บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรม วิถีน่าน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การดำรงชีวิต
ของพืช สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม
ผู้วิจัย นางสาวมุทิตรา กตสุริย์
ลักษณะประชากรที่ศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 40 คน
ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
การวิจัยในครั้งนี้ดําเนินงานตามรูปแบบการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (บุญชม ศรีสะอาด. 2545) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สรุปผลการวิจัย
พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีเฉลี่ยเท่ากับ 25.73 คิดเป็นร้อยละ 85.75 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.80 คิดเป็นร้อยละ 46.00 ซึ่งแสดง ให้เห็นว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม สามารถส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น และมีค่าความคืบหน้า คิดเป็นร้อยละ 39.74
พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม มีความพึงพอใจที่มี ต่อการจัดการเรียนการสอน ด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมวิถีน่าน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนท่าวังผาพิทยา พบว่า ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมรายการที่ผลประเมิน มากที่สุด คือ รายการข้อที่ 11 กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Leaning) น่าสนใจและเร้าใจ ให้อยากเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.98 รายการข้อที่ 12 กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น(Active Leaning) ช่วยให้นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ช่วยการแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.98 และรายการข้อที่ 1 ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 จำนวนนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูในระดับมาก ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปผลว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.58 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม เท่ากับ 0.61