตรภาพกับตัวเลข 1- 20 มาชูให้เด็กดูและให้เด็กอ่านตามครู ครูชูตัวเลขมา 1 บัตร แล้วให้เด็กบอกว่านี้คือเลขอะไร

2. หลังจากนั้นครูสาธิตวิธีการเล่นสื่อ จับคู่บัตรภาพกับจำนวนตัวเลข ให้เด็กๆดู

3. ครูให้เด็กจับคู่ภาพจำนวน 1-20

ขั้นสรุป

1.ครูให้เด็กอ่านจำนวนตัวเลขจากบัตรภาพตัวเลข 1- 20 ที่ตัวเองเรียง

สื่อ

1. บัตรภาพ 1-20

2. บัตรจำนวนตัวเลข 1 -20

การประเมินผล

1. สังเกตการณ์นับเลข 1 – 20 ของเด็ก

2. สังเกตการเล่นสื่อ จับคู่บัตรภาพกับจำนวน

โพสต์โดย กัน : [28 ส.ค. 2566 เวลา 06:23 น.]
อ่าน [226] ไอพี : 1.47.196.238
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,003 ครั้ง
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565

เปิดอ่าน 13,873 ครั้ง
สูตรอาหารแก้ท้องผูก
สูตรอาหารแก้ท้องผูก

เปิดอ่าน 9,687 ครั้ง
9 มิ.ย.ของทุกปีเป็น "วันรัฐพิธี" ตามมติ ครม.
9 มิ.ย.ของทุกปีเป็น "วันรัฐพิธี" ตามมติ ครม.

เปิดอ่าน 9,116 ครั้ง
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด
ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ นโยบายปฏิรูปที่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด

เปิดอ่าน 19,995 ครั้ง
ทำไมจึงเรียกขนมจีน
ทำไมจึงเรียกขนมจีน

เปิดอ่าน 18,165 ครั้ง
คลิปประทับใจความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ นักเรียนเซอร์ไพรส์คุณครู ก่อนจะย้าย เชื่อว่าหลายท่านเคย..
คลิปประทับใจความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์ นักเรียนเซอร์ไพรส์คุณครู ก่อนจะย้าย เชื่อว่าหลายท่านเคย..

เปิดอ่าน 46,574 ครั้ง
ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้
ฟุตปาธ-บาทวิถี : ภาษาไทยน่ารู้

เปิดอ่าน 19,134 ครั้ง
คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย

เปิดอ่าน 16,078 ครั้ง
"อะเจย์ ปุริ" เด็กอัจฉริยะไอทีระดับโลกในเมืองไทย
"อะเจย์ ปุริ" เด็กอัจฉริยะไอทีระดับโลกในเมืองไทย

เปิดอ่าน 33,512 ครั้ง
รับชมย้อนหลัง! การประชุมชี้แจงการสอบบรรจุครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ประจำปี 2560 [ไม่มีใบอนุญาตฯสมัครสอบได้] เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560
รับชมย้อนหลัง! การประชุมชี้แจงการสอบบรรจุครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ประจำปี 2560 [ไม่มีใบอนุญาตฯสมัครสอบได้] เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560

เปิดอ่าน 18,655 ครั้ง
กันเกรา
กันเกรา

เปิดอ่าน 14,064 ครั้ง
พระสรัสวดี
พระสรัสวดี

เปิดอ่าน 23,300 ครั้ง
“รังผึ้ง” นวัตกรรมใหม่…สามารถเก็บน้ำผึ้งโดยไม่ต้องกวนผึ้งเลย
“รังผึ้ง” นวัตกรรมใหม่…สามารถเก็บน้ำผึ้งโดยไม่ต้องกวนผึ้งเลย

เปิดอ่าน 41,926 ครั้ง
กฎสามส่วน (Rule of Third)
กฎสามส่วน (Rule of Third)

เปิดอ่าน 24,633 ครั้ง
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 18,181 ครั้ง
อาการของมะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ
อาการของมะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ
เปิดอ่าน 532 ครั้ง
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน
"สมาคมธนาคารไทย" แนะ 6 วิธีป้องกันแอปดูดเงิน
เปิดอ่าน 19,242 ครั้ง
งานสัมมนา เปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก
งานสัมมนา เปิดโลกการอ่านด้วยวรรณกรรมระดับโลก
เปิดอ่าน 10,689 ครั้ง
สมุนไพรช่วยลดความดัน
สมุนไพรช่วยลดความดัน
เปิดอ่าน 8,784 ครั้ง
Windows 7 RC พร้อมให้ทดสอบแล้ว
Windows 7 RC พร้อมให้ทดสอบแล้ว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
Koi360
คลินิกเสริมความงาม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 081-3431047

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ